คนรุ่นใหม่กับการหล่อหลอมอุดมการณ์

ลง ไปหา อาศัยอยู่ เรียนรู้ ร่วมงาน และเริ่มสร้างสานจากสิ่งที่ประชาชนมี อนาคตที่ดี ประชาชนจะเลือกเอง….คติ ฝากฝังถึงนักพัฒนารุ่นใหม่ โดย พูลสมบัติ สถาบันชุมชนอีสาน เรียบเรียงจาก สมัชชาประชุม อพช.อีสาน ครั้งที่ 13 วันที่ 5-7 ธันวาคม 2551 ณ ศูนย์ฝึกอบรมมูลนิธิพัฒนาอีสาน อ. เมือง จ.สุรินทร์
การเรียนรู้ทางทฤษฎีมีความแตก ต่างกันอย่าง มากกับประสบการณ์จริง เหมือนกับที่โบราณว่าไว้ “สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น สิบตาเห็นไม่เท่ามือคลำ สิบมือคลำไม่เท่าลงมือทำเอง” เช่นเดียวกับ Dr.Y.C. James Yen (Yen Yang Chu) หรือ Dr. Yen อดีตเพื่อนร่วมงานปฏิวัติกับ เหมา เจ๋อ ตุง ซึ่งต่อมาทั้งสองมีความขัดแย้งด้านแนวความคิดการปฏิวัติ Dr. Yen จึงมาก่อตั้งสถาบันชื่อว่า International Institute of Rural Reconstruction (IIRR) เพื่อส่งเสริมและฟื้นฟูบูรณะชนบท ท่านได้มีหลักการทำงานขององค์กร ซึ่งผมได้คัดลอกบางส่วนจากต้นฉบับภาษาอังกฤษและผมก็ได้ใช้ความรู้ ภาษาอังกฤษ เท่าที่มีอยู่แปลได้ดังนี้

– ลงไปหาประชาชน Go to the people.
– อาศัยอยู่กับประชาชน Live among them.
– เรียนรู้จากประชาชน Learn from them.
– กำหนดอนาคตด้วยตัวเขาเอง Plan from them.
– ร่วมงานกับพวกเขา Work with them.
– เริ่มจากสิ่งที่เขารู้ Start with what they khow.
– สร้างจากสิ่งที่เขามี Build on what they have.

 

พี่เปี๊ยก” บำรุง บุญปัญญาได้กล่าวถึง แนวคิดการทำงานของอาจารย์ป๋วย อึ้งภากรณ์ ในหนังสือ “จับปลาต้องลงน้ำ” ว่า “ทฤษฎีป๋วย” คือเบ้าหลอมสำคัญของ “พี่เปี๊ยก” ที่นำพาความคิดและการปฏิบัติการทำงานนับแต่อดีตจนถึงปัจจุ บัน ซึ่งอาจารย์ป๋วยได้ให้หลักการสำคัญอยู่ 3 ประการ

1. ลงจากหอคอยงาช้าง หมายความว่า อย่าจมอยู่กับทฤษฎี ศาสตร์ทั้งหลายไม่ได้เกิดขึ้นเอง แต่ในความเป็นจริงแล้วเกิดจากการปฏิบัติ และยังเป็นการเดินทางเข้าสู่วิถีแห่งการหล่อหลอมตนเอง
2. กัดไม่ปล่อย จะทำอะไรให้ทำต่อเนื่อง จริงจัง จนเกิดความชำนาญ เกิดการเข้าใจชัดเจนในสิ่งที่ตนเองทำ
3. ทำสิ่งใดต้องมีอุดมคติในใจ จะทำอะไรก็ตามแต่ต้องมีความดีงามอยู่ในใจ ไม่เอาเปรียบ กดขี่ ขูดรีดและไม่เบียดเบียนผู้อื่น

 

