ครูนอกบ้านรุ่นที่ 5 สวัสดีดอยเต่า
13 – 16 ตุลาคม 2566
บ้านหนองบัวคำ ต.ท่าเดื่อ อำเภอ ดอยเต่า จังหวัด เชียงใหม่

 

บ้านหนองบัวคำ เป็นหมู่บ้านดั้งเดิมที่ยังอยู่ในพื้นที่น้ำท่วม ในช่วงที่มีการสร้างเขื่อนภูมิพล ซึ่งส่วนใหญ่หมู่บ้านอื่นๆ จะถูกย้ายออกจากพื้นที่เดิม เพราะน้ำจากเขื่อนจะเอ่อท่วมชุมชนที่อยู่ริมน้ำทั้งหมด (ซึ่งเป็นที่มาของผ้าซิ่นหนีน้ำท่วมดอยเต่า) เนื่องจากหมู่บ้านตั้งอยู่เชิงเขา บ้านหนองบัวคำปัจจุบันจึงไม่ถูกน้ำท่วม หากแต่การคมนาคมสัญจรยังธุรกันดาร ถ้าไปทางรถยนต์ต้องอ้อมทะเลสาบ / แม่น้ำปิง  ไม่มีไฟฟ้าและระบบประปา.

…ที่ ๆ เวลาหมุนย้อนกลับ คงจะเป็นคำนิยามของที่นี่ได้ดี
หมู่บ้านหนองบัวคำ อ.ดอยเต่า หมู่บ้านที่ในฤดูฝน จะเปลี่ยนร่างกลางเป็นเกาะ ทำให้เรือเป็นหาทางเดียวในการเข้าหมู่บ้าน และการที่หมู่บ้านนี้ยังไม่มีไฟฟ้า ทำให้วิถีชีวิตของคนที่นี่แทบไม่เปลี่ยนแปลงไป
… การเผาถ่านยังเป็นสิ่งจำเป็น เตารีดพลังถ่านไม้ยังเป็นสิ่งที่ใช้กัน และด้วยเหตุนี้ที่นี่จึงเป็นอีกที่ ที่น่านอนมองดาว
… ภารกิจหลักของเราที่นี่ จึงกลายเป็นการติดตั้งไฟโซลาร์เซลล์ส่องสว่างให้กับชุมชน พร้อมทั้งสร้างลานเปตองให้กับพ่ออุ๋ย แม่อุ๋ยได้มีพื้นที่ออกกำลังกาย และสอนลูกหลานของคนที่นี่ ว่าพวกเขามีของดีมากแค่ไหน ในชุมชน 

  • หมู่บ้านไม่ได้อยู่บนดอย มีสัญญาณโทรศัพท์ แต่ไม่มีไฟฟ้า

วันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม 2566 (เช็คอินหัวใจอาสา)

08.00 น. รับคณะครูนอกบ้าน ถ้าท่านที่นั่งรถทัวร์มาจาก กทม. แจ้งที่หน้าที่ว่าการอำเภอดอยเต่า กรณีที่มาถึงก่อน โทรมาแจ้งทีมงานด้วยนะครับ ครูสายลม / ครูเมย์ เบอร์ 093-1406810 / 085-7208787

กิจกรรมภาคเช้า
–  ทำความรู้จักกัน เช็คอิน
–  ข้อตกลง (กฎ) ช่วงทำกิจกรรม
–  กำหนดการกิจกรรม
12.00 น. รับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน
13.30 น. เดินทางเข้าสู่พื้นที่  บ้านหนองบัวคำ ..ขึ้นรถ ลงเรือ  และเดินเข้าหมู่บ้าน
15.00 น. ถึงหมู่บ้าน พักผ่อนคลายร้อน หลังจากนั้นแยกย้ายพักตามบ้านในชุมชน โดยทีมงานจะจัดให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมนอน หลังละ 2-3 คน ทำภารกิจส่วนตัว อาบน้ำ ทำอาหาร ทานมื้อเย็น ร่วมกับครอบครัวตามอัธยาศัย

19.00 น. เจอกันที่โรงเรียน ประชุมเวทีชุมชน วันนี้เราจะได้เจอกับกรรมหมู่บ้าน พูดคุย สอบถามแลกเปลี่ยน
21.00น. สรุปกิจกรรมของวันนี้  เตรียมงานสำหรับวันถัดไป   แยกย้ายกันพักผ่อน หมู่บ้านไม่มีไฟฟ้านะ เตรียมไฟฉายมาด้วยล่ะ

วันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม 2566 (ครูอาสา..ลงแรง)

วันนี้เราจะแบ่งส่วนหนึ่งไปทำกิจกรรมกับเด็ก ๆ ในชุมชน ส่วนอีกทีมจะแยกไปทำ ติดตั้งโซลาร์เซล   คุณครูอย่าลืมทานข้าวเช้าจากบ้านมาให้เรียบร้อยนะ
08.00น. ครูอาสาพร้อมกันที่ลานหมู่บ้าน
08.30 น. แยกย้ายตาม หน้างาน คือ กลุ่มสร้าง และกลุ่มสอน
– การสอนของครูอาสาจะประยุกต์ ปรับเปลี่ยนตามพื้นที่ ซึ่งเราจะเน้นเรื่องการสร้างแรงบันดาลใจให้เด็ก การปรับเปลี่ยนบรรยากาศการเรียนการสอนที่แตกต่างไปให้เด็กสนใจ การเรียนรู้ทรัพยากรธรรมชาติ รอบๆ ตัว
12.00 น. ทานอาหารกลางวันพร้อมกันทั้งครูและเด็ก (มื้อนี้เราจะเลี้ยงอาหารกลางวันเด็กด้วยค่ะ)
13.30น. กิจกรรมต่อจากภาคเช้า
15.00น. เลิกกิจกรรม เดินเล่นชมหมู่บ้าน ไปเที่ยวทะเลสาบ กลับบ้านทำอาหาร และพักผ่อน
19.30น.  รวมตัวกันที่ลานหมู่บ้าน สรุปกิจกรรมของวันเตรียมกิจกรรมวันถัดไป

วันจันทร์ที่ 15 ตุลาคม 2566 (เรียนรู้…ทักษะชีวิต)

วันนี้…เด็ก ๆ จะอาสาเป็นครูของเราพาเยี่ยมชม สถานที่ท่องเที่ยวใกล้หมู่บ้าน และสอนให้ครูนอกบ้าน ได้เรียนรู้ทักษะการเอาตัวรอด หาผัก ปลา ตามห้วยหนอง คลองบึง แล้วมาทำอาหารเที่ยงร่วