เนื่องมาจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ คือ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส รวมไปถึง 4 อำเภอในจังหวัดสงขลา ความขัดแย้งและความรุนแรงได้ส่งผลต่อชีวิต การดำรงชีพ และ ความปลอดภัยของประชาชน และนั่นก็ทำให้ผู้คนต้องสูญเสียคนที่ตนรัก สูญเสียทรัพย์สิน และสูญเสียอิสรภาพ และเสรีภาพ ดังกรณีของผู้ต้องขังคดีความมั่นคง

ความมั่นคงในเรือนจำปัตตานีมีจำนวน 83 คน ยะลามีจำนวน 143 คน นราธิวาสมีจำนวน 202 คน และเรือนจำกลางสงขลามีจำนวน 120 คน ภายใต้การปฏิบัติการของรัฐบาลในการปราบปรามผุ้ก่อความไม่สงบตั้งแต่ ปี 2547 จนถึงสิงหาคม 2552 พบว่ามีผู้ต้องขังคดีความมั่นคงรวมจำนวน 548 คน ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดของกลุ่มก่อความไม่สงบหรือการกระทำผิดของรัฐ ในปี 2553 รัฐได้มีการผ่อนปรนความเข้มงวดในการประกันตัวและให้ทุนในการประกันตัวผู้ต้องหาคดีความมั่นคงและมีผู้ต้องหาคดีความมั่นคงที่รอการประกันตัวจำนวน 480 คนในเดือนตุลาคม 2553

ในจังหวัดสงขลาได้มีการใช้กฎอัยการศึกตั้งแต่ปี 2547 และได้ยกเลิกตั้งแต่พฤศจิกายน 2552 อย่างไรก็ตามได้มีจำนวนผู้ต้องหาคดีความมั่นคงในเรือนจำกลางสงขลาเพิ่มขึ้น ตั้งแต่เรือนจำกลางสงขลารองรับผู้ต้องหาคดีความมั่นคงจาก 3 จังหวัด ในความเป็นจริงยังไม่มีองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนหรือองค์กรที่ให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมายในจังหวัดสงขลาทีจะช่วยเหลือครอบครัวผู้ต้องหาคดีความมั่นคง นอกจากนี้พวกเขายังถูกกีดกันจากสังคม ขาดความเห็นใจในข้อเท็จจริงของพวกเขา

โดยหลักพื้นฐานบุคคลที่ถูกกล่าวหาจะสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะมีคำพิพากษา อย่างไรก็ตามปัญหาต่าง ๆ ได้เพิ่มขึ้นจากความล่าช้าของการพิจารณาคดี ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 3-5 ปีกว่าจะมีคำพิพากษาของศาลฎีกา ผู้ต้องหาคดีความมั่นคงจะไม่ได้รับอนุญาตให้ประกันตัวระหว่างการพิจารณาคดี ในศาล (ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา) ในข้อเท็จจริงพบว่า ร้อยละ 70 ศาลมีคำพิพากษายกฟ้อง ดังนั้น จึงมีผู้บริสุทธิ์ที่ถูกกล่าวหาและครอบครัวของเขาก็ได้พบกับความยากลำบากจากการคุมขังในระหว่างกระบวนการพิจารณาคดี

เพื่อเป็นการป้องกันผลกระทบที่ครอบครัวผู้ต้องหาคดีความมั่นคงได้รับที่ทำให้เข้าร่วมกับกลุ่มก่อความไม่สงบหรือสร้างความไม่ไว้วางใจต่อรัฐไทย กลุ่มด้วยใจได้จัดตั้งขึ้นเพื่อให้ความช่วยเหลือครอบครัวผู้ต้องหาคดีความมั่นคง กลุ่มด้วยใจมีความมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือรัฐ หรือ หน่วยงานรัฐบาลและสังคม ในการรักษาบาดแผลที่ประชาชนได้รับผลกระทบซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงและเด็ก กลุ่มด้วยใจมีความมุ่งหมายในการจัดโครงการสำหรับการศึกษา ทุนการศึกษา การส่งเสริมรายได้ให้กับผู้หญิงและเยาวชน และ ดำเนินการช่วยเหลือทางจิตใจระหว่างครอบครัวผู้ต้องหาคดีความมั่นคง

ท้ายที่สุดนี้กลุ่มด้วยใจมีความมุ่งหมายที่จะสร้างความเข้าใจระหว่างสังคมในห้วงเวลาความขัดแย้งโดยเฉพาะในจังหวัดสงขลา ตั้งแต่ปี 2552 กลุ่มด้วยใจได้ดำเนินการเข้าค่ายเยาวชน เยี่ยมเยียนครอบครัวผู้ต้องหาคดีความมั่นคง และ ได้ริเริ่มดำเนินโครงการครอบครัวสัมพันธ์ระหว่างผุ้ต้องหาคดีความมั่นคงและครอบครัว