การได้เรียนรู้จากประชาชน ยังเป็นการหล่อหลอมตนเอง จนเกิดอุดมการณ์ที่จะต่อสู้กับปัญหา ดั่งผู้นำทางความคิดและนักปฏิวัติคนสำคัญหลายคนที่ได้เรียนรู้ปัญหา ประชาชน จากการเดินทางลงไปหาประชาชน พระพุทธเจ้าต้องเสด็จออกจากปราสาทที่บำรุงบำเรอด้วยสิ่งปนเปรอและ มายา ที่เรียกว่าปราสาท 3 ฤดู แล้วท่านก็ได้พบเห็นปรากฏการณ์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ซึ่งท่านก็ได้เริ่มต้นแสวงหาสัจธรรมแห่งการหลุดพ้น หรือ นิพพาน และได้เทศนาสั่งสอนพุทธศาสนิกชน ให้แสวงหาการหลุดพ้นจนมาถึงปัจจุบัน

ลองมาดูอีกท่านหนึ่งซึ่งดูเหมือนท่านจะคุ้นเคยกันดีก็คือ เช กูวาร่า หรือ Che ที่คนหนุ่มสาว และนักเคลื่อนไหวภาคประชาชนหลายคน ต่างเคารพบูชา มีรูป เช ติดหน้าอก และติดย่าม ติดท้ายรถบรรทุกเต็มไปหมด อันนี้ว่ากันไม่ได้เพราะท่านเป็นที่ศรัทธาและชื่นชมของสาธารณะ เช เป็นต้นแบบของหนุ่มสาวผู้มีอุดมการณ์อันแรงกล้า ก่อนที่ เช จะเดินทางเขาร่วมปลดปล่อยประเทศแถบละตินอเมริกาจากจักร วรรดินิยม เขาได้เดินทางท่องเที่ยวไปในประเทศต่างๆ ในแถบละตินอเมริกาและได้เห็นคน ป่วย คนจน คนโดนกดขี่ และเอาเปรียบจากโครงสร้างของระบบทุนนิยมและ จักรวรรดินิยม ท่านจึงได้เข้าร่วมการปฏิวัติและต่อสู้กับจักรวรรดินิยมจนตัวตาย

คนรุ่นใหม่ในงานพัฒนา ผมอยากให้ความสำคัญต่ออาสาสมัคร นักพัฒนาที่พึ่งจะมีประสบการณ์การทำงานราว 1-5 ปี หรือเป็นผู้ยังใหม่ในการพัฒนา ในทางพระก็เรียกพระบวชใหม่ว่า “พระนวกะ” คือผู้ที่จะต้องได้รับการอบรมบ่มเพาะ และเรียนรู้จากพระอาวุโสก่อน จึงจะสามารถไปเทศนาสั่งสอนญาติโยมได้

ในองค์กรพัฒนาเอกชนก็เช่นกัน ก็จะมีกระบวนการเหล่านี้อยู่ในองค์กร ก็จะมีการเรียนรู้จากพี่ ๆ ในองค์กร หรือเรียนรู้จากผู้นำชาวบ้าน บางครั้งก็มีการสนับสนุนจากองค์กรเฉพาะ เช่น มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม(มอส.) ซึ่งมีกระบวนการสนับสนุนการเรียนรู้ของอาสาสมัคร ซึ่งมีระยะเวลา 2 ปี หรือเสมสิกขาลัยซึ่งจัดฝึกอบรมให้กับนักพัฒนาที่ สนใจ สถาบันชุมชนอีสาน จัดฝึกอบรมให้กับองค์กรขนาดเล็กในภาคอีสาน หรือเกิดการรวมกลุ่มของผู้สนใจเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น กลุ่มนิเวศวัฒนธรรม กลุ่มศึกษาและปฏิบัติการทางสังคม ช่วงระยะเวลานี้สำคัญมากเพราะเป็นช่วงก้าวเริ่มต้น บนหนทางทางการพัฒนา ให้เก็บเอาทั้งกำลังใจ ปัญหาการทำงาน ปัญหาชาวบ้าน มาหล่อหลอมตนเอง ให้มีพลังมากขึ้นกว่าเดิม

แนวคิดการหล่อหลอมอุดมการณ์ ซึ่งถูกหยิบยกและให้ความสำคัญเป็นหนึ่งในสี่ยุทธศาสตร์องค์กร พัฒนาเอกชนภาคอีสาน ที่ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ฐานชุมชน มีเป้าหมายเพื่อสร้างองค์กรชุมชนให้เข้มแข็ง ลงลึกบนฐานวัฒนธรรมเกษตร เป็นชุมชนทางเลือกที่ไม่ถูกครอบงำ และนำเสนอทางเลือกต่อสังคมได้

ยุทธศาสตร์รวมพลังสะสมชัยชนะ มีเป้าหมายเพื่อสะสมชัยชนะในพื้นที่ยุทธศาสตร์และเชื่อมโยงเป็นพ ลังร่วมในทุกเนื้อหา ประเด็น ยุทธศาสตร์พื้นที่ทางการเมือง เป้าหมายเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมทางการเมืองและสร้างพื้นที่ทาง การเมือง ของประชาชนในการพัฒนาประชาธิปไตยทางตรงที่ประชาชนเข้าถึงได้

ส่วนยุทธศาสตร์หล่อหลอมอุดม การณ์ มีเป้าหมายเพื่อหล่อหลอมและสร้างพลังทางอุดมการณ์ และพัฒนากระบวนการทำงานกับฐานชุมชน ตลอดจนขยายอุดมการณ์อย่างเป็นขบวนการ ซึ่งพวกเราได้กำหนดขึ้นมาเมื่อ 21-23 สิงหาคม 2546 ณ ศูนย์ฝึกอบรมมูลนิธิพัฒนาอีสาน และองค์กรพัฒนาเอกชนภาคอีสาน จะมีการทบทวนยุทธศาสตร์ในเวทีสมัชชา ทุก 2 ปี

มีคำถามต่อมาว่าแล้วนักพัฒนาจะลงไปทำอะไรกับชุมชน เพราะว่าจริง ๆ แล้ว การที่เรามีแค่ความศรัทธาต่อประชาชน หรือมีความรู้จากการอ่านทฤษฏีจากตำรามาแต่นั้นยังไม่พอ การลงไปหาชุมชนนั้นจะต้องทำงานร่วมคิด ร่วมแรง ร่วมกระบวนการที่ชุมชนมี ชุมชนก็คาดหวังต่อเรา เราก็ควรจะขวนขวายหาอุบายหรือเครื่องมือทำงานกับ วัฒนธรรมชุมชนที่เหมาะสม เช่น การจัดกระบวนการเรียนรู้กับชุมชนแบบมีส่วนร่วม การศึกษาประวัติศาสตร์หรือการวิจัยภูมิปํญญาท้องถิ่น การวิเคราะห์ปัญหาชุมชน การสร้างการมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทาง และการวางแผนชุมชน การติดตามและสนับสนุนการทำงาน การสรุปบทเรียน

ในสถานการณ์ปัจจุบันต้องเข้าใจ ว่าสถานการณ์ชุมชนได้ปรับเปลี่ยน และดำรงสภาพเงื่อนไขที่ไม่เหมือนเดิม เช่น วัฒนธรรม ฮีตคองในหลายชุมชนได้เสื่อมถอย ป่าไม้ น้ำ ดิน พลังงาน ได้มีการแย่งชิงกันอย่างขนาดหนัก และเกิดการทำลายเผาผลาญอย่างต่อเนื่อง ปัญหาเรื่องคอรัปชั่นเกิดขึ้นทั้งในระดับชาติ จนกระทั่งถึงระดับหมู่บ้าน ประชาชนมีหนี้สินในแต่ละครัวเรือนเป็นจำนวนเรือนแสน ปัญหาความขัดแย้งและการเมือง โจทย์เหล่านี้เป็นโจทย์ใหม่ที่เพิ่มขึ้นมาเรื่อย ๆ ตามความซับซ้อนของสังคม นอกเหนือจากปัญหาความยากจนที่นักพัฒนารุ่นพี่ที่เคยทำงานกับชาว บ้านมาก่อน ดังนั้นนักพัฒนาต้องขยันขวนขวายในการเรียนรู้ข้อมูลใหม่ ๆ ของสังคม ของระบบโลกาภิวัตน์เพื่อนำไปจัดกระบวนการเรียนรู้กับชาว บ้าน เพื่อให้ทันกับสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงของโลก.