มูลนิธิการศึกษาเพื่อโลกสีเขียว (กศข.)
Green World Education Foundation   (GreenWEF)

ความเป็นมา
มูลนิธิการศึกษาเพื่อโลกสีเขียว เป็นองค์กรพัฒนาเอกชนต้นแบบด้านการจัดการศึกษาหลักสูตรท้องถิ่นแบบบูรณาการ ด้านการเกษตรอินทรีย์  พืชสมุนไพร  การจัดการด้านสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมอาชีพและการสร้างรายได้  แก่กลุ่มเด็ก  เยาวชน  สตรี  ผู้ด้อยโอกาสในชุมชน  การสร้างเครือข่ายความร่วมมือทั้งในระดับชุมชนและองค์กรสาธารณประโยชน์
จากอดีตที่ “เธอ” มีอาชีพเป็นแม่พิมพ์ของชาติที่ต้องทำงานในหน้าที่เหมือนเป็นเรือจ้าง คือเป็น “ครู” สอนหนังสือเด็กในโรงเรียน เป็นอาชีพที่ต้องทำงานเป็นเวลา และต้องอยู่ในกรอบตลอดเวลา ไม่มีโอกาสได้ใช้ความรู้ความสามารถ และความคิดสร้างสรรค์ที่เธอมีอยู่ ได้อย่างเต็มที่เท่าที่ควร เพราะฉะนั้นอาชีพแม่พิมพ์ของชาติจึงไม่ใช่อาชีพที่ “ใช่”  สำหรับเธอ ณ เวลานั้น
ประมาณปลายปี  พ.ศ.  ๒๕๕๔   นางสาวชลธิชา  ศรีสุข   ได้มีโอกาสพบปะกับเพื่อน ๆ  จากหลาย ๆ องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน    จึงเกิดเวทีเสวนาพูดคุยและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันขึ้น    ทำให้เกิดการจุดประกายความคิดในเรื่องการหลอมรวมประสบการณ์งานพัฒนาในหลาย ๆ รูปแบบ  อาทิ   ความเป็นผู้เสียสละและมีจิตอาสา  การทุ่มเททั้งร่างกายและจิตใจ   ความเป็นอิสระในด้านความคิดในเชิงสร้างสรรค์   การเข้าถึงชุมชนในระดับรากหญ้าการเล็งเห็นปัญหาและคุณค่าของแผ่นดินบ้านเกิดด้วยการจัดกิจกรรมผ่านค่ายอาสาและการบูรณาการการศึกษาทางเลือกโดยใช้หลักสูตรท้องถิ่นเป็นเครื่องมือในการจัดกิจกรรมให้กับคนในชุมชน โดยเน้นอัตลักษณ์ / ภูมปัญญาทั้งภาษาและวัฒนธรรม  การสร้างเครือข่ายการตอบแทนคุณของแผ่นดินด้วยการจัดกิจกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมทั้งงานเกษตรอินทรีย์และพืชสมุนไพร   เป็นต้น
จากการพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในกลุ่มเพื่อนๆ ที่มีอุดมการณ์เดียวกัน หลายๆครั้ง ทำให้เกิดการบ่มเพาะประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมและมีการตกผลึกทางความคิดร่วมกันในการแสวงหาแนวทางการขอจดทะเบียนเพื่อจัดตั้งมูลนิธิ ฯ ขึ้น   ในขณะเดียวกันในแนวทางการคิดดีทำดีที่เป็นสาธารณกุศล  ทำให้มีผู้ใหญ่ใจบุญที่มีจิตสาธารณอยู่แล้วในเบื้องต้น   แจ้งความประสงค์ที่จะบริจาคทรัพย์สิน  (ที่ดินและเงินสด   รวมมูลค่า   ๕๐๐,๐๐๐.-   บาท )  เพื่อเป็นทุนในการก่อตั้งมูลนิธิ ฯ
ด้วยพลังอันแรงกล้าทั้งบุญ กุศลและอุดมการณ์ในจิตสาธาณประโยชน์ ของผู้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิ ที่ได้สะสมร่วมกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จึงส่งผลบุญให้เกิดก่อการก่อตั้งมูลนิธิชื่อ”มูลนิธิการศึกษาเพื่อโลกสีเขียว(กศข.)”ขึ้นในที่สุดและได้รับการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ   ทะเบียนเลขที่   ๒๒๐๑   ลงวันที่  ๑๖  เดือนมิถุนายน   พ.ศ.  ๒๕๕๕

วัตถุประสงค์
๑.   เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นแบบบูรณาการ
๒. เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการเกษตรอินทรีย์  พืชสมุนไพรพื้นบ้าน  ตลอดจนการจัดการด้านสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อมในชุมชน
๓.  เพื่อส่งเสริมอาชีพและสร้างรายได้เสริมให้กับกลุ่มเด็ก / เยาวชน  กลุ่มสตรีและผู้ด้อยโอกาสในชุมชน
๔. เพื่อดำเนินการหรือร่วมมือกับองค์การการกุศล  เพื่อการกุศลและองค์การสาธารณประโยชน์  เพื่อสาธารณประโยชน์

วิสัยทัศน์
มูลนิธิการศึกษาเพื่อโลกสีเขียวเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนต้นแบบด้านการจัดการศึกษาหลักสูตรท้องถิ่นแบบบูรณาการด้านการเกษตรอินทรีย์  พืชสมุนไพร  การจัดการด้านสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อม     การส่งเสริมอาชีพและการสร้างรายได้  แก่กลุ่มเด็ก  เยาวชน  สตรี  ผู้ด้อยโอกาสในชุมชน  การสร้างเครือข่ายความร่วมมือทั้งในระดับชุมชนและองค์กรสาธารณประโยชน์

พันธกิจ
๑. พัฒนาการเรียนรู้และการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นแบบบูรณาการ
๒.  พัฒนาการเรียนรู้ด้านการเกษตรอินทรีย์  พืชสมุนไพร
๓.   ส่งเสริมกระบวนการจัดการด้านสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อมในชุมชน
๔.   ส่งเสริมอาชีพและการสร้างรายได้เสริมแก่กลุ่มเด็ก  เยาวชน  สตรี  และผู้ด้อยโอกาสในชุมชน
๕.   พัฒนากลไกการสร้างเครือข่ายผู้นำชุมชน   และเครือข่ายองค์กร   สาธารณประโยชน์

ยุทธศาสตร์
๑.) การจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นแบบบูรณาการมี   ๕   กลยุทธ์
๑.   เพิ่มขีดความสามารถผู้นำชุมชน / วิทยากรท้องถิ่น  และครูผู้สอน
๒.  การจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นแบบบูรณาการ  โดยผู้นำชุมชน / ผู้ปกครอง /    ผู้บริหารโรงเรียน / นักเรียน / วิทยากร
๓.   การจัดเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาสื่อการเรียนการสอน
๔.   การจัดการความรู้ทั้งในและนอกระบบโรงเรียน
๕.   การวัดผล / ประเมินผลหลังการใช้หลักสูตร
๒.)   การจัดการความรู้มี   ๕   กลยุทธ์
๑.   ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการเกษตรอินทรีย์
๒.  ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการแปรรูปและการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพร
๓.   ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการจัดการสุขภาพอนามัยในชุมชน
๔.   ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการสิ่งแวดล้อมในชุมชน
๕.   ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านอาชีพเสริมในชุมชน
๓.)   ส่งเสริมการสร้างอาชีพและสร้างรายได้เสริมมี ๓   กลยุทธ์
๑.   สืบค้น / ค้นหาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านอาชีพที่เอื้อต่อบริบทในชุมชน
๒.  ส่งเสริมและพัฒนากระบวนการผลิต / การแปรรูปจากเศษวัสดุพื้นบ้าน
๓.   การพัฒนาผลิตภัณฑ์และการจัดการด้านการตลาด
๔.)   เสริมสร้างขีดความสามารถในการพัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชนและการสร้างเครือข่ายองค์กรสาธารณประโยชน์มี ๒   กลยุทธ์
๑.  ส่งเสริมและพัฒนาผู้นำชุมชน   โดยผ่านกระบวนการประชุม /  อบรมและศึกษาดูงาน
๒.   สร้างเครือข่ายองค์กรเด็ก  เยาวชน  สตรี  และผู้ด้อยโอกาสในชุมชน

