ประวัติโครงการ
เกาะยาวใหญ่ได้รับผลกระทบส่วนหนึ่งจากการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวอย่างรวดเร็วในจัง
หวัดเกาะภูเก็ต ซึ่งได้ขยายตัวสู่พื้นที่เกาะยาว ทำให้เกิดกิจกรรมการท่องเที่ยว การค้าขาย
การก่อสร้างบังกะโลและรีสอร์ท มากมายในพื้นที่
ประชากรหลายคนเปลี่ยนวิถีการดำรงชีวิตจากอาชีพประมงชายฝั่งหรือทำสวนมาเป็นการดำเนินกิจการบริการนักท่
องเที่ยว และประกอบธุรกิจขนาดย่อมภายในครอบครัว ส่งผลให้วิธีคิดเปลี่ยนจากเดิมที่เคยดำรงชีวิตอย่างเรียบง่าย
ประชากรขาดจิตสาธารณะ ไม่ช่วยเหลือเกื้อกูลกันเหมือนในอดีต สิ่งแวดล้อมในชุมชนเกิดการเปลี่ยนแปลง
เช่นปัญหาขยะ เป็นต้น
ปี 2558 นายวีระ สืบพงษ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านคลองเหียได้ร่วมมือกับนายบีดีน เชษฐพันธ์
ผู้อำนวยการโรงเรียนอ่าวกะพ้อ ประธานศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาอำเภอเกาะยาว
ร่วมกับโรงเรียน13 โรงเรียนในศูนย์เครือข่าย
ได้หาแนวทางในการพัฒนาการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ที่จะสามารถส่งเสริมให้นักเรียนมีโอกาสในการเรียนรู้อย่างมี
ความสุขตลอดจนการส่งเสริมจิตสาธารณะที่สามารถส่งผลต่อนักเรียนให้เป็นคนดี
มีความรู้และสร้างประโยชน์แก่ชุมชนของตนเอง
ในการดำเนินงานโครงการได้รับการประสานงานให้การช่วยเหลืออำนวยความสะดวกโดยนายบุญฉันท์ แสงไฟ
(พี่เอก) ซึ่งเคยร่วมงานกับสมาคมอาสาสมัครนานาชาติฯ (ดาหลา)
มาก่อนจึงหารือร่วมกันที่จะดำเนินโครงการค่ายอาสาสมัครนานาชาติเพื่อส่งเสริมโครงการพัฒนาการศึกษาดังกล่าว
ต้นเดือนมกราคา 2559 จึงได้มีการประชุมหารืออย่างเป็นทางการเพื่อดำเนินโครงการค่าย
อาสาสมัครนานาชาติระยะสั้น 2 สัปดาห์ร่วมกัน
เพื่อจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างสร้างสรรค์และกิจกรรมร่วมกับชุมชน
ตลอดจนการแสวงหาแนวทางในการดำเนินงานต่อไปในอนาคต
ทางดาหลา ได้จัดกิจกรรมค่ายระยะสั้น 3 ครั้ง ในเดือนสิงหาคม ปี 2559 และปี 2560 และ ปี 2561
ระยะเวลา 2 สัปดาห์ ซึ่งทางโรงเรียน
และชุมชนได้รับผลสำเร็จเป็นอย่างดีและต้องการสานต่อกิจกรรมให้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง
กิจกรรมที่จะทำ

1.
กิจกรรมส่งเสริมการสอนภาษาอังกฤษอย่างสร้างสรรค์ร่วมกับโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการ
ศึกษาอำเภอเกาะยาว
2. กิจกรรมส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนและการเรียนรู้วิถีชุมชนเกาะยาว
3. กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์

**กิจกรรมทั้งหมดสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมค่ะ**
บริบทชุมชน

บรรพบุรุษของชาวเกาะยาวได้อพยพมาจากจังหวัดตรังตั้งถิ่นฐานที่เกาะยาวน้อย และที่อพยพ
มาจากสตูล จะตั้งถิ่นฐานที่เกาะยาวใหญ่ และอื่น ๆ ที่อยู่แถบนั้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (พ.ศ. 2328)
ขณะที่พม่าได้ยกทัพมาตีเมืองต่าง ๆ ผู้ที่หนีมาเห็นว่าเกาะยาวน้อยและเกาะยาวใหญ่มีความเหมาะสมที่จะหลบภัย
จึงได้ตั้งหลักแหล่งบริเวณนี้

พ.ศ. 2446 ทางราชการยกฐานะเป็น กิ่งอำเภอเกาะยาว แยกออกมาจากมาจากเมืองพังงา

และขึ้นต่อเมืองพังงา ได้สร้างที่ว่าการกิ่งอำเภอหลังแรกเมื่อปี พ.ศ.
2463 ต่อมาได้ย้ายมาในที่ว่าการปัจจุบันในปี พ.ศ. 2508

ต่อมาข้าราชการและประชาชนต้องการให้ยกกิ่งอำเภอเกาะยาวเป็นอำเภอเกาะยาว
ตลอดจนจังหวัดพังงาได้สนับสนุนให้ทางราชการยกฐานะให้ รวมได้รับการสนับสนุนจากหลายฝ่าย
จนในที่สุดก็ได้รับการยกฐานะจากกิ่งอำเภอเกาะยาวเป็น อำเภอเกาะยาว ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.
2531 รวมระยะเวลาการเป็นกิ่งอำเภอ 85 ปี นับว่าเป็นกิ่งอำเภอที่ยาวนานที่สุดในประเทศไทย
เกาะยาว มีพื้นที่ประมาณ 137.6 ตร.กม. ประกอบด้วย 2 เกาะ คือ เกาะยาวน้อย

และเกาะยาวใหญ่ อีกทั้งยังถูกล้อมรอบด้วยเกาะเล็ก ๆ อีกมากมาย
มีอาณาเขตทางทะเลติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
ทิศเหนือ และอ่าวพังงา จังหวัดพังงา
ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดกระบี่
ทิศใต้  ติดต่อกับทะเลอันดามัน มหาสมทรอินดีย
ทิศตะวันตก ทะเลอันดามันและจังหวัดภูเก็ต
การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอเกาะยาวแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 3 ตำบล 18 หมู่บ้าน
1) เกาะยาวน้อย เป็นที่ตั้งของตำบลเกาะยาวน้อย 7 หมู่บ้าน
2) เกาะยาวใหญ่ เป็นที่ตั้งของตำบลเกาะยาวใหญ่และตำบลพรุใน
– ตำบลเกาะยาวใหญ่ 4 หมู่บ้าน
– ตำบลพรุใน 7 หมู่บ้าน
สถานศึกษา จำนวน 15 แห่ง
1) โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นการศึกษาประถมศึกษาพังงา 13 โรงเรียน
ตำบลเกาะยาวน้อย 4 โรงเรียน
1. โรงเรียนเกาะยาว

2. โรงเรียนบ้านท่าเขา
3. โรงเรียนบ้านน้ำจืด
4. โรงเรียนบ้านริมทะเล
ตำบลเกาะยาวใหญ่ 4 โรงเรียน
1. โรงเรียนบ้านช่องหลาด (โรงเรียนขยายโอกาส อนุบาล-ม.3)
2. โรงเรียนบ้านคลองเหีย
3. โรงเรียนบ้านย่าหมี
4. โรงเรียนบ้านคลองบอน
ตำบลพรุใน
1. โรงเรียนอ่าวมะม่วง
2. โรงเรียนบ้านท่าเรือ
3. โรงเรียนบ้านพรุใน (โรงเรียนขยายโอกาส อนุบาล-ม.3)
4. โรงเรียนอ่าวกะพ้อ (โรงเรียนขยายโอกาส อนุบาล-ม.6)
5. โรงเรียนบ้านคลองดินเหนียว
2) โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นการศึกษามัธยมศึกษา เขต 14
ตั้งอยู่ตำบลเกาะยาวน้อย จำนวน 1 โรงเรียน
3) โรงเรียนเอกชน โรงเรียนศรัทธาธรรม ตั้งอยู่ตำบลเกาะยาวน้อย 1 โรงเรียน
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ท้องที่อำเภอเกาะยาวประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  4 แห่ง ได้แก่
1) เทศบาลตำบลเกาะยาว ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลเกาะยาวน้อย
2) เทศบาลตำบลพรุใน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพรุในทั้งตำบล
3) เทศบาลตำบลเกาะยาวใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกาะยาวใหญ่ทั้งตำบล
4) องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะยาวน้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกาะยาวน้อย
(เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลเกาะยาว)
ประชากร 14,000 คน
การประกอบอาชีพ  ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเป็นชาวประมงและเกษตรกรรม
ศาสนา  การนับถือศาสนาส่วนใหญ่เป็นชาวไทยมุสลิมร้อยละ 99.9 ชาวไทยพุทธและอื่น ๆ
ร้อยละ 0.1

อาหาร ** งดเนื้อหมู เนื่องจากเป็นชุมชนอิสลาม**
อาสาสมัครอยู่ร่วมกันแบ่งเวรทำความสะอาดและปรุงอาหารเอง
ในบางมื้ออาจมีครูหรือตัวแทนชาวบ้านมาช่วย
(ในบางมื้ออาจจะไปร่วมรับประทานกับชาวบ้านตามครัวเรือน โดยแบ่งกันครัวเรือนละ 2-3 คน
เพื่อได้สัมผัสวิถีชีวิตและสนิทสนมกับชาวบ้าน ผู้ปกครอง และนักเรียน)
ที่พัก
– พักในห้องเรียนหรืออาศัยอยู่กับชาวบ้าน (ขึ้นอยู่กับจำนวนอาสาสมัคร) มีการเปลี่ยนสถานที่นอน
ตามโรงเรียนในเครือข่าย

ซักผ้า
ซักผ้าด้วยมือ ผงซักฟอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม เตรียมมาเอง
ห้องน้ำ
มีห้องน้ำ สามารถใช้ส้วมและอาบน้ำในห้องเดียวกัน
คุณสมบัติของอาสาที่จะเข้าร่วม
–         สามารถใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย ทำงานสภาพอากาศร้อนได้
–          ใจกว้าง พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และสามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นได้
–          มีความคิดสร้างสรรค์ และสนใจกิจกรรมต่างๆ
– ไม่ยึดติดกับโลกออนไลน์

จำนวนอาสาสมัครระยะยาวที่เปิดรับสมัคร
–          อาสาสมัครนานาชาติ 15 คน
–          อาสาสมัครไทย 3 คน

การติดต่อสื่อสาร
การติดต่อสื่อสารในเกาะยาวมีสัญญาณโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ตให้บริการรวมถึงที่สาธารณะ เช่น
ในโรงเรียน
จุดนัดพบ ** อ่านตัวหนังสือสีเหลืองดี ๆ ค่ะ **
วันอาทิตย์ที่ 4 เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2562 เวลา 11.00 น. ณ
ท่าเรือบางโรง-เกาะยาวใหญ่ จังหวัดภูเก็ต ** ข้อระวัง
มีท่าเรือ ไปเกาะยาวใหญ่ อีก 2 ท่าเรือ ให้ ผู้เข้าร่วม
เช็คให้แน่ใจว่า กำลังเดินทางไปยัง ท่าเรือ บางโรง
เท่านั้นค่ะ **
** หากมาจากกรุงเทพหรือ ภาคเหนือ อีสาน เดินทางไปลงภูเก็ตจะสะดวกในการเดินทางมากกว่าค่ะ

การเดินทาง
เดินทางมาโดยรถบัส กรุงเทพฯ-ภูเก็ต แจ้งคนขับว่าลงที่ อนุสาวรีย์ท้าวเทพกษัตรี ท้าวศรีสุนทร
ไม่ต้องนั่งไปจนถึง สถานีขนส่ง เพราะจะเสียเวลาในการนั่งรถกลับมาอีกค่ะ ** *
เดินทางโดยเครื่องบิน สนามบินจากกรุงเทพลงภูเก็ต นั่งแท็กซี่ ต่อไป ประมาณ 20 -30 นาที **
อาจลองเช็คกับประชาสัมพันธ์ หากมีสองแถวเดินทางไปยังท่าเรือ ***
หากใครวางแผนมานอนที่ในเมืองภูเก็ต สามารถ ขึ้นสองแถว ไปยังท่าเรือ บางโรง- เกาะยาวใหญ่ ใช้เวลาประมาณ
1 ชั่วโมง ราคา ประมาณ 50 บาท
เดินทางจากหาดใหญ่ พัทลุง ตรัง นั่งรถไปลงที่ ตลาดเก่า (ก่อนถึง บขส.) จังหวัดกระบี่ จากตลาดเก่านั่งสองแถว
ไป ท่าเรือ ท่าเลน เพื่อนั่งเรือ ไปยังเกาะยาวใหญ่ ไปเจอกันที่ โรงเรียนบ้านคลองเหีย เรือจะออกเป็นช่วงเวลา
ขอให้ทุกคนเช็คตารางเรืออีกครั้งเพื่อความแน่นอน

เงื่อนไขการร่วมโครงการ
1. ต้องเสียค่าบำรุงสมาคม 2 สัปดาห์จำนวน 3,500 บาท ซึ่งจะนำมาเป็นค่าอาหารสำหรับผู้เข้าร่วม ค่าที่พัก
ค่าเดินเรือ ค่าเสื้อที่ระลึก และค่ากิจกรรมต่างๆ ของสมาคม
2. ต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป และต้องแจ้งผู้ปกครองให้รับทราบก่อนเข้าร่วมโครงการ
3. ผู้เข้าร่วมเป็นผู้รับผิดชอบดูแลความปลอดภัยของตนเอง
4. ผู้เข้าร่วมต้องร่วมกิจกรรมได้เต็มเวลา 2 สัปดาห์
5. ผู้เข้าร่วมต้องเคารพกฎ ข้อตกลงของตัวโครงการ และให้ความร่วมมือกับผู้ประสานงาน

 

สิ่งที่ต้องเตรียมมาร่วมค่าย
1. ถุงนอน หรือผ้าห่ม แผ่นโยคะสำหรับนอน มุ้งสำหรับนอนคนเดียว (กรณีแพ้ยุง)
2. เสื้อผ้าสำหรับสวมใส่ทำกิจกรรมกับเด็กที่โรงเรียน ขอเป็นชุดสุภาพ เนื่องจากเป็นสถานที่ราชการ
(ผู้หญิง เสื้อแขนกุด กางเกงขาสั้นไม่อนุญาตให้ใส่ระหว่างค่าย) **นำขาสั้นมาเผื่อกรณีเล่นน้ำค่ะ**
3. อุปกรณ์กันแดด หมวก ครีมกันแดด
4. อาหารท้องถิ่นของตนเอง (สำหรับมาแลกเปลี่ยนกับผู้ร่วมค่ายคนอื่น ๆ)
5. สเปรย์กันยุ่ง (กรุณาเลือกอันที่เป็นมิตรกับสิงแวดล้อม)
6. ไฟฉาย (หรือโทรศัพท์ที่มีไฟฉาย )
7. ความคิดสร้างสรรค์ เกมส์ เพลง เพื่อความบันเทิงในค่าย
8. ความคิดด้านบวก มองโลกในแง่ดี และรอยยิ้มที่สดใส
9. ของส่วนตัวผู้เข้าร่วมต้องเตรียมเอง (ยาสระผม ผงซักฟอก แป้ง สบู่ )

สิ่งที่ห้ามนำมาในค่าย (เด็ดขาด)
1. สารเสพติด
2. แอลกอฮอล์
3. อคติ หรือความคิดด้านลบ
4. เรื่องชู้สาว ที่เกินความเหมาะสม

  • อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://drive.google.com/file/d/0ByQQ4JcERbn-dGx4Y0hsUUhvaEpSYzJ6dVVnYzFUa3NfZkI0/view?usp=sharing
  •  ดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ https://drive.google.com/open?id=1Td0jMry9NJpVTIZHMu_q7H5GecB3wSRy
  • ส่งใบสมัครมายัง www.dalaa.thailand@gmail.com
  • รอการตอบรับจากเจ้าหน้าที่
  • ชำระค่าเข้าร่วม

ค่าใช้จ่าย : 3,500 บาท