กิจกรรมช่วยช้างไทย (วันช้างไทย) จ.สุรินทร์
12-13 มีนาคม 2559

     ช้าง ถือเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองของไทยมาแต่โบราณ สมัยที่ยังไม่มีเครื่องจักร มนุษย์เราใช้ประโยชน์จากแรงงานช้างในการชักลาก บรรทุกของหนัก ใช้เป็นพาหะนะเดินทาง และใช้สู้รบในศึกสงคราม  แต่ปัจจุบันมีเครื่องจักรทำงานแทนช้าง และมีการยกเลิกสัปทานป่าไม้ ทำให้ช้างลากไม้ขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ และช้างเลี้ยงของประชาชนจำนวนมากตกงาน จึงเกิดปัญหาช้างเร่ร่อน ช้างที่ถูกเลี้ยงโดยมนุษย์ไม่สามารถกลับคืนสู่ป่าได้โดยง่าย เนื่องจากหากินเองไม่เป็นและปรับตัวได้ยาก และที่สำคัญคือ พื้นที่ป่าลดจำนวนเหลือน้อย จึงไม่มีแหล่งที่อยู่อาศัยเพียงพอ การปล่อยช้างคืนสู่ป่าจึงไม่สามารถทำได้ง่ายแบบที่หลายคนเข้าใจ เพราะจะเป็นการไปแย่งถิ่นที่อยู่อาศัยของช้างป่า
     ส่วนการเลี้ยงช้างนั้นไม่สามารถเลี้ยงแบบปล่อยให้หากินแบบวัวควาย เพราะช้างไม่ได้กินแต่ใบไม้หรือใบหญ้าเพียงอย่างเดียว แต่ธรรมชาติของช้างนั้นกินพืชได้เป็นบางชนิด และต้องกินหลายชนิดปนกัน เช่น กล้วย อ้อย ข้าวโพด สับปะรด แตงโม ฯลฯ ใบไม้และยอดไม้อ่อนบางชนิด อีกทั้งช้างมีขนาดตัวที่ใหญ่ จึงต้องการอาหารในปริมาณมาก ดังนั้น นอกจากพาไปหากินตามป่าชุมชนแล้ว ก็ต้องมีค่าใช้จ่ายเรื่องอาหารด้วย
     เมื่อไม่มีงาน ชาวบ้านจึงไม่มีเงินเลี้ยงช้างให้มีความเป็นอยู่ที่ดีได้ จึงมีการปล่อยเช่าให้คนอื่นพาไปเร่ร่อนขอทานจนกลายเป็นปัญหาสังคม  การแก้ไขปัญหาจึงต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้งภาครัฐ เอกชน เอ็นจีโอ ชุมชน และทุกคนในสังคม โดยมีการก่อตั้งศูนย์ช้าง มีงบสนับสนุนจากภาครัฐ มีเอ็นจีโอ(มูลนิธิต่างๆ)หาทุนสนับสนุน มีการจัดแสดงเพื่อหารายได้ และมีการส่งเสริมการท่องเที่ยว เพื่อให้คนกับช้างมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี
     เนื่องจากชมรม อาสาสมัครพิทักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นองค์กรที่ดำเนินการจัดกิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และวันช้างไทย วันที่ 13 มีนาคม ในปี 2559 นี้ ตรงกับวันหยุดพอดี จึงถือโอกาสจัดกิจกรรมช่วยช้างไทย โดยการพาอาสาสมัครไปมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมร่วมกับคนในพื้นที่ รวมถึงการเผยแพร่ข้อมูล โดยการแจกเอกสารรณรงค์ให้แก่นักท่องเที่ยวที่มาร่วมงาน โดยมีเนื้อหารณรงค์ให้คนในสังคมเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ช้างไทย พร้อมทั้งบอกวิธีการและช่องทางในการช่วยเหลือ 
การรักษาชนิดพันธุ์สัตว์ มีเป้าหมายสองประการ  เป้าหมายแรก คือ รักษาไว้เป็นส่วนประกอบของระบบนิเวศตามธรรมชาติ (สัตว์ป่าตามธรรมชาติ) และเป้าหมายที่สอง คือ รักษาไว้ซึ่งชนิดและสายพันธุ์เอาไว้ให้ลูกหลาน (สัตว์เลี้ยงในศูนย์เพาะเลี้ยง ศูนย์อนุรักษ์ สวนสัตว์ ฯลฯ) ทั้งสองอย่างต้องควบคู่กันไป ต้องพยายามรักษาเป้าหมายแรกให้ได้ก่อน ถ้าหลุดจากเป้าหมายแรกไปแล้ว ต้องพยายามรักษาเป้าหมายที่สองเอาไว้ ถ้าหลุดจากตรงนี้ไปอีก ถือเป็นความล้มเหลวอีกขั้นของงานอนุรักษ์
     เป้าหมายแรกนั้น ทางชมรมได้มีการส่งเสริมมาโดยตลอดอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการปลูกป่า ปลูกพืชอาหารสัตว์ ทำโป่งเทียม  ในที่นี้ สำหรับกิจกรรมนี้ เราจะมุ่งเน้นที่เป้าหมายที่สอง คือการดำรงค์รักษาไว้ซึ่งชนิดและสายพันธุ์ของช้างไทย หรือช้างเอเชีย  นอกจากนี้ยังจะมีกิจกรรมเสริม คือ การปลูกกล้วยกับอ้อยโดยใช้เทคนิคพิเศษในการปลูกพืชหน้าแล้ง โดยใช้หลักการทำโอเอซีสไว้ในหลุมปลูก เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่ประธานชมรมได้มาจากชาวบ้านที่เขาย้อย จ.เพชรบุรี และเคยจัดกิจกรรมปลูกต้นกล้วยหน้าแล้งได้ผลมาแล้วเมื่อปี 2556 เพื่อให้เป็นแหล่งอาหารของช้างป่า ซึ่งที่จังหวัดสุรินทร์เคยมีโครงการปล่อยช้างคืนสู่ป่า โดยปล่อยช้างเข้าไปอยู่ในป่าบริเวณหลังวัดป่าอาเจียง เมื่อปี 2554

 

ภารกิจอาสาสมัคร
1. ช่วยเจ้าภาพจัดเตรียมงานวันช้างไทย
2. เผยแพร่สื่อ ข้อมูล รณรงค์ให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ช้างไทย โดยการแจกเอกสารให้แก่นักท่องเที่ยวที่มาร่วมงาน
3. ระดมทุนให้แก่ศูนย์ช้าง

 

กำหนดการ

วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม 2559


06.40 น  นัดรวมพลสมาชิกที่ ปตท.สนามเป้า อนุสาวรีย์ชัยฯ (มีแผนที่ให้ดูในห้องกิจกรรม) รถออก 07.10 น
13.20 น  (โดยประมาณ) เดินทางถึงศูนย์คชศึกษา บ้านตากลาง ต.กระโพ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์
– ประชุม แนะนำตัว รับฟังคำชี้แจง
– ช่วยเจ้าภาพจัดเตรียมงานวันช้างไทย โดยเตรียมงานร่วมกับชาวบ้าน
– ร่วมฟื้นฟูแหล่งอาหารของช้างป่า โดยการปลูกกล้วยกับอ้อยโดยใช้เทคนิคพิเศษในการปลูกพืชหน้าแล้ง ซึ่งที่จังหวัดสุรินทร์เคยมีโครงการปล่อยช้างคืนสู่ป่า โดยปล่อยช้างเข้าไปอยู่ในป่าบริเวณหลังวัดป่าอาเจียง เมื่อปี 2554
17.00 น  รับประทานอาหารเย็น เดินทางไปพักที่วัด อาบน้ำ ทำธุระส่วนตัว จัดที่นอน พักผ่อนตามอัธยาศัย
19.00 น  ประชุม
20.00 น  แยกย้ายเข้านอน (ผู้จัดจะจัดเตรียมเสื่อและหมอนให้ ขอให้สมาชิกนำถุงนอนหรือผ้าห่มมาด้วย)

วันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม 2559 วันช้างไทย
05.00 น  ตื่นเช้า ทำธุระส่วนตัว
06.30 น  ทำบุญ ถวายภัตตาหาร รับประทานอาหารเช้า
08.00 น  ร่วมงานพิธีวันช้างไทย
–  พิธีเปิดงาน
–  ขบวนแห่ช้าง และตักบาตรบนหลังช้าง (ยังไม่แน่ชัดว่าปี 2559 จะมีตักบาตรบนหลังช้างหรือไม่)
–  พิธีทำบุญช้าง
–  จัดเลี้ยงโต๊ะอาหารช้าง
–  ชมการแสดงช้าง
–  ชมวิถีชีวิตคนกับช้างที่หมู่บ้านตากลาง เป็นหมู่บ้านชาวกูย ที่มีวิถีชีวิตอยู่ผูกพันกับช้างมาแต่โบราณ ปัจจุบันชาวบ้านเลี้ยงช้างเพื่อให้เช่าใช้ในงานบวชงานแต่ง และมีการจัดแสดงเพื่อหารายได้
–  แจกเอกสารรณรงค์ช่วยเหลือช้างไทย ให้แก่นักท่องเที่ยวที่มาร่วมงาน
(ลำดับกิจกรรมแจ้งไว้คร่าวๆ ตามที่ทางจังหวัดและ อบจ. เคยจัดมาทุกๆ ปี อาจเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม เนื่องจากกำหนดการประจำปี 2559 ยังไม่แน่ชัด)
12.00 น  รับประทานอาหารกลางวัน
15.00 น  เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ (ถึงกรุงเทพฯประมาณ 21.00 น)

สิ่งที่สมาชิกต้องเตรียมไปด้วย
– ถุงนอน หรือผ้าห่มบาง (อากาศไม่หนาว ไม่ต้องใช้ผ้าห่มหนา) ทางวัดมีผ้าห่มจำนวนหนึ่ง แต่ด้วยจำนวนคนที่เยอะอาจจะไม่เพียงพอ จึงขอให้สมาชิกนำมาด้วย

 

รับไม่เกิน 47 คน

ค่าสมัครคนละ 1,050 บาท + ค่าเสื้อ 180 บาท รวม 1,230 บาท ( 1,050 บาทสำหรับคนที่มีเสื้อแล้ว)
ค่าสมัครประกอบด้วย
–  ค่ารถบัสแอร์ ไป-กลับ
–  ค่าน้ำ ค่าอาหาร (รวมจัดถวายภัตตาหารทำบุญร่วมกันตอนเช้า)
–  ค่าสมทบกองทุนอาหารช้าง (หักจากค่าสมัครที่จะเหลือคนละประมาณ 50-100 บาท ขึ้นอยู่กับค่าน้ำค่าอาหารและอื่นๆ ที่ยังไม่ตายตัว)
–  ค่าเสื้อชมรม 1 ตัว (สมาชิกเก่าที่มีเสื้ออาสาสมัครพิทักษ์สิ่งแวดล้อมอยู่แล้วสามารถใช้ของเดิมได้)
ค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าน้ำมันรถ ค่าเดินทางทีมงาน ค่าติดต่อประสานงาน ค่าจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ ค่าบำรุงสถานที่ (ใส่ซองค่าน้ำค่าไฟให้วัด) ฯลฯ หรืออื่นๆ ที่เกินมาจากค่าสมัคร (ค่าใช้จ่ายที่ยังมองไม่เห็น) ประมาณ 3,000-5,000 บาท เป็นทุนสนับสนุนในนาม กรีน อีเว้นท์

ขั้นตอน/วิธีการสมัคร

1. ส่งข้อมมูลผู้สมัครมาที่ In Box (กล่องข้อความแชท) www.facebook.com/EPV.or.th
ข้อมูลที่ต้องการมีดังนี้
- ชื่อกิจกรรม (ช่วยช้าง)
- ชื่อ-นามสกุล
- เบอร์โทรศัพท์มือถือ
- อาหารที่แพ้ หรือรับประทานเจ มังสวิรัติ ฮาลาล ฯลฯ (ถ้ามี)
- ไซส์เสื้อ ( S, M, L, XL, มีแล้ว)
ขนาดไซส์ :
S : รอบอก 33 นิ้ว สูง 23 นิ้ว
M : รอบอก 35 นิ้ว สูง 24 นิ้ว
L : รอบอก 40 นิ้ว สูง 27 นิ้ว
XL : รอบอก 42 นิ้ว สูง 28 นิ้ว
(ใหญ่กว่า XL ให้ระบุขนาดรอบอกเป็นนิ้ว)
นร. นศ. หรือบุคคลทั่วไปที่ต้องการใบประกาศเกียรติคุณ สามารถขอรับได้ โดยให้ระบุมาในข้อมูลผู้สมัคร

2. หลังจากส่งข้อมูลมาแล้วให้รอรับการตอบกลับ เราจะตอบกลับเป็นเลขบัญชีและกำหนดเวลาโอนเงินให้ท่านยืนยันตนใน 2-3 วัน

3. กดเข้าร่วมในห้องกิจกรรม www.facebook.com/events/1738509853037230  เพื่อทราบการอัพเดรทที่เป็นปัจจุบัน

 

ท่านที่มีข้อสงสัยสามารถสอบถามมาได้ใน In Box  www.facebook.com/EPV.or.th
ว่าที่ร้อยเอกสราวุฒิ  สารคำ (โย)  084-526-6834

 

ห้องกิจกรรม www.facebook.com/events/1738509853037230

อาสาสมัครพิทักษ์สิ่งแวดล้อม www.facebook.com/EPV.or.th

ค่าใช้จ่าย : 1,230 บาท ( 1,050 บาทสำหรับคนที่มีเสื้อแล้ว)