พื้นที่ปฏิบัติการ
๑.  พื้นที่หลักของมูลนิธิ  ฯ / ศูนย์  ฯ  สุรินทร์
๑.๑ โครงการสร้างศูนย์การเรียนรู้เรื่องการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าชุมชนแบบบูรณาการ / แบบครบวงจร  บ้านทวารไพร  ตำบลเมืองลีง   อำเภอจอมพระ  จังหวัดสุรินทร์
๒.  พื้นที่ปฏิบัติการเครือข่าย ฯ  อื่น ๆ
๒.๑  กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอ่างลำพอก  และโบราณสถาน  ( โครงการกระปุกแตกแยกขยะ / โครงการจัดการสิ่งแวดล้อมอ่างลำพอก )  ตำบลยาง  ตำบลกุดหวาย  ตำบลระแงง   อำเภอศรีขรภูมิ   จังหวัดสุรินทร์
๒.๒ โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ของชุมชนอย่างยั่งยืน          ตำบลเมืองแก   ตำบลบัวโคก  ตำบลหนองบัว  อำเภอท่าตูม   จังหวัดสุรินทร์
๒.๒.๑ โครงการ   “ ล้านต้นคืนสู่ป่า ”
กิจกรรม  “ ธนาคารต้นกล้า ”
กิจกรรม  “ ธนาคารขวดแก้ว ”
๒.๒.๒ โครงการ “นักสืบลุ่มน้ำ / นักสืบผืนป่า ”
กิจกรรม  “ ตรวจวัดคุณภาพน้ำ ”
กิจกรรม “ การสำรวจและจัดจำแนกสิ่งมีชีวิต ”
อำเภอกาบเชิง   อำเภอพนมดงรัก   จังหวัดสุรินทร์
๒.๓  ศูนย์การเรียนรู้ตามอัธยาศัยอำเภอจอมพระ   จังหวัดสุรินทร์
อำเภอจอมพระ  จังหวัดสุรินทร์
๒.๔  ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง  ชุมชนบ้านโคกโกหมู่ที่ ๑
ตำบลมะขามล้ม  อำเภอบางปลาม้า  จังหวัดสุพรรณบุรี มีกิจกรรม สร้างฐานการเรียนรู้   ๖  ฐาน ได้แก่ (๑)  ฐานพืชผักสวนครัว (๒) ฐานนาข้าวอินทรีย์ (๓) ฐานบ่อปลา (๔)   ฐานสมุนไพร (๕) ฐานน้ำส้มควันไม้ (๖)  ฐานน้ำหมักชีวภาพ
๒.๕   เครือข่ายชุมชนลุ่มน้ำห้วยเสนง ครอบคลุมพื้นที่อำเภอเมือง
อำเภอปราสาท   อำเภอกาบเชิง   อำเภอพนมดงรัก   จังหวัดสุรินทร์
๒.๖   โครงการภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ   ตำบลเมืองลีง
อำเภอจอมพระ   จังหวัดสุรินทร์

คณะกรรมการมูลนิธิ ฯ
นางสาวชลธิชา             ศรีสุข               ประธานกรรมการ
นางสาวพักตร์วิไล        สหุนาฬุ            รองประธาน
นายประเสริฐ                สุขจิต               เหรัญญิก
นางสาวสุชัญญา           ศรีชะอุ่ม           เลขานุการ
นางรัตน์                        จันทาทอง         กรรมการ
ดร. คุณภัทร                  ปรุงเกียรติ        กรรมการ
นายอภินันท์                  บุญทอน           กรรมการ

สำนักงานใหญ่ มูลนิธิการศึกษาเพื่อโลกสีเขียว   (กศข.)
Green World Education Foundation-GreenWEF
เลขที่  ๗๘ / ๑๗๒  ซอยคู้บอน  ๒๗  แยก  ๒๙ แขวงท่าแร้ง   เขตบางเขน
กรุงเทพมหานคร  ๑๐๒๒๐  โทร. ๐๒   ๙๔๕ ๐๑๕๙   โทรสาร. ๐๒   ๙๔๕  ๐๑๕๙
มือถือ ๐๘๔  ๕๒๓ ๒๙๒๒, ๐๘๙ ๘๔๖ ๑๙๑๓
E- mail  :  greenwefoundation@hotmail.com,director@greenwef.org
http://greenwef.org/wp

หมายเหตุ: หากผู้มีจิตศรัทธาท่านใด มีความประสงค์ที่จะร่วมบริจาคกับองค์กรการกุศลเพื่อสาธารณประโยชน์ในนามมูลนิธิการศึกษาเพื่อโลกสีเขียว (GreenWEF)
ขอเชิญร่วมบริจาคได้ที่
ธนาคารกรุงไทย   สาขาคู้บอน  ๕  ประเภทบัญชีออมทรัพย์
เลขที่บัญชี  ๙๘๐ – ๙ – ๘๑๖๐๐ – ๖