มะขามป้อม ศูนย์เชียงดาว
477 ม. 7 ต.เชียงดาว อ.เชียงดาว จ. เชียงใหม่ 50170
โทรศัพท์/โทรสาร 053-456-016
E-mail : ctmkp@yahoo.com , Inter@makhampom.net, makhampom3@gmail.com

รู้จักเรา…
มะขามป้อมเป็นผลไม้ที่กินเข้าไปแรกๆจะมีรสฝาดๆแต่พอดื่มน้ำตามก็จะได้รสหวาน มีประโยชน์ถือเป็นยาได้ซึ่งก็เป็นความหมายเป็นนัยที่ตรงกับการทำงานของเรา ละครแปลกๆแต่กลับสนุกสนานยิ่งดูไปก็ยิ่งได้สาระประโยชน์ที่เอาไปใช้ในชีวิต ได้เสมือนเป็นยาพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองและชุมชน แต่ถ้าพูดถึงกลุ่มละครมะขามป้อมแล้วละก็คงต้องย้อนหลังไปในอดีตซึ่งจะแบ่ง ออกเป็น 3 ช่วงของความเป็นมาและเป็นไปของกลุ่มละครมะขามป้อมดังนี้

ยุคละครเร่ (Touring Theatre) และการอบรมทักษะละคร– สื่อการสอนแบบละคร​พ.ศ.2523 – 2531
กลุ่ม สื่อชาวบ้าน “มะขามป้อม” เริ่มเกิดขึ้นในช่วงที่สังคมบอบช้ำจากวิกฤตการณ์ทางการเมือง เป็นห้วงเวลาของการฟื้นฟู สังคมจากกลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยยุค14 ตุลาคม 2516 และ6 ตุลาคม2519 ที่กลับมารวมตัวกันอีกครั้งใน
พ.ศ.2523โดยเป็นกลุ่มที่มีความถนัดด้านการละครนักเขียนกวีนักดนตรีนัก แสดงกลุ่มสื่อชาวบ้าน(มะขามป้อม)ใช้กระบวน  การละครเร่ ใช้กระบวนการละครเร่เป็เครื่องมือในการทำงานเพื่อพัฒนาวัฒนธรรมชุมชนในฐานะ เป็นสื่อกลางเล็กๆที่สะท้อนปัญหาชาวบ้าน สู่สังคมรูปแบบการทำงานหลักคือการแสดงละครเร่และละครรณรงค์จากนั้นเริ่ม พัฒนาเพิ่มเติมการอบรมทักษะละครการแสดง และการอบรมครูในระบบการศึกษาเพื่อผลิตสื่อการสอนแบบละคร

ยุคละครเพื่อการพัฒนา(Community Theatre) ลิเกมะขามป้อมและ”มูลนิธิสื่อชาวบ้าน(มะขามป้อม)
พ.ศ.2543 – ปัจจุบัน

“ลิเกร่วมสมัย” คือเอกลักษณ์ที่เด่นชัดของยุคนี้เริ่มลดรูปแบบละครตะวันตกแล้วกลับไปใช้รูป แบบของสื่อพื้นบ้านและศิลปะแบบประเพณีนิยมมาปรับปรุงให้การนำเสนอสาระร่วม สมัยมากขึ้นยังคงใช้กระบวนการละครเยาวชนเพื่อการพัฒนาโดยเน้น ไปที่”การพัฒนาชุมชน” และเกิดแนวคิดเรื่องละครชุมชนการสื่อสารเพื่อชุมชนกลยุทธ์หลักจึงเป็นการ มุ่งพัฒนาศักยภาพ ให้เยาวชนในชุมชนสามารถรวมตัวกันทำงานละครเพื่อการพัฒนาภายในชุมชนของตนเอง ได้ด้วยตนเองมุ่งเน้นการพัฒนากลุ่ม ละครเยาวชนที่มีความยั่งยืนระยะยาวนอกจากนี้ยังมีการทำงานต่อเนื่องในลักษณะ การฝึกอบรมด้านละครเพื่อการพัฒนาให้้แก่ครูผู้สอนนักเรียนองค์กรพัฒนาอื่นๆ

ด้านการแสดงได้ขยับมาทำงานกับชนชั้นกลางและปัญญาชนในเมืองโดยใช้สื่อพื้น บ้านเป็นรูปแบบหลักในการนำเสนอ สาระต่างๆมีการสร้างความร่วมมือระหว่างศิลปินในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงที่เห็น ชัดเจนได้จากละคร นาคะวงศ์(2548) ในโอกาสครบรอบ 25 ปีมะขามป้อมซึ่งได้รับความสนใจอย่างมากจากกลุ่มคนในหลายระดับตั้งแต่ชาวบ้าน ผู้สนใจทั่วไป นักวิชาการ นักศึกษา นักการละครเจ้าหน้าที่สถานทูตคนในแวดวงสังคมชั้นนำฯลฯผลพวงของความร่วมมือ จากละคร พื้นบ้านเรื่องนี้โดยไม่รู้ตัวมะขามป้อมได้สร้างค่านิยมใหม่ๆกับกลุ่มคนใหม่ ที่มีโอกาสได้ชมละครด้วย

