จิตอาสาเก็บขยะ เขาหลวงสุโขทัย ปี ๖๓
สืบเนื่องโครงการ หนึ่งชั่วโมงแห่งความดี
เก็บขยะพัฒนามหานครแห่งจิตใจ ปีที่ ๙

วันเสาร์ที่ ๒๑ – อาทิตย์ที่ ๒๒ พฤษจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๓
( ออกเดินทางคืนวันศุกร์ที่ ๒๐ เวลา ๒๑.๐๐ น. )

[สถานที่]
๑.อุทยานแห่งชาติรามคำแหง (พิชิตเขาหลวงสุโขทัย)
กางเต็นท์นอน รับลมหนาว ชมดาวบนเขา
๒.ชมพระอาทิตย์ตก ยอดเขาพระเเม่ย่าเซึ่งเป็นยอดสูงสุด
๓.ชมพระอาทิตย์ขึ้น จุดชมพระอาทิตย์ขึ้นคือยอดเขานารายณ์
๔.อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
…………………………………………………

[รับ] อาสาสมัคร จำนวน 50 คน
[ค่าใช้จ่าย] สมทบทุนกิจกรรม 950 บาท

……………………………………………….

[ชี้แจงค่าใช้จ่าย] 

๑.ค่าเหมารถบัสปรับอากาศ (คนไม่เต็มเปลี่ยนเป็นรถตู้)
๒.ค่าธรรมเนียมเข้าอุทยานรามคำแหง
๓.ค่าธรรมกางเต็นท์นอน
๔.ค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรม
๕.ประกันการเดินทาง วงเงิน ๑ แสนบาท

**สิ่งที่รับผิดชอบตัวเอง

๑.ค่าเช่าถุงนอน 30 บาท แผ่นรองนอน 20 บาท
(ชำระหน้างานตามความสะดวก เช่าหรือไม่เช่าก็ได้)
๒.เตรียมอาหารแห้งพร้อมทาน มาม่าคัพ ขนมปัง น้ำดื่ม
ควรเตรียมกล้วยหอมไว้ทานระหว่างทางด้วย
สำหรับนำขึ้นไปกินบนเขา ๓ มื้อ คือ เย็น เช้า เที่ยง
( บนเขามีร้านค้าและน้ำร้อนคอยบริการ )
๓.เต็นท์นอน มีส่วนตัวเตรียมเตรียมมาด้วย
ถ้าไม่มี ยืมทีมงาน มีค่าลูกหาบขน ขึ้นลงรวม 6 กิโล
(กิโลละ30บาท * 6กิโลรวม 180 บาท 1 หลังนอนได้ 1 -3 คน หารตามจำนวนคนที่นอนด้วยเช่นนอน 2 คน หารกันคนละ 90 บาท )
๔.ค่าแบกสัมภาระของลูกหาบ กิโลละ 30 บาท
๕.ค่าเข้าอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย 30 บาท
๖.ค่าเช่าจักรยาน 50 บาท (ปั่นไม่เป็นซ้อนได้ หารค่ารถคนละ25 บาท)

………………………………………………………….

[ เนื้องานกิจกรรม ]

๑.รณรงค์เก็บขยะรักษาความสะอาดกับเจ้าหน้าที่อุทยานและเครื่อข่ายอนุรักษ์ธรรมชาติ
๒.ฝึกฝนวินัยด้านความรับผิดชอบสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ
ในการนำขยะที่เกิดจากการบริโภคลงจากเขามาด้วย
๓.เข้าป่าหาชีวิต เดินป่าศึกษาธรรมชาติ (พิชิตเขาหลวงสุโขทัย) 3.7 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินเท้าประมาณ 4-6 ชั่วโมง
๔.ใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น แบ่งปัน เสียสละ มีน้ำใจ ให้อภัย
ตามรูปแบบกิจกรรมออกค่ายอาสาพัฒนาตนเอง
๕.ตระหนักรู้ในคุณค่าของการมีชีวิตอยู่ จากการเดินทางสร้างประสบการณ์ตรงให้ตัวเองและเรียนรู้จากประสบการณ์ผู้อื่น
๖.กินง่าย อยู่ง่าย ไม่เรื่องมาก
๗.งดเว้นสุรา อบายมุข การพนันทุกชนิด

……………………………………………………………

[ สมัครเข้าร่วมกิจกรรม ]

เปิดรับสมัคร ตั้งแต่ บัดนี้ จนกว่าจะครบจำนวน

{ กรุณา กรอก ข้อมูล ให้ชัดเจนและครบถ้วน }
** แล้ว รอ การติดต่อกลับทาง E-mail จากทีมงาน **

…………………………………………………………………….

