ชื่อโครงการ  ค่ายพิเศษ ร่วมกับกลุ่มอาสาสมัครจากประเทศเบลเยี่ยม
(สร้างแปลงเพาะพันธุ์กล้าไม้ สอนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์ เรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และ
กิจกรรมกรรมกับเด็ก)
ระยะเวลาโครงการ 3-21 สิงหาคม 2559

ดาหลาคือใคร  
“กลุ่มดาหลา” ได้รวมกลุ่มกันขึ้นเมื่อเดือน สิงหาคม 2547 โดยเพื่อนผู้รักงานอาสาสมัครทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ จัดกิจกรรมค่ายอาสาสมัครขึ้นครั้งแรกในปี 2548 และได้จดทะเบียนเป็นสมาคมโดยใช้ชื่อ วา่ “สมาคมอาสาสมัครนานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคม ( ดาหลา) ” เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2551 ส านักงาน ตั้งอยู่ที่อ าเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จนถึงวันนี้ กลุ่มดาหลาได้ด าเนินงานกิจกรรมเพื่อสังคมร่วมกันมาเข้า สู่ปีที่ 10 เสมือนเด็กน้อย ที่เริ่มด้วยวัยแห่งการเรียนรู้ รอวันเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่แข็งแรงและเพียบพร้อมด้วย ประสบการณ์ ที่จะร่วมกันสร้างสรรค์สังคมโลกให้น่าอยู่ยิ่งขึ้น ด้วยเจตนารมณ์ของความปรารถนาดีต่อ สังคมร่วมกัน
นอกเหนือจากการจดทะเบียนเป็นสมาคมในประเทศไทย ในเครือข่ายระหว่างประเทศนั้น ดาหลาก็ ได้ร่วมเป็นสมาชิกของ CCIVS หรือ )คณะกรรมการประสานงานเพื่ออาสาสมัครนานาชาติ( ซึ่งมีกลุ่ม องค์กรเครือข่ายงานเกี่ยวกับอาสาสมัครทั่วโลก และกลุ่มองค์กรเครือข่ายในเอเชีย NVDA หรือ )เครือข่าย อาสาสมัครเพื่อการพัฒนาเอเชีย( ซึ่งทั้งสองเครือข่ายนี้ เสมือนตัวกลางในการประสานงานเพื่อแลกเปลี่ยน อาสาสมัครนานาชาติ เข้าร่วมโครงการที่ทางกลุ่มดาหลาและหน่วยงานต่างๆ ร่วมกันจัดขึ้น

ประวัติโครงการ
นายทวี หมีนหวัง )บังหลีม( หนึ่งในชาวบ้านชุมชนท่ายาง ผู้ริเริ่มโครงการบ้านเรียนท่ายาง เชื่อว่า ชุมชน และครอบครัวของเด็กและเยาวชน สามารถเป็นพื้นที่ให้เด็กๆได้เรียนรู้ทักษะชีวิต วีถีชีวิต และทุก กระบวนการเรียนรู้ ต้องเริ่มจากที่บ้าน  ในขณะที่ปัจจุบัน  ชุมชนต่างๆ ไม่สามารถที่จะจัดการเรียนรู้ผ่าน กระบวนการบ้านเรียนได้ จึงส่งบุตรหลานเข้าไปเรียนในตัวเมือง ซึ่งเชื่อว่ามีระบบการศึกษาที่มีคุณภาพ ดีกว่า บางครอบครัวส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนเอกชน  ซึ่งมีคุณภาพการเรียนการสอนสูงกว่า โรงเรียนรัฐบาลในพื้นที่ ท าให้ชุมชนประสบปัญหา โรงเรียนในชุมชนเริ่มมีขนาดเล็กลง และอาจท าให้ รัฐบาลใช้นโยบายควบรวมโรงเรียนหรือยุบโรงเรียนขนาดเล็กที่มีจ านวนนักเรียนไม่ถึงเกณฑ์ จนจะ กลายเป็นปัญหาที่เข้ามากระทบกับวิถีชีวิตของคนในชุมชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ด้วยเหตุนี้การริเริ่มโครงการบ้านเรียนท่ายาง จึงเป็นเหตุผลส าคัญที่จะด ารงไว้ซึ่งการจัดการศึกษา ของลูกหลานในชุมชน โดยคนในชุมชนลุกขึ้นมาจัดการร่วมกับครูและองค์กรส่วนท้องถิ่น โดยการเอาใจใส่ กับการศึกษาของเยาวชนให้มากขึ้น โดยใช้กระบวนการบ้านเรียนเป็นเครื่องมือพัฒนารูปแบบการเรียนการ สอนไปพร้อมๆกัน
แนวคิดบ้านเรียนท่ายาง เริ่มต้นจากการที่บังหลีมต้องการเปิดโอกาสให้เด็กในพื้นที่ได้เรียนรู้ทักษะ ทางด้านการสื่อสาร โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษาที่มีความส าคัญเป็นอย่างยิ่งในอนาคต ประกอบกับ ศักรินทร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในเจ้าหน้าที่ของดาหลา ได้เข้าไปติดต่อประสานงานกับบังหลีม และเปิดห้องเรียน ภาษาอังกฤษในชุมชน โดยมีนักเรียนให้ความสนใจเข้ามาเรียนรู้เป็นจ านวนมาก หลังจากนั้นจึงวางแผน โครงการในอนาคต ที่จะจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษให้กับเด็กในชุมชนอย่างต่อเนื่อง จึงได้ ริเริ่มโครงการบ้านเรียนขึ้น เพื่อรับอาสาสมัครนานาชาติ ได้เข้ามาช่วยเสริมกระบวนการด้านการสอนให้มี ความชัดเจนขึ้น  และเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกันระหว่างเด็กในชุมชน และอาสาสมัครนานาชาติ รวมทั้งอาสาสมัครไทย ได้มีโอกาสเรียนรู้ร่วมกันในบ้านเรียนท่ายาง
ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2557 ดาหลาได้จัดค่ายอาสาสมัครระยะสั้นขึ้นที่บ้านท่ายาง เพื่อสร้างศูนย์การ เรียนรู้ขึ้นที่บริเวณบ้านพักของบังหลีม จัดกิจกรรมสอนภาษาอังกฤษ และเรียนรู้ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม ท้องถิ่น ซึ่งได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดีจากชุมชน ในเดือนเมษายน 2557 ดาหลาเปิดศูนย์อาสาสมัครระยะ ยาว และเริ่มเปิดรับอาสาสมัครตั้งแต่เดือนเมษายนเป็นต้นมา

กิจกรรมที่จะทำ
– สร้างแปลงเพาะพันธุ์กล้าไม้ป่าชายเลน
– เกษตรทางเลือก เกษตรเพื่อเป็นอาหารภายในศูนย์
– การศึกษาทางเลือก โดยใช้เด็กเป็นศูนย์กลางในรูปแบบบ้านเรียน
– การสอนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์ที่โรงเรียนบ้านท่ายาง
– เรียนรู้ภูมิปัญญาเรื่อง ต้นจาก เป็นต้น

บริบทชุมชน
ชุมชนท่ายาง เป็นชุมชนมุสลิม ที่อยู่ไม่ไกลจากทะเลอันดามัน  ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล โดยมีสะพานท่ายางเป็นตัวเชื่อมระหว่างชุมชนกับตัวเมืองละงู เนื่องจากเป็นชุมชนที่มีลักษณะ เป็นเกาะ มีสายน้ าล้อมรอบ  ชาวบ้านจึงประกอบอาชีพประมงพื้นบ้านเป็นหลัก โดยอาศัยความสมบูรณ์ของ ทรัพยากรชายฝั่งเป็นปัจจัยส าคัญ  และการท าสวนจาก ซึ่งเป็นอาชีพที่อยู่คู่ชาวบ้านท่ายางมาอย่างช้านาน ต้น จาก พืชสารพัดประโยชน์ที่สามารถใช้ทุกส่วนมาท าประโยชน์ได้ เช่น ใบจากสามารถนำมาลอกเป็น “ใบ
จาก” สำหรับสูบ และสามารถน าใบจาก มาทำเป็นหลังคาจาก นอกจากนั้น ต้นจาก สามารถแปรรูปเป็น ผลิตภัณฑ์ต่างๆได้อีกมากมาย เช่น น้ำตาลจาก ลูกจาก เครื่องจักสานจากก้านจาก  ขนมจาก ที่ห่อด้วยใบจาก และอื่นๆอีกมากมาย
ชุมชนบ้านท่ายาง มีโรงเรียนประถม ซึ่งเป็นโรงเรียนรัฐบาล ตั้งอยู่ในหมู่บ้าน เปิดสอนในระดับชั้น อนุบาล 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีมัสยิดบ้านท่ายางเป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจของพี้น้องมุสลิม มีศูนย์ การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด)ตาดีกา( เป็นสถานที่บ่มเพาะความรู้ทางด้านศาสนา คุณธรรม จริยธรรม สำหรับเด็กในพื้นที่ มีศูนย์การเรียนรู้การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากต้นจาก ตั้งอยู่ในชุมชน และมีภูมิปัญญาด้าน การทำประมงพื้นบ้านที่เป็นต้นทุนทางทรัพยากรในชุมชน ได้ใช้ประโยชน์และคงคุณค่าแก่การเรียนรู้และ การอนุรักษ์ไว้สืบไป

อาหาร
อาหารจะเน้นอาหารท้องถิ่น เนื้อสัตว์ ผัก ปลา ที่หาซื้อได้ง่ายในหมู่บ้าน เนื่องจากเป็นหมู่บ้านที่มี การประกอบอาชีพประมง อาหารของคนในชุมชน  จึงเป็นอาหารประเภทปลาเป็นส่วนใหญ่ และเป็นอาหาร ฮาลาล )อาหารที่ปรุงตามหลักการของอิสลาม( ในระยะแรกศูนย์บ้านเรียนท่ายางยังไม่มีห้องครัว จึงต้องใช้ ห้องครัวในบ้านของบังหลีม อาสาสมัครสามารถช่วยประกอบอาหารร่วมกับผู้ดูแลโครงการ ส่วนในระยะ ยาวทางศูนย์มีโครงการที่จะท าแปลงผักปลอดสารพิษ เพื่อท ามาเป็นอาหารในศูนย์ด้วย

ที่พัก  ห้องน้้า
บ้านพักของผู้รับผิดชอบโครงการในพื้นที่ )บังหลีม( มีห้องสำหรับรองรับอาสาสมัคร 3 ห้อง และบริเวณ อาคารบ้านเรียน มีห้องพักสำหรับอาสาสมัคร จำนวน 2 ห้อง บริเวณอาคารบ้านเรียนมีสถานที่เปิดโล่ง ที่ สามารถกางเต้นท์นอนได้ประมาณ 4-5 หลัง ส่วนห้องน้ำมี 2 ห้องแยกชาย หญิง

ซักผ้า ซักมือ ผงซักฟอกของตนเองมีจำหน่ายในร้านค้าชุมชน

ข้อควรทราบ
เนื่องจากชุมชนบ้านท่ายาง เป็นชุมชนมุสลิม ในช่วงเดือนรอมฎอน ชุมชนมุสลิมจะมีเทศกาลถือศีล อด ชาวบ้านจะไม่มีกิจกรรมในช่วงกลางวันมากนัก อาสาสมัครสามารถเรียนรู้วิถีชีวิตของมุสลิมในช่วงถือ ศีลอดได้ งดเว้นการประการอาหารที่มีส่วนประกอบของหมู และต้องเป็นอาหารฮาลาล ตามหลักการของ ศาสนาอิสลาม ห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การแต่งการมิดชิด ผู้ชายใส่กางเกงเลยเข่า ผู้หญิงแต่งตัวสุภาพ เรียบร้อย
ในชุมชนมีร้านขายของช า ที่อาสาสมัครสามารถหาซื้อของที่จำเป็นได้  ส าหรับการซื้อของอื่นๆที่ไม่ มีขายในชุมชน หรือติดต่อธนาคาร ใช้อินเตอร์เน็ต หรือติดต่อโรงพยาบาล สามารถเดินทางไปในตัวเมือง  ละงูได้  ซึ่งอยู่ห่างจากชุมชนท่ายางประมาณ 5 กิโลเมตร โดยอาสาสมัครต้องติดต่อผู้ดูแลโครงการเพื่อ อำนวยความสะดวกให้ กรณีที่ต้องออกไปในตัวเมืองละงู

คุณสมบัติของอาสาที่จะเข้าร่วม
–       ใจกว้าง พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และสามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นได้
–       มีความคิดสร้างสรรค์ และสนใจกิจกรรมต่างๆ
–       รักเด็ก สามารถปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมของชุมชนท้องถิ่น
–       ไม่ยึดติดกับวัตถุและค่านิยมเมือง สามารถปรับตัวให้เข้ากับวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่นได้
–       เคารพความเป็นอยู่ของคนในท้องถิ่น พร้อมเปิดใจรับและเข้าใจความเป็นชุมชน
จ้านวนอาสาสมัครระยะยาว
–       จำนวนอาสาสมัครนานาชาติระยะยาว 3-4 คน ขึ้นอยู่กับช่วงเวลา
–       อาสาสมัครระยะสั้น เปิดรับไม่เกิน 6 คน
–       อาสาสมัครไทยเปิดรับไม่เกิน 5 คน

การติดต่อสื่อสาร

สามารถใช้โทรศัพท์ ได้ทุกระบบตามปกติ ไม่มีระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต สามารถ ใช้ได้ผ่านเครือข่ายมือถือ แต้ต้องไม่ใช้เกินความจ าเป็น

การเดินทาง   
– รถไฟ จากกรุงเทพ ขึ้นที่สถานีหัวลำโพง มาลงที่สถานีชุมทางหาดใหญ่  หลังจากนั้นนั่งรถสองแถว (เดินมาขึ้นที่บริเวณตลาดกิมหยง) หรือมอเตอร์ไซต์รับจ้าง ไปที่สถานีรถตู้ตลาดเกษตร แล้วนั่งรถตู้ สายหาดใหญ่-ปากบารา ค่าโดยสาร 110 บาท ไปลงที่คิวรถตู้ เวลาเดินทาง   (ติดกับไปรษณีย์ละงู )   1.30 ถึง 2 ชั่วโมง

– รถบัส จากสถานีขนส่งผู้โดยสารสายใต้ ซื้อตั๋ว กรุงเทพ-ตรัง-สตูล   ลงหน้าไปรษณีย์ละงู    *** หาก ซื้อตั๋ว สายกรุงเทพ-พัทลุง-สตูล รถจะไม่ผ่านอำเภอละงู อาสาสมัครต้องลงที่แยกฉลุงแล้วต่อรถตู้ หรือรถสองแถวมาลงที่อ าเภอละงู

– เครื่องบินจากกรุงเทพ ลงสนามบินหาดใหญ่หรือสนามบินตรัง  แล้วนั่งรถมาที่อำเภอละงู

*** แนะนำให้มาลงที่สนามบินหาดใหญ่ จะเดินทางต่อไปละงูได้สะดวกกว่า วิธีการเดินทางจาก หาดใหญ่ไปละงู ให้นั่งรถสองแถว สายสนามบิน-สถานีขนส่ง  ( รถสีฟ้า  ) ไปลงที่สถานีรถตู้ตลาด เกษตร แล้วนั่งรถตู้ สายหาดใหญ่-ปากบารา ค่าโดยสาร 100 บาท ไปลงที่คิวรถตู้)ติดกับไปรษณีย์ละ งู( เวลาเดินทาง 1.30 ถึง 2 ชั่วโมง

จุดนัดพบ  
นัดพบอาสาสมัครทุกท่าน ที่คิวรถตู้ หาดใหญ่-ปากบารา)ติดกับไปรษณีย์ละงู ( ในวันพุธที่ 3 สิงหาคม 2559 เวลา 09.00 น.  หากอาสาสมัครท่านใดไม่สามารถเดินทางไปยังจัดนัดพบได้ตามวันเวลาที่ก าหนด กรุณาโทรแจ้งผู้นำค่ายล่วงหน้า

 เงื่อนไขการร่วมโครงการ
1.   ค่าธรรมเนียมเข้าร่วมค่าย 2,500 บาท เพื่อน าไปเป็นค่าอาหาร ค่าดำเนินกิจกรรม ค่าสถานที่ และค่าบำรุง สมาคม
2.  อายุ 18 ปีขึ้นไป และต้องแจ้งผู้ปกครองให้รับทราบก่อนเข้าร่วมโครงการ
3.  ผู้เข้าร่วมเป็นผู้รับผิดชอบดูแลความปลอดภัยของตนเอง
4.  สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ตลอดโครงการ
5. เตรียมของใช้ส่วนตัว เช่น สบู่ ยาสระผม แปถง ผงซักฟอก ยารักษาโรค เป็นต้น

สิงที่ต้องเตรียมมาร่วมค่าย
– ถุงนอน หรือผ้าห่ม

-เสื้อผ้าส าหรับสวมใส่ ผู้หญิงไม่ควรสวมใส่เสื้อแขนกุด กางเกงขาสั้นเลยเข่า

-เสื้อผ้าสำหรับใส่ทำงาน สามารถสกปรกได้ และไม่เสียดายทีหลังค่ะ

-อุปกรณ์กันแดด หมวก ครีมกันแดด

-ถุงมือ และรองเท้าผ้าใบหรือรองเท้าหุ้มส้น สำหรับทำงาน

-รูปถ่าย หรืออาหารท้องถิ่นของตนเอง สำหรับมาแลกเปลี่ยนกับผู้ร่วมค่ายคนอื่น

-สเปรย์กันยุง กรุณาเลือกชนิดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

-ไฟฉาย (เลือกแบบที่สว่างมาก ๆ และควรเป็นแบบชาร์จแบตเตอรี่)

-ของฝากสำหรับเด็ก ๆ หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่สามารถทำกิกจรรมกับเด็ก ๆ ได้ (ไม่ควรนำขนมขบ เคี้ยว หรือน้ าอัดลมมาฝากค่ะ -ความคิดสร้างสรรค์ เกมส์ เพลง เพื่อความบันเทิงในค่าย -ความคิดด้านบวก มองโลกในแง่ดี และรอยยิ้มที่สดใส

สิ่งที่ห้ามนำมาในค่าย
– สารเสพติด  – แอลกอฮอล์ – อคติ หรือความคิดด้านลบ

สำหรับอาสาสมัครไทยที่สนใจ เข้าร่วมโครงการ สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้

1. ศึกษารายละเอียดโครงการที่สนใจ และสามารถดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ลิงค์ข้างล่าง

2. กรอกใบสมัคร แจ้งชื่อ /ความประสงค์ที่จะเข้าร่วมโครงการ(ระบุว่าสนใจร่วมค่ายไหน) /ทราบรายละเอียดโครงการจากที่ใด ระบุหัวข้อ สมัครค่ายสาสาสมัครระยะสั้น (ชื่อค่าย) ส่งเมลล์มาที่ dalaa.thailand@gmail.com

3. ดาหลาจะแจ้งรายละเอียดค่าย และการเตรียมตัวก่อนไปค่ายให้กับอาสาสมัครศึกษาข้อมูลก่อนไปค่าย

4. ดาหลาจะรวบรวมรายชื่อผู้เข้าร่วมค่ายตามจำนวนที่ระบุไว้ว่าสามารถรับได้กี่ คน(สมัครก่อนมีสิทธิก่อน) แล้วแจ้งรายละเอียดและนัดหมายการเดินทาง

5. อาสาสมัครไทย ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการเข้าร่วมค่าย 2,500 บาท  เพื่อนำเงินนี้ไปซื้อกับข้าวสำหรับอาสาสมัครตลอดทั้งค่าย ค่าบำรุงที่พัก ค่าวัสดุอุปกรณ์ และค่าบำรุงสมาคม

6. สำหรับค่าเดินทาง อาสาสมัครต้องรับผิดชอบเองทั้งหมด

ค่าใช้จ่าย : 2500