สมาคมอาสาสมัครนานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคม (ดาหลา)
international volunteers for social development association (DaLaa)
“ก่อตั้งเมื่อปี 2004 แรงบันดาลใจที่ทำให้มาเป็น กลุ่มดาหลา แรงบันดาลใจในการรวมกลุ่มของพวกเราเกิดขึ้นจากการได้เห็นความแตกต่างของสังคมปัจจุบัน ระหว่างความเป็นสังคมเมืองและชนบท ซึ่งก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันของสังคมในด้านต่างๆรวมไปถึงสังคมโลกปัจจุบันที่ปลูกฝังให้ทุกคนคิดถึงแต่เรื่องประโยชน์ส่วนตนเป็นหลัก กลุ่มดาหลาจึงรวมตัวกันขึ้นเพื่อการสร้างสรรค์สังคม โดยการร่วมผลักดันและมีส่วนร่วมในโครงการต่างๆเกี่ยวกับเยาวชน และชุมชนในท้องถิ่นของประเทศไทย.. เปิดโอกาสให้อาสาสมัครทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติได้อยู่ร่วมกัน เรียนรู้ร่วมกัน และทำงานร่วมกันกับชุมชนในท้องถิ่น ทั้งร่วมกันปลูกฝังให้ชุมชนเกิดความภาคภูมิใจในภูมิปัญญาของตนเอง รวมถึงปลูกฝังจิตอาสาให้แก่เด็กๆและเยาวชนในท้องถิ่นด้วยการสร้างสรรค์สังคมร่วมกัน กลุ่มดาหลามีความหวังเพื่อร่วมเสริมสร้างความคิดเห็นและความเข้าใจที่ตรงกันของทุกคน โดยการ ทำให้ทุกคนได้เรียนรู้ ได้แบ่งปันกัน เก็บเกี่ยวประสบการณ์ดีๆร่วมกัน รวมถึงการได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันทั้งในด้านของภาษาและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันภายใต้แนวคิด “อยู่ร่วมกัน เรียนรู้ร่วมกัน และทำงานร่วมกัน” กว่าจะมาเป็นกลุ่มดาหลา กว่าจะมาเป็นกลุ่มดาหลา พวกเราคือกลุ่มคนจิตอาสาทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ที่มีความตั้งใจที่จะเรียนรู้และร่วมกันสร้างสรรค์สัง คมอย่างจริงจัง แต่ละคนต่างก็เคยมีประสบการณ์ด้านงานอาสาสมัครและการสร้างสรรค์สังคมมาก่อนที่จะเริ่มมีการรวมกลุ่มดาหลา บางส่วนเคยทำงานด้านการประสานงานค่ายอาสาสมัครทั้งระยะสั้นและระยะยาวในประเทศไทยและต่างประเทศ ได้เรียนรู้และผ่านประสบการณ์แต่ละสาขาวิชาที่แตกต่างกันออกไป อีกทั้งมีความรู้ความสามารถในทักษะด้านต่างๆ เช่น งานก่อสร้าง ดนตรี ศิลปะ วรรณกรรม เป็นต้น ด้วยพื้นเพที่ต่างได้รับกันมาจากแต่ละท้องถิ่น เราจึงรู้และตระหนักดีว่าอะไรคือสิ่งที่ทรงคุณค่าและอยู่บนพื้นฐานความต้องการของชุมชนในท้องถิ่นด้วยทักษะความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ที่แตกต่างกัน เสมือนแนวทางที่หลอมให้พวกเราได้ตระหนักที่จะร่วมกันสรรค์สร้างสังคมเสมอมา”
การพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน
living working learning together
“) สนับสนุน การสนับสนุนหรือการร่วมผลักดันกิจกรรมกับชุมชนในท้องถิ่นต่างๆ เช่น – งานก่อสร้าง และปรับปรุงห้องเรียนหรือศูนย์เรียนรู้ในชุมชน / การทำความสะอาดแหล่งน้ำ หรือสถานที่สาธารณะต่างๆ – การร่วมผลักดันโครงการต่างๆ ในชุมชน รวมไปถึงการมีส่วนในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นอันทรงคุณค่า มิให้เลือนหาย – ร่วมกับชุมชนในการจัดการสิ่งแวดล้อม และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น – การสนับสนุนโรงเรียนในชนบท เช่นการจัดส่งอาสาสมัครนานาชาติเข้าร่วมกิจกรรม ด้านการฝึกใช้ภาษาอังกฤษอย่างสร้างสรรค์ เป็นต้น 2) เสริมสร้างมิตรภาพ การดำเนินงานค่ายอาสาสมัครนานาชาติ เป็นการนำอาสาสมัครจากทั่วโลก มาอาศัยอยู่ร่วมกันในระยะเวลาหนึ่ง เพื่อทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน ดังนั้นในการอยู่ร่วมกันของอาสาสมัครและชุมชนในท้องถิ่น นอกเหนือจากการสร้างสรรค์สังคมร่วมกันแล้ว ผู้มีส่วนร่วมทุกคนยังได้เรียนรู้ถึงความหลากหลายทั้งในด้านของชาติพันธุ์และวิถีหรือวัฒนธรรมที่หลากหลาย ก่อให้เกิดกระบวนการการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และมิตรภาพต่อกัน ด้วยการพยายามทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน เห็นอกเห็นใจกัน รวมไปถึงการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน เหล่านี้เสมือนเป็นรากฐานของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขถาวร 3) สงวน และดูแลรักษา สภาพของสังคมเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ หลายสิ่งหลายอย่างคือสิ่งทรงคุณค่าคู่ควรแก่การเคารพและทะนุถนอมไว้ไม่ให้สูญหาย หรือทำให้เกิดการสูญเสียน้อยที่สุด ด้วยสิ่งเหล่านั้นเสมือนปัจจัยหลักในการสร้างประโยชน์สุขของสังคมมวลรวม เราจึงมีความตั้งใจและมุ่งมั่นเพื่อร่วมกันดูแลรักษา ทรัพยากรธรรมชาติ วิถี วัฒนธรรมหรือประเพ”

นายศักรินทร์ สีหมะ
นายกสมาคม

กิจกรรมกับเด็ก ชุมชน สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม