ภาพรวมของโครงการ

เกาะสุกรเป็นเกาะขนาดเล็กอยู่ฝั่งทะเลอันดามันในเขตอำเภอปะเหลียนจังหวัดตรัง ชาวบ้านมีอาชีพทำประมง ทำนา และทำเกษตรทั่วไปในค่ายนี้อาสาสมัครไทยและต่างชาติจะร่วมกันทำงานด้านการเกษตร เช่นเกี่ยวข้าวร่วมกับชาวบ้านเกาะสุกร รวมถึงเรียนรู้การเกษตรปลอดสารพิษร่วมกิจกรรมกับเด็กหลังเลิกเรียน และเรียนรู้วิถีชาวประมง

สภาพทั่วไปของชุมชน และที่มาของโครงการ

ประวัติความเป็นมาและสภาพทั่วไปของชุมชน เกาะสุกรเป็นเกาะเล็กๆอยู่ฝั่งทะเลอันดามันในเขตอำเภอปะเหลียน ประกอบด้วย 4 หมู่บ้านมีประชากรประมาณ 2,566 คน มีเนื้อที่ประมาณ 8,750ไร่ มีท่าเทียบเรือ 2 แห่งคือท่าเทียบเรือหาดทรายทองขึ้นฝั่งท่าตะเสะ อำเภอหาดสำราญและท่าเทียบเรือบ้านแหลมขึ้นฝั่งท่าข้าม อำเภอปะเหลียน สถานที่ราชการของเกาะสุกร มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 แห่ง โรงเรียนระดับประถมศึกษา 1 โรง โรงเรียนประถมศึกษาขยายโอกาส 1 โรงมัสยิด 3 หลัง สถานีอนามัย 1 แห่ง และป้อมตำรวจ 1 แห่ง ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม สภาพพื้นที่ของเกาะสุกรมีลักษณะเป็นที่ราบสลับภูเขาเตี้ยๆมีป่าชายเลนตามแนว ชายฝั่งบ้างบางพื้นที่ การประกอบอาชีพส่วนใหญ่ของคนในพื้นที่ขึ้นอยู่สภาพ ดิน ฟ้า อากาศและฤดูกาล อาชีพหลักคือการทำประมง รองลงมาคือ อาชีพเกษตรกรรมได้แก่ การทำสวนยางพารา การทำนา ปลูกพืชหมุนเวียน เช่น แตงโมง ข้าวโพด ผักต่างๆ โดยเฉพาะแตงโมงถือเป็นผลไม้ขึ้นชื่อของเกาะสุกรมีรสชาติอร่อยนอกจากนี้ยังมีการเลี้ยงสัตว์ เช่น ควาย วัว แพ และอาชีพรับจ้างทั่วไปมีโรงเรียนประถม ซึ่งเป็นโรงเรียนรัฐบาล ตั้งอยู่ในหมู่บ้านเปิดสอนในระดับชั้นอนุบาล 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และมีโรงเรียนขยายโอกาสตั้งอยู่ในชุมชนรวมทั้งยังมีภูมิปัญญาด้านการทำประมงพื้นบ้านวิถีชีวิตและบริบทชุมชนทางการเกษตรที่เป็นต้นทุนทางทรัพยากรที่คงคุณค่าแก่การเรียนรู้และการอนุรักษ์ไว้สืบไป ดาหลาได้จัดส่งอาสาสมัครเข้าไปร่วมกิจกรรมกับเกาะสุกร ตั้งแต่ปี 2013 จนถึงปัจจุบัน โดยอาสาสมัครจะเข้าไปร่วมกิจกรรมกับชุมชนภายใต้การดูแลความเป็นอยู่ของครอบรัว ก๊ะตั๊ก (นางประนอม สมจริง) และบังเม็ง ครอบครัวอุปถัมภ์ ชาวบ้านชุมชนเกาะสุกรเชื่อว่าชุมชนและครอบครัวของเด็กและเยาวชน สามารถเป็นพื้นที่ให้เด็กๆได้เรียนรู้ทักษะชีวิต วิถีชีวิตและทุกกระบวนการเรียนรู้จากชุมชนทั้งวิถีชีวิตและบริบทชุมชนต้องเปิดโอกาส ให้เด็กในพื้นที่เรียนรู้ทักษะทางด้านการสื่อสาร โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษาที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในอนาคตและที่สำคัญการสร้างจิตสำนึกในการรักษามรดก วิถีชีวิตของชุมชนเกาะสุกรไว้ ในช่วงเดือนรอมฎอน (เดือนพฤษภาคม) ชุมชนมุสลิมจะมีเทศกาลถือศีลอด ชาวบ้านจะไม่มีกิจกรรมในช่วงกลางวันมากนัก อาสาสมัครสามารถเรียนรู้วิถีชีวิตของมุสลิมในช่วงถือศีลอดได้ในชุมชนมีร้านขายของชำ ที่อาสาสมัครสามารถหาซื้อของที่จำเป็นได้สำหรับการซื้อของอื่นๆที่ไม่มีขายในชุมชน อาสาสมัครสามารถเข้าไปซื้อของติดต่อธนาคาร ใช้อินเตอร์เน็ต หรือติดต่อโรงพยาบาลในตัวเมืองย่านตาขาวและตัวอำเภอเมืองตรังโดยอาสาสมัครต้องติดต่อผู้ดูแลโครงการเพื่ออำนวยความสะดวกให้กรณีที่ต้องออกไปในตัวเมือง

จุดประสงค์ของโครงการ
– เพื่อการเรียนรู้ภูมิปัญญา วิถีชีวิตของชุมชน และเรียนรู้ขั้นตอนการทำนา

– เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน
– เพื่อแลกเปลี่ยนภาษาและวัฒนธรรมระหว่างผู้เข้าร่วม

กิจกรรม
– เรียนรู้วิถีการดำนา และเกษตรอินทรีย์
– กิจกรรมกับเด็ก
– กิจกรรมเรียนรู้วิถีประมง
หมายเหตุ ตัวกิจกรรมอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามสภาพอากาศและความเหมาะสม

คุณสมบัติของผู้ที่เหมาะสมในการเข้าร่วมโครงการ
1. สามารถใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย ทำงานในที่ที่มีอากาศร้อนได้
2. ใจกว้าง พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และสามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นได้
3. มีจิตอาสา และรับได้ถึงวิถีชีวิต การกิน นอน
ที่ไม่สะดวกสบายเหมือนที่บ้าน
4. มีความคิดสร้างสรรค์ และสนใจกิจกรรมต่างๆ
5. ไม่ยึดติดกับโลกออนไลน์

ที่พัก และอุปกรณ์ที่จำเป็น
ที่พัก พักบ้านจ๊ะตั๊กและบังเม็ง (ครอบครัวอุปถัมภ์)
เป็นบ้านไทยในท้องถิ่นทั่วไป
ห้องน้ำ มี 2 ห้อง มีไฟฟ้า และน้ำ
อาหาร อาสาสมัครเปลี่ยนเวร ทำอาหาร กันเอง
ซักผ้า ซักผ้าด้วยมือ
สัญญาณโทรศัพท์ ใช้ได้ทุกเครือข่าย

สิ่งที่ต้องเตรียมมาร่วมค่าย

1. ถุงนอน หรือผ้าห่ม หมอนลม แผ่นโยคะรองนอน หากมีเต้นท์ หรือเปล
สามารถนำมาได้ เรามีพื้นที่สำหรับกางเต้นท์)
2. เสื้อผ้าสำหรับสวมใส่ ระหว่างค่าย
3. เสื้อผ้าสำหรับใส่ทำงาน สามารถสกปรกได้และไม่เสียดายทีหลังค่ะ
4. อุปกรณ์กันแดด หมวก ครีมกันแดด
5. สเปรย์กันยุง (กรุณาเลือกผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม)
6. ไฟฉาย หรือโทรศัพท์ ที่มีไฟฉาย
7. ความคิดสร้างสรรค์ เกมส์ เพลง เพื่อความบันเทิงในค่าย
8. ความคิดด้านบวก มองโลกในแง่ดี และรอยยิ้มที่สดใส ☺
9. ของส่วนตัวผู้เข้าร่วมต้องเตรียมเอง (ยาสระผม ผงซักฟอก แป้ง สบู่)

  1. อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://drive.google.com/file/d/0ByQQ4JcERbn-WnhmTlJqNW5tdlRGaml5LWZIck9jZTRTa1ZN/view?usp=sharing
  2.  ดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ https://drive.google.com/open?id=1Td0jMry9NJpVTIZHMu_q7H5GecB3wSRy
  3. ส่งใบสมัครมายัง www.dalaa.thailand@gmail.com
  4. รอการตอบรับจากเจ้าหน้าที่
  5. ชำระค่าเข้าร่วม

ค่าใช้จ่าย : 3000บาท