ภาพรวมของโครงการ

ชุมชนหลังอ้ายหมีเป็นพื้นที่ที่ล้อมรอบไปด้วยภูเขา
และอยู่ในพื้นที่ห่างไกลทางภาคใต้ของประเทศไทย
ทางชุมชนต้องการพลังของอาสาสมัครมาช่วยเสริมความเป็นหนึ่งเดียวของธรรมชาติ
และวิถีชุมชน จุดที่ตั้งของชุมชนหลังอ้ายหมีนั้นเป็นป่าต้นน้ำของแม่น้ำชะอวด
ดังนั้นในสมาชิกในชุมชนจึงช่วยกันรับผิดชอบที่จะทำให้ป่าต้นน้ำมีความสะอาด
เพื่อให้น้ำได้ไหล และเป็นประโยชน์ต่อไป
สมาชิกในชุมชนหลังอ้ายหมีนั้น ได้ต่อสู้กับภาครัฐ
เพราะว่าทางภาครัฐต้องการประกาศพื้นที่ส่วนนี้ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ
และต้องการไล่คนในชุมชนให้ออกไปจากพื้นที่
นี่เป็นเหตุผลที่ทำให้คนในชุมชนมีความแข็งแกร่งและสามัคคีกันเป็นหนึ่งเดียว
ปัจจุบันนี้
สมาชิกในชุมชนยังคงมีกิจกรรมที่แสดงให้เห็นถึงความเอาใจใส่และดูแลสิ่งแวด
ล้อมอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ในชุมชนยังมีศูนย์การเรียนรู้ที่มีพระเทพฯ
ทรงเป็นผู้สนับสนับให้ทรงสร้างขึ้นโดยตำรวจตะเวนชายแดน

และทางศูนย์ก็มีการสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้เพื่อแลกเปลี่ยนภาษาและวัฒนธรรมอีก
ด้วย

สภาพทั่วไปของชุมชน และที่มาของโครงการ
ประวัติความเป็นมาและสภาพทั่วไปของชุมชน
หลังอ้ายหมีนั้นเป็นชุมชนที่ล้อมรอบด้วยภูเขา อยู่ในอำเภอชะอวด
จังหวัดนครศรีธรรมราช และตั้งอยู่บนเทือกเขาบรรทัด
พื้นที่ชุมชนเป็นป่าต้นน้ำซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำชะอวด
แม่น้ำชะอวดนี้ไหลลงไปยังทะเลจีนทางอำเภอปากพะนัง
ใน พ.ศ 2506 ได้มีคนกลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งรกรากในพื้นที่นี้
ในบริเวณนี้สามารถปลูกยางพาราและผลไม้หลายชนิดได้ดี หนึ่งในผู้ก่อตั้งชื่อว่า
“หมี” และชาวบ้านก็ได้ตั้งชื่อหมู่บ้านตามชื่อของเขา ในปี พ.ศ.2515
รัฐบาลได้ประกาศให้พื้นที่นี้เป็นพื้นที่อุทยานแห่งชาติ
และก็พยายามไล่พื้นที่ของคนในชุมชนที่อาศัยอยู่
โดยได้กล่าวหาว่าคนในชุมชนนี้ได้ใช้และทำลายทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่แห่งนี้
(เป็นรัฐบาลเดียวกันกับที่อนุญาตให้กลุ่มนายทุนเข้ามารับสัมปทานพื้นที่ป่า
และขายต้นไม้ออกนอกประเทศ) นับตั้งแต่ช่วงเวลานั้น ทางชาวบ้านมากกว่า 60
ครอบครัวก็ได้รวมตัวกันเพื่อต่อสู้และพิสูจน์ให้เห็นว่าพวกเขานั้น
ไม่รุกรานและอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างสันติสุข
หลายต่อหลายครั้งทางชุมชนมีกิจกรรมอาสาสมัครต่างๆ ที่ทำให้ชุมชนนั้นรัก ผูกพัน
และรับผิดชอบต่อธรรมชาติมากยิ่งขึ้น
ในปีพ.ศ. 2545 พวกเขาได้ก่อตั้งกลุ่ม “รักป่าต้นน้ำ” มีสมาชิกทั้งสิ้น 157
ครอบครัว หรือราวๆ 463 คน ทางกลุ่มได้มีข้อตกลงร่วมกันที่จะดูแลรักษาป่า สัตว์ป่า
น้ำ ต้นไม้ และจัดกิจกรรมร่วมกัน

ในปีพ.ศ. 2557
ตำรวจชายเดนได้ริเริ่มการสอนภายในโรงเรียนเพื่อที่จะให้เด็กๆ
ได้รับการเรียนการสอนตลอดทั้งปี โดยในปี พ.ศ. 2558-2559
อาสาสมัครจากดาหลาและศูนย์จากร้อยหวันพันป่า
ได้เข้าไปร่วมกิจกรรมกับเด็กที่โรงเรียนอยู่เรื่อยๆ
หลังจากที่ได้รับเงินสนับสนุนจากสมเด็จพระเทพฯ และผู้บริจาคอื่นๆ
จึงมีการสร้างอาคารศูนย์การเรียนรู้ชุมชนหลังอ้ายหมีได้สำเร็จ

ที่มาของโครงการ
ในปีพ.ศ. 2557
ตำรวจชายเดนได้ริเริ่มการสอนภายในโรงเรียนเพื่อที่จะให้เด็กๆ
ได้รับการเรียนการสอนตลอดทั้งปี โดยในปี พ.ศ. 2558-2559
อาสาสมัครจากดาหลาและศูนย์จากร้อยหวันพันป่า 2
ได้เข้าไปร่วมกิจกรรมกับเด็กที่โรงเรียนอยู่เรื่อยๆ
หลังจากที่ได้รับเงินสนับสนุนจากสมเด็จพระเทพฯ และผู้บริจาคอื่นๆ
จึงมีการสร้างอาคารศูนย์การเรียนรู้ชุมชนหลังอ้ายหมีได้สำเร็จ
หลังจากที่ศูนย์ร้อยหวันพันป่าได้ปิดตัวลงในปี พ.ศ. 2559
สมาชิกของชุมชนหลังอ้ายหมีอย่างพี่คม
และอาจารย์อย่างอยู่ปราการได้ติดต่อและสนใจที่จะรับอาสาสมัครมาต่อยอดโครงการ
ในชุมชนหลังอ้ายหมีต่อไป โดยจะเน้นกิจกรรมกับเด็กในโรงเรียนระดับประถม
และกิจกรรมอนุรักษ์ป่า

จุดประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อสนับสนุนและสร้างแรงขับเคลื่อนในด้านการพัฒนาชุมชนและสิ่งแวดล้อม
2. เพื่อส่งเสริมกิจกรรมกลุ่ม อนุรักษ์ป่าต้นน้ำ
3. เพื่อให้เด็กๆ และคนในชุมชนเกิดความคุ้นชินกับอาสาสมัครต่างชาติ
รวมทั้งให้เกิดการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมที่หลากหลายอีกด้วย
4. เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนหลังอ้ายหมี

กิจกรรม
– กิจกรรมกับเด็กในโรงเรียนประถม (เกมส์ เพลง สอนคำศัพท์)
– ทำฝายน้ำ (ฝายชะลอน้ำ), สำรวจป่าต้นน้ำ
– แลกเปลี่ยนภาษและวัฒนธรรม
– กิจกรรมกับกับชุมชน (เกี่ยวกับการปลูกผลไม้ ยางพารา เก็บลูกชก
และงานจักสาน)
*ทั้งนี้ รายละเอียดของกิจกรรมที่แน่นอนนั้นจะมีส่งให้อาสาสมัครภายใน 1 เดือนหรือ 2
อาทิตย์ก่อนค่ายเริ่ม
** เนื่องจากมีปัจจัยหลายๆ อย่างที่ไม่สามารถเป็นไปตามตารางที่จัดได้ เช่น สภาพอากาศ เป็นต้น
ดังนั้นอาสาสมัครไม่ควรคาดหวังกิจกรรมที่จะเป็นไปตามตาราง 100%
นอกจากนี้
ทางเราอยากให้อาสาสมัครเตรียมกิจกรรมสำหรับกลุ่มเพื่อทำร่วมกันในช่วงที่ใ
ช้ชีวิตร่วมกัน ยกตัวอย่างเช่น เกมส์ เพลง หรือแม้กระทั่งความสามารถต่างๆ
ที่ต้องการจะให้อาสาสมัครคนอื่นเรียนรู้หรือแลกเปลี่ยน

คุณสมบัติของผู้ที่เหมาะสมในการเข้าร่วมโครงการ
1. สามารถใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย อยู่ในพื้นที่ห่างไกลได้
2. ใจกว้าง พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และสามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นได้
3. มีจิตอาสา และรับได้ถึงวิถีชีวิต การกิน นอน ที่ไม่สะดวกสบายเหมือนที่บ้าน
4. มีความคิดสร้างสรรค์ และสนใจกิจกรรมต่างๆ
5. ไม่ยึดติดกับโลกออนไลน์

ที่พัก และอุปกรณ์ที่จำเป็น
ทีพัก อาสาสมัครจะพักรวมกันในอาคารของโรงเรียน
มีห้องน้ำในบริเวณอาคาร
อาหาร อาสาสมัครจัดเตรียมทำอาหารกันเอง
และมีคนในชุมชนมาช่วยกันทำบ้างเป็นบางมื้อ
ซักผ้า ซักผ้าด้วยมือ
สัญญาณโทรศัพท์ DTAC และ TRUE มีสัญญาณ เฉพาะในโรงเรียน

 

สิ่งที่ต้องเตรียมมาร่วมค่าย **กระเป๋าควรเป็นแบบเป้สะพายค่ะ

1. ถุงนอน หรือผ้าห่ม หมอนลม แผ่นโยคะรองนอน (อุปกรณ์สำหรับนอน
ต้องเตรียมมาเองค่ะ)
2. เสื้อผ้าสำหรับสวมใส่ ระหว่างค่าย เนื่องจากพื้นที่เป็นชุมชนขนาดเล็ก
จึงขอความร่วมมือให้อาสาสมัคร แต่งกายให้เหมาะสม ไม่สวมเสื้อคอกว้าง
เสื้อแขนกุด กางเกงรัดรูปเกินไป และกางเกงขาสั้น
3. เสื้อผ้าสำหรับใส่ทำงาน สามารถสกปรกได้และไม่เสียดายทีหลังค่ะ
4. อุปกรณ์กันแดด หมวก ครีมกันแดด
5. เสื้อกันฝนหรือร่ม
6. ถุงมือ และรองเท้าผ้าใบหรือรองเท้าหุ้มส้น สำหรับทำงาน *
หากไม่อยากสวมผ้าใบก็ไม่ต้องนำมาค่ะ **
6. รูปถ่าย หรืออาหารท้องถิ่นของตนเอง
(สำหรับมาแลกเปลี่ยนกับผู้ร่วมค่ายคนอื่น ๆ)
7. สเปรย์กันยุง (กรุณาเลือกผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม)
8. ไฟฉาย หรือโทรศัพท์ ที่มีไฟฉาย
9. ความคิดสร้างสรรค์ เกมส์ เพลง เพื่อความบันเทิงในค่าย
10. ความคิดด้านบวก มองโลกในแง่ดี และรอยยิ้มที่สดใส ☺
11. ของส่วนตัวผู้เข้าร่วมต้องเตรียมเอง (ยาสระผม ผงซักฟอก แป้ง สบู่ )

  1. อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://drive.google.com/file/d/0ByQQ4JcERbn-ajhqbi1vM2NzaHlLSkpCcldNVEVuUHd6VDFV/view?usp=sharing
  2.  ดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ https://drive.google.com/open?id=1Td0jMry9NJpVTIZHMu_q7H5GecB3wSRy
  3. ส่งใบสมัครมายัง www.dalaa.thailand@gmail.com
  4. รอการตอบรับจากเจ้าหน้าที่
  5. ชำระค่าเข้าร่วม

ค่าใช้จ่าย : 2800 บาท