[กำหนดการ]

คืนวันศุกร์ที่ ๒๐ พฤษจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๓

เวลา ๑๙.๓๐ น. – ๒๑.๐๐ น. ลงทะเบียน เข้าร่วมกิจกรรม บริเวณ หน้าตู้ ATM ธนาคารกรุงศรีฯ ใน ปั๊ม ปตท. สนามเป้า (ห่างจาก BTS สนามเป้า ๕๐๐ เมตร)

เวลา ๒๑.๐๐ – ๐๕.๓๐ น. ออกเดินทาง มุ่งหน้าสู่ อุทยานแห่งชาติรามคำแหง จ.สุโขทัย

วันเสาร์ที่ ๒๑ พฤษจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๓

เวลา ๐๔.๓๐ น. – ๐๕.๓๐ น. พักทำภารกิจส่วนตัว แวะปั๊มปตท. สุโขทัย ทำภารกิจส่วนตัวล้างหน้าแปรงฟัน รับประทานอาหารเช้า( เตรียมอาหารหรือขนม รับผิดชอบตัวเอง )
เวลา ๐๕.๓๐ น. – ๐๗.๓๐ น. มุ่งหน้าสู่ อุทยานประวัติศาสตร์

เวลา ๐๗.๓๐ น. – ๐๘.๓๐ น. กิจกรรมวันแรกพบแบ่งกลุ่มและจับฉลากหาบัดดี้ เพื่อนผู้ช่วยเหลือระหว่างเดินทางพิชิตเขาหลวง

เวลา ๐๘.๓๐ น. – ๑๔.๐๐ น. กิจกรรมเดินป่าหาชีวิต

ที่พักจุดต่างๆ ระหว่างทางขึ้นเขาหลวง
จุดที่ 1 ประดู่ใหญ่ เดินขึ้นเขามา 1กิโลเมตร �ปัจจุบันต้นประดู่ใหญ่ตายไปแล้ว
จุดที่ 2 มออีหก 1,400 เมตร �เป็นจุดที่มีไผ่หกขึ้นจำนวนมาก จุดนี้ถือว่าเป็ส่วนที่ชันเอามากๆ
จุดที่ 3 จุดชมวิว 1,600 เมตร �ณ จุดนี้เป็นจุดที่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงประทับชมวิว ณ จุดชมวิว เมื่อทรงเสด็จพิชิตยอดเขาหลวง จ.สุโขทัย เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2537 จุดนี้จะสามารถมองเห็นทิวทัศน์ที่สวยงาม มองเห็นเขานมสาว
จุด 4 ตะเคียนคู่ 2,000 เมตร �จุดนี้เราพักกินข้าวกัน สังเกตุจะมีต้นตะเคียนใหญ่ตั้งอยู่ ลำต้นแยกออกเป็นสองแฉก อายุเป็นร้อยปี
จุดที่ 5 น้ำดิบผามะหาด 2,320 เมตร �เป็นจุดที่มีน้ำผุดขึ้นมา เป็นน้ำที่ผ่านการกรองจากธรรมชาติ มีแร่ธาตุที่เต็มไปด้วยสมุนไพร รสจะออกหวานนิดๆ และทางอทุยานฯนำเป็นประปาภูเขา ต่อท่อไปยังจุดพักต่างๆระหว่างทางขึ้นเขา จุดนี้จะเป็นจุดสุดท้ายที่มีน้ำดื่มให้ระหว่างทาง ใครมีขวดน้ำก็ใส่ขวดไว้กินกลางทางนะครับ
จุดที่ 6 ชวนเบิกภัย 2,700 เมตร �จะเป็นสถานที่เหมือนที่พักของสัตว์เยอะ มีมะม่วงต้นใหญ่มาก พวกพรานก็จะเยอะด้วย
จุดที่ 7 ไทรงาม 3,000 เมตร �จุดนี้มีต้นไทรยักษ์ใหญ่อายุเป็นพันปี จุดนี้จะพบลิงเกษมเยอะ แต่โอกาสที่จะเห็นยากนิดนึง ต้องเดินเงียบๆ อาจจะได้เห็นตามยอดไม้ สังเกตุให้ดีครับ
จุดที่ 8 ถ้ำพระนารายณ์ 3,030 เมตร �ที่เรียกถ้ำพระนารายณ์ เพราะเจอรุปปั้นพระนารายณ์ภายในถ้ำ
จุดที่ 9 ถ้ำพระ 3,040 เมตร
จุดที่ 10 ถ้ำค้างคาว 3,100 เมตร �มีถ้ำซึ่งเป็นที่อยู่ของค้างคาวจำนวนมาก เหม็นมากถ้าจะเดินเข้าไปในถ้ำคิดดีๆนะ
จุดที่ 11 ปล่องนางนาค 3,320 เมตร �จุดนี้ เป็นต้นกำเนิดของพระแม่ย่า หรือแม่ของพระร่วง ซึ่งเป็นพญานาค ขึ้นมาจากปล่องนี้ จนมาเจอกับเจ้าเมืองศรีสัชฯ จนมีลูกเกิดมาเป็นพระร่วง ตามตำนานกล่าวว่า ตัวถ้ำสามารถเชื่อมไปถึง วัดพระธาตุที่เมืองเก่าและอีกหลายๆที่ แต่ก็ไม่เคยมีใครพิสูจน์
จุดที่ 12 พระยาแล่นเรือ 3,520 เมตร �จุดนี้คล้ายเขื่อนเล็กๆ มีทำนบน้ำ ไว้ใช้สำหรับคนที่อยู่บนเขา และเป็นที่สัตว์ลงมากินน้ำอีกด้วย
จุดที่ 13 เนินหนุ่มเขาอ่อน หรือ มอตะคริว �เนินนี้เป็นเนินสุดท้ายที่เดินเข้าสู่ค่ายพักแรม แทบหมดแรง
จุดที่ 14 ค่ายพักแรม 3,720 เมตร

เวลา ๑๔.๐๐ น.- ๑๕.๐๐ น.รายงานตัวบริเวณ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวด้านบน และพักผ่อนตามอัธยาศัย
เวลา ๑๕.๐๐ น.- ๑๖.๓๐ น. นัดรวมพล เช็ดความมพร้อมของแต่ละทีม

เวลา ๑๖.๓๐ น.- ๑๘.๓๐ น. ๒.ชมพระอาทิตย์ตก ยอดเขาพระเเม่ย่าเซึ่งเป็นยอดสูงสุด

เวลา ๑๘.๓๐ น.- ๒๐.๐๐ น. พักผ่อนอาบน้ำ ทำภารกิจส่วนตัว
และรับประทานอาหารเย็นให้เรียบร้อย (เตรียมอาหารแห้ง มาม่าคัพ ขนมปังน้ำดื่ม มาทานบนเขาด้วย ลานกางเต็นท์ไม่มีอาหารขาย มีเพียงร้านค้าสวัดิการ ขายน้ำดื่มและขนม)
เวลา ๒๐.๐๐ น.- ๒๐.๓๐ น. รายงานตัวเพื่อตรวจเช็คกำลังพลและทำกิจกรรม รอบกองไฟ
เวลา ๒๐.๓๐ น.- ๐๕.๐๐ น. นอนพักผ่อนดูดาวตามอัธยาศัย

อาทิตย์ที่ ๒๒ พฤษจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๓

เวลา ๐๕.๐๐ น.- ๐๕.๓๐ น. ตื่นนอนทำภาระกิจส่วนตัว
เวลา ๐๕.๓๐ น.- ๐๗.๐๐ น. ออกเดินทางไปรอดูพระอาทิตย์ขึ้น จุดชมพระอาทิตย์ขึ้นคือยอดเขานารายณ์

เวลา ๐๗.๐๐ น.- ๐๘.๐๐ น. พักรับประทานอาหารเช้า ( เตรียมอาหารสำเร็จรูปพร้อมทานมาด้วย )

เวลา ๐๘.๐๐ น.- ๐๘.๓๐ น. เก็บเต็นท์ เก็บขยะทำความสะอาดที่พัก ให้เรียบร้อย

เวลา ๐๘.๓๐ น.- ๑๒.๐๐ น.ออกเดินทางลงจากเขาหลวงสุโขทัย
และเก็บขยะคืนความงงามให้ธรรมชาติระหว่างทาง
เวลา ๑๒.๐๐ น.- ๑๓.๓๐ น. อาบน้ำทำภารกิจส่วนตัวให้เรียบร้อย
เวลา ๑๓.๓๐ น.- ๑๔.๓๐ น. ออกเดินทางมุ่งหน้าสู่อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

เวลา ๑๔.๓๐ น.- ๑๗.๐๐ น.ปั่นจักรยานชม สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ตามอัธยาศัย และรับประทานอาหารเย็นให้เรียบร้อย
เวลา ๑๗.๐๐ น. – ๐๑.๐๐ น. ออกเดินทางกลับ กทม.อย่างปลอดภัย

(**กำหนดการ อาจมีการปรับเปลี่ยน ตามความเหมาะสม)

………………………………………………………..

[ ข้อมูลเพิ่มเติม – เกี่ยวกับผู้จัดกิจกรรม ]

เพจ อาสาสมัคร อนุรักษ์สิ่งดีงาม
https://web.facebook.com/pages/อาสาสมัคร-อนุรักษ์สิ่งดีงาม/201670193324850?ref=hl

กลุ่ม อาสาสมัคร อนุรักษ์สิ่งดีงาม
(สามารถกดเข้าร่วม เพื่อรับข้อมูลข่าวสารงานอาสาสมัครต่างๆ)
https://web.facebook.com/groups/148850101973404/

ประมวลผลภาพกิจกรรมต่างๆ ตามลิงค์นี้
http://www.youtube.com/results?search_query=อาสาสมัคร+อนุรักษ์สิ่งดีงาม

…………………………………………………………….

[ สอบถามเพิ่มเติม ]

คุณอารีย์ โพธิ์ศรี
ผู้ดูแลโครงการ และประสานงาน กิจกรรม
e-mail : arsa.aree@gmail.com
ไอีดไลน์ /โทร ๐๘๒ – ๗๗๙ – ๒๒๕๖

วิธีการสมัคร:

จำนวนอาสาสมัครที่รับ:
ค่าใช้จ่าย:
พื้นที่ปฏิบัติงาน:
ปิดรับสมัครวันที่:
อีเมล:
เบอร์ติดต่อ: