โครงการเกษตรอินทรีย์ กิจกรรมกับเด็ก สิ่งแวดล้อม และเรียนรู้ชุมชน
บ้านตะเมก ม.9 ต.ละมอ  อ.นาโยง จ ตรัง 

วันที่ 13 -26 มีนาคม 2559
วันที่ 26 จองตั๋วกลับ ตอนบ่ายแก่นะคะ ค่ายเสร็จช่วงสาย ๆ คะ

ประวัติองค์กร

“กลุ่มดาหลา” ได้รวมกลุ่มกันขึ้นเมื่อเดือน สิงหาคม 2547 โดยเพื่อนผู้รักงานอาสาสมัครทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ จัดกิจกรรมค่ายอาสาสมัครขึ้นครั้งแรกในปี 2548 และได้จดทะเบียนเป็นสมาคมโดยใช้ชื่อว่า “สมาคมอาสาสมัครนานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคม (ดาหลา)” เมือวันที่ 16 มิถุนายน 2551 สำนักงานตั้งอยู่ที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ถึงวันนี้กลุ่มดาหลาได้ดำเนินงานกิจกรรมเพื่อสังคมร่วมกันมาเกือบ 10 ปี เสมือนเด็กน้อย ที่เริ่มด้วยวัยแห่งการเรียนรู้ รอวันเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่แข็งแรงและเพียบพร้อมด้วยประสบการณ์ ที่จะร่วมกันสร้างสรรค์สังคมโลกให้น่าอยู่ยิ่งขึ้น ด้วยเจตนารมณ์ของความปรารถนาดีต่อสังคมร่วมกัน นอกเหนือจากการจดทะเบียนเป็นสมาคมในประเทศไทย ในเครือข่ายระหว่างประเทศนั้น กลุ่มดาหลาก็ได้ร่วมเป็นสมาชิกของ CCIVS หรือ (คณะกรรมการประสานงานเพื่ออาสาสมัครนานาชาติ) ซึ่งมีกลุ่มองค์กรเครือข่ายงานเกี่ยวกับอาสาสมัครทั่วโลก และกลุ่มองค์กรเครือข่ายในเอเชีย NVDA หรือ (เครือข่ายอาสาสมัครเพื่อการพัฒนาเอเชีย) ซึ่งทั้งสองเครือข่ายนี้ เสมือนตัวกลางในการประสานงานเพื่อการจัดส่งหรือแลกเปลี่ยนอาสาสมัครนานาชาติ เข้าร่วมโครงการที่ทางกลุ่มดาหลาและหน่วยงานต่างๆ ร่วมกันจัดขึ้น

เป้าหมาย

เป้าหมายหลักของเรา คือ “การพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน” เพื่อการบรรลุถึงเป้าหมายดังกล่าว เราได้แยกย่อยเป็น 3 แนวทางคือ

1) ส่งเสริม   หรือการร่วมผลักดันกิจกรรมกับชุมชนในท้องถิ่นต่างๆเช่น การสร้างศาลา หรือศูนย์เรียนรู้ในท้องถิ่น การทำกิจกรรมกับเด็กในโรงเรียน

2) เสริมสร้างมิตรภาพ กิจกรรมต่างๆ ของทางสมาคมจะนำกลุ่มอาสาสมัครไทยและต่างชาติและคนในชุมชนมาทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อก่อให้เกิดมิตรภาพที่ดีต่อกัน

3) สงวน และดูแลรักษา สงวน และดูแลสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมท้องถิ่นไม่ให้สูญหาย จากรุ่นสู่รุ่น
เกี่ยวกับโครงการ

ค่ายอาสาครั้งนี้ เป็นการกลับไปทำค่ายนานาชาติครั้งที่2 ของดาหลา กับชุมชนบ้านตะเมก ซึ่งทางดาหลาได้จัดค่ายครั้งแรก เมื่อ เดือน กรกฎาคม 2558 และได้รับความร่วมมือเป็นจากชุมชนเป็นอย่างดี จึง

ทำให้เกิดการจัดค่ายอีกครั้งในครั้งนี้

กิจกรรม (บางกิจกรรมอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามสภาพอากาศ)
– สร้างฝายแม้วในชุมชน
– ทำแปลงผักพื้นบ้าน
– กิจกรรมกับเด็กประถม
– กิจกรรมเรียนรู้ ป่า น้ำ ดิน (เดินป่า สำรวจป่าต้นน้ำ)
– กิจกรรมเรียนรู้วิถีชีวิตและบริบทชุมชน

 

วัตถุประสงค์ของโครงการ

–  เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน
– เพื่อแลกเรียนรู้แลกเปลี่ยนภาษาและวัฒนธรรม
– ปลุกจิตสำนึกการหวงแหน ทรัพยากร ดูแล รักษา ไม่ให้สูญหาย
– เพื่อปลูกฝังให้เด็ก เยาวชน มีจิตอาสา

สภาพทั่วไป

บ้านตะเหมก เป็นชุมชนพุทธ มีครัวเรือนทังหมดประมาณ 500 ครัวเรือน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพสวนยางพารา และปลุกผัก ผลไม้ ไว้สำหรับบริโภคในครัวเรือน ชาวบ้านส่วนใหญ่ เป็นคนพื้นที่ดังเดิม

บ้านตะเหมก เป็นชุมชนเก่าแก่ มากว่า 200 ปี ตั้งอยู่ที่ ม.9 ต.ละมอ  อ.นาโยง จ ตรัง  92170  ภาคใต้ของประเทศไทย สภาพหมู่บ้านเป็นเนินเขา สูงชัน มีป่าต้นน้ำ ชาวบ้านจะปลุกบ้านตามแนวคลอง บ้านจะอยู่ห่างๆ กัน ตามที่ดินของตัวเอง

ในชุมชนมีการรวมตัวทำกกลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ และยังรวมตัวต่อสู้เรื่องที่ดินทำกินเนื่องจากพื้นที่ดั้งกล่าว ทางรัฐได้ประกาศเป็นพื้นที่ป่าสงวน ซึ่งรวมถึงที่ดินทำกินของชุมชนด้วย (ปัจจุบัน) ชาวบ้านอาศัยอยู่ แต่ไม่สามารถตัดต้นไม้ หรือ ปลูกยางพาราเพิ่มเติมได้ และไม่มีเอกสารสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว

ในชุมชน มีโรงเรียน ที่ใกล้ที่สุดคือ โรงเรียนบ้านคลองลำปริง  4 กิโลเมตรจากหมู่บ้าน ระดับ ประถม มีนักเรียน 140 คน ครู 9 คน

มีสถานีอนามัย ใกล้ ๆ โรงเรียน

วัดที่ใกล้ที่สุดคือ วัดมงคลสถาน (วัดละมอ)  12 กม จากหมู่บ้าน

ที่พัก

            ที่พักที่ศูนย์  (ที่ทางชุมชนสร้างขึ้นเพื่อรองรับกิจกรรมต่างๆ ของเยาวชน)  เป็นศาลายกพื้น ใหญ่ ๆ โล่ง  สามารถ นอน ปลูกเปล กางมุ้ง ได้  ประมาณ 20 คน รวมถึง สามารถ พักตามบ้านชาวบ้าน ได้ด้วยห้องน้ำ มี 3 ห้อง  (อยุ่ในบริเวณศูนย์)   มีไฟฟ้า และน้ำ ใช้ (ประปาจากเขา)

ห้องครัว  สามารถ ทำอาหาร บริเวณที่พักได้ (ชาวบ้านจะมาช่วยกันทำด้วย)

 ซักผ้า
ซักผ้ากับมือ กรุณานำผงซักฟอกมาเอง

ห้องน้ำ
มีห้องน้ำสำหรับอาสาสมัคร 2 ห้อง สามารถใช้ส้วมและอาบน้ำในห้องเดียวกัน

วันหยุดระหว่างค่าย  อาจจะมีวันหยุด ระหว่างค่าย 1-2 วัน ซึ่งอาจะได้ไปเยี่ยมชม สถานที่ ท่องเทียว บริเวณไม่ไกลภายใน จังหวัดตรัง ผู้เข้าร่วมอาจจะต้อง แชร์ ค่าเดินทางกันเอง

จุดนัดพบ
วันอาทิตย์ ที่ 13  มีนาคม   2559 สถานีรถไฟตรัง เวลา 11.00 น.

การเดินทางจากกรุงเทพ มายังจุดนัดพบ
ทางเครื่องบิน นั่งเครื่องจากดอนเมือง มาลงสนามบิน ตรัง จากนั้น ต่อ สองแถว หรือ แท็กซี่มายังสถานีรถไฟ (กรณีมีคนมาทางเครื่องบินหลายคนอาจจะไปรับที่สนามบินได้) จะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง

ทางรถบัส  นั่งรถบัส จากสายใต้ กรุงเทพ ตรัง  (หลังจากนั้นต่อ มอไซด์หรือตุ๊กตุ๊ก มายังจุดนัดพบค่ะ)

ทางรถไฟ นั่งรถจากหัวลำโพง มาลงสถานี ตรัง (มาเที่ยว ที่ถึงเช้า ๆ นะคะ รถไฟ มาช้าทุกขบวนค่ะ)

คุณสมบัติของผู้ที่เหมาะสมในการเข้าร่วมโครงการนี้

– สามารถใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย ทำงานในที่ที่มีอากาศร้อนได้
– ใจกว้าง พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และสามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นได้
– มีความคิดสร้างสรรค์ และสนใจกิจกรรมต่างๆ
– ไม่ยึดติดกับโลกออนไลน์

จำนวนอาสาสมัครที่เปิดรับสมัคร

อาสาสมัครไทย  10 คน

การติดต่อสื่อสาร

สัญญาณโทรศัพท์ใช้ได้ทุกเครือข่าย

ภาษาที่ใช้
อังกฤษ ไทย  ญี่ปุ่น

เงื่อนไขการร่วมโครงการ

  1. ต้องเสียค่าบำรุงสมาคม 2,500 บาท ซึ่งจะนำมาเป็นค่าอาหารสำหรับผู้เข้าร่วม ค่าที่พัก  ค่ากิจกรรมและค่าบำรุง ของสมาคม
  2. ต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป และต้องแจ้งผู้ปกครองให้รับทราบก่อนเข้าร่วมโครงการ
  3. ผู้เข้าร่วมเป็นผู้รับผิดชอบดูแลความปลอดภัยของตนเอง

สิ่งที่ต้องเตรียมมาร่วมค่าย **กระเป๋าควรเป็นแบบเป้สะพายค่ะ

  1. ถุงนอน หรือผ้าห่ม มุ้ง
  2. เสื้อผ้าสำหรับสวมใส่ 2 สัปดาห์ (ผู้หญิงเสื้อแขนกุด กางเกงขาสั้นเลยเข่าไม่ควรสวมใสระหว่างค่าย)
  3. เสื้อผ้าสำหรับใส่ทำงาน สามารถสกปรกได้ และไม่เสียดายทีหลังค่ะ
  4. อุปกรณ์กันแดด หมวก ครีมกันแดด
  5. ถุงมือ และรองเท้าผ้าใบหรือรองเท้าหุ้มส้น สำหรับทำงาน หรือเดินป่า
  6. รูปถ่าย หรืออาหารท้องถิ่นของตนเอง (สำหรับมาแลกเปลี่ยนกับผู้ร่วมค่ายคนอื่น ๆ)
  7. สเปรย์กันยุ่ง (กรุณาเลือกอันที่เป็นมิตรกับสิงแวดล้อม)
  8. ไฟฉาย (เลือกแบบที่สว่างมาก ๆ ควรเป็นแบบใช้ถ่าน และควรเตรียมถ่านให้เพียงพอสำหรับการใช้งาน 14 วัน )
  9. ความคิดสร้างสรรค์ เกมส์ เพลง เพื่อความบันเทิงในค่าย
  10. ความคิดด้านบวก มองโลกในแง่ดี และรอยยิ้มที่สดใส
  11. เมล็ดพันธ์ผัก (ถ้ามี)
  12. ของส่วนตัวผู้เข้าร่วมต้องเตรียมเอง (ยาสระผม ผงซักฟอก แป้ง สบู่ )

สิ่งที่ห้ามนำมาในค่าย

  1. สารเสพติด
  2. แอลกอฮอล์
  3. อคติ หรือความคิดด้านลบ

 

 

สมาคมอาสาสมัครนานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคม (ดาหลา)

15/2 ม.3 ต.โคกม่วง อ.คลองหอยโข่ง จ. สงขลา 90230

www.dalaa-thailand.com

อีเมล: dalaa.thailand@gmail.com

โทร. 074-242 300, พี่เอ๋ ผู้ประสานงาน   089 738 7417

 

 

 

ค่าใช้จ่าย : 2500