ปรัชญา
เพื่อสังคมไทยที่ประชาชนทุกคนสามารถสร้างสรรค์และ เข้าถึงสื่อชุมชนที่เป็นของตนเอง เพื่อถ่ายทอด ประเด็นปัญหาและความต้องการของตนเองได้ และละคร คือสื่อที่สามารถสะท้อนวัฒนธรรมความเป็นอยู่ออก มาได้อย่างมีพลัง จับต้อง สัมผัสเข้าถึงอารมณ์ได้ อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อสังคมไทยที่ประชาชนทุกคนสามารถสร้างสรรค์และ เข้าถึงสื่อชุมชนที่เป็นของตนเอง เพื่อถ่ายทอด ประเด็นปัญหาและความต้องการของตนเองได้ และละคร คือสื่อที่สามารถสะท้อนวัฒนธรรมความเป็นอยู่ออก มาได้อย่างมีพลัง จับต้อง สัมผัสเข้าถึงอารมณ์ได้ อย่างมีประสิทธิภาพ

วิสัยทัศน์​“ looking to tomorrow today ”
เพื่อสังคมไทยที่ประชาชนทุกคนสามารถสร้างสรรค์และ เข้าถึงสื่อชุมชนที่เป็นของตนเอง เพื่อถ่ายทอด ประเด็นปัญหาและความต้องการของตนเองได้ และละคร คือสื่อที่สามารถสะท้อนวัฒนธรรมความเป็นอยู่ออก มาได้อย่างมีพลัง จับต้อง สัมผัสเข้าถึงอารมณ์ได้ อย่างมีประสิทธิภาพ

พันธะกิจ​” get on your bike “
คนในชุมชนสามารถสร้างและประยุกต์ละครเพื่อการ พัฒนาชุมชนได้ด้วยตนเอง เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ก้าวหน้าของสังคมไทยรวมทั้งการร่วมมือ และการแลกเปลี่ยนอย่างไม่มีพรมแดนระหว่างชุมชนกับชุมชนเพื่อสังคมส่วนรวม

เป้าหมาย​”what was it we were meant to be doing”
ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นย่อมต้องมีเหตุให้เกิด และเมื่อเกิดขึ้นมาแล้วย่อยต้องมีผลตามมา มะขามป้อมก็เช่นกัน เมื่อพวกเราเกิดขึ้นมาแล้วย่อมต้องมีผลตามมาด้วย ผลก็คือเป้าหมายที่เราตั้งใจจะให้เกิดผล คือ

1.เพื่อผลิตละครกลุ่มย่อย เป็นสื่อทางเลือกของประชาชนรากหญ้า
2.เพื่อสนับสนุนให้ชุมชนสร้างสรรค์สื่อของตนเองและประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม
3.เพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายของชุมชนแต่ละส่วนของสังคมเข้าด้วยกันด้วยสื่อละคร
4.เพื่อพัฒนาชุมชนผู้ทำงานด้านละครในประเทศไทยและประเทศอื่นๆ

การทำงาน​“doing the dirty work” งานคลุกฝุ่น
สำหรับมะขามป้อมแล้ว พวกเราทำงานอยู่บน ความรักในละครและการยืนหยัดอยู่กับชาวบ้าน กลุ่มของเราได้มองตนเองตั้งแต่ต้นแล้วว่าเป็นแหล่ง ความรู้ด้านการแสดง ในฐานะนักแสดงและผู้สนับสนุนในการทำละครภายในชุมชน และเป็นหนทาง เชื่อมต่อระหว่างสังคมเมืองและสังคมชนบท สำหรับส่งต่อเรื่องราวต่างๆ ความทุกข์ยาก และความเป็นไปในชุมชน ให้สังคมได้รับรู้ อย่างไรก็ตาม เมื่อมะขามป้อมลง ไปทำกิจกรรมละครกับพื้นที่ใดแล้วคนในพื้นที่นั้นสามารถสร้างงานละครขึ้นมา เองไดและสามารถสร้างละครได้เองอย่างต่อเนื่อง มะขามป้อมจะค่อยๆถอนตัวออกจากชุมชนนั้น เพราะพวกเราวางมะขามป้อม ไว้ในฐานะเพื่อนของชุมชนมากกว่าที่จะเป็นผู้ทำละครให้ชุมชนแต่เพียงฝ่าย เดียวจากประสบการณ์ ที่ได้ลงไปทำงานกับชุมชนต่าง ๆ มากมาย ผลที่ตาม มาก็คือ การศึกษางานศิลปะพื้นบ้านได้กลาย เป็นรูปแบบการแสดงของมะขามป้อม และด้วยเหตุผลนี้เอง งานฝึกสอนการแสดง ของมะขามป้อมจึงมีพื้นฐานอยู่บนการแสดง ละครดั้งเดิม ไม่ว่าจะเป็นละครพื้นบ้าน ลิเก และโขน ละครชุมชนการสื่อสารทางวัฒนธรรม และเป็นการ สื่อสารอย่างมี ประสิทธิภาพ และนี่เป็นวิธีการดึงดูดผู้ชมและชุมชน ให้อ้าแขนต้อนรับละคร ที่มาจากมะขามป้อมได้เป็นอย่างดี ผู้ชมและชุมชนเองได้กลายเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องคำนึงถึง เมื่อจะหารูปแบบการแสดงที่เหมาะสม สำหรับมะขามป้อม การทำละครโดย คำนึงถึงผู้ชม และส่วนอื่นๆที่เกี่ยวข้องนี้ จึงนับเป็นการสนับสนุนแนวความคิดของการทำละครที่มีชีวิต ที่เชื่อมระหว่างศิลปะและการรับใช้สังคม

การประยุกต์ใช้ละครสมัยใหม่และละครแบบดั้งเดิม การทำงานของชาวมะขามป้อมเป็นไปอย่างแทบไม่มีเวลาหายใจจาก โครงการหนึ่งไปสู่อีก โครงการหนึ่งของวิถีแห่ง ละครเพื่อการพัฒนาชุมชน เปรียบได้กับการทำนาที่ต้องเก็บเกี่ยวให้ทัน จากหน้าหนึ่งสู่อีกหน้าหนึ่ง ด้วยเหตุผลนี้เอง มะขามป้อมจึงมีระบบเศรษฐกิจ แบบค่อนข้างพอเพียง(แต่โน้มเอียงไปทางไม่ค่อยพอ) โดย้อาศัยเงินทุนจากองค์กรต่างๆ ขณะนี้เราจึงพยายามเปลี่ยนแปลงสถานการณ์(ทางการเงิน) เพื่อให้กลุ่มพึ่งพาตนเองได้และอยู่ได้อย่างยั่งยืนเพื่อการดำรง อยู่ีขององค์กรหรือกลุ่มคนที่มีจิตวิญญาณในการทำละครเพื่อการพัฒนาและ เปลี่ยนแปลง สังคมหรือชุมชนของประเทศไทย หัวใจหลักของการเปลี่ยนแปลงก็คือ การเปลี่ยนจากการพึ่งพาองค์กรที่ให้การสนับสนุนทางการเงินองค์กรใด องค์กรหนึ่ง มาเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนระหว่างกลุ่ม การรับบริจาคจากปรเิทศอื่น ๆ องค์กรวัฒนธรรม ระหว่างประเทศ และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เพื่อใช้เป็น ยุทธศาสตร์ทางการเงินของมะขามป้อมเพื่อความมั่นคงและ ยั่งยืนต่อไป

มะขามป้อม
​ เป็นองค์กรที่มีอาสาสมัครเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญมาโดยตลอด อาสาสมัครรุ่นแรกเกิดขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2525 จนถึงทุกวันนี้นับได้ 24 ปี 24 รุ่นกว่าหลายร้อยชีวิตที่ไดสัมผัสประสบการณ์ของการเป็นอาสาสมัครมะขามป้อม แห่งนี้ อาสาสมัครที่นี่มีความฮาเป็นอาวุธ มีความบ้าเป็นหัวใจ มีความหลากหลายเป็นเอกลักษณ์นี่คือบุคลิกของผู้ที่จะมาเป็น อาสาสมัครกับเรามะขามป้อมเปิดโอกาสให้กับใครก็ได้เพศไหนก็ได้ อายุเท่าไหร่ก็ได้ เข้ามาร่วมเป็นอาสาสมัครทำกิจกรรม ต่างๆ เพราะฉะนั้นเราจึงมีคนทุกเพศทุกวัยทุกวงการสาขาวิชาชีพที่เห็นความสำคัญของงานละครเพื่อการพัฒนานี้มาช่วยกัน ผลักดันงานให้สำเร็จ

สมัครอาสาสมัคร
ก็เพียงแค่ติดต่อเข้ามา เราจะมีขั้นตอนในการฝึกอบรมให้แตกต่างกันไปเป็นช่วงๆนะจ๊ะ บ้างก็เริ่มฝึกจากการทำงาน แล้วค่อยไปอบรม บ้างก็อบรมก่อนแล้วค่อยทำงาน ขึ้นอยู่กับงานในช่วงนั้นๆ ความหลากหลายเหล่านี้เองทำให้คนรุ่นใหม่ หลายคนเลือกที่จะเข้ามาสัมผัสมะขามป้อมดูบ้างสักครั้งในชีวิต และ หากคุณสนใจเรายังเปิดโอกาสให้คุณเข้ามาทำงานกับ เราได้ ก็เพียงแค่ติดต่อเข้ามาที่ makhampom2@hotmail.com ​หรือ​ 02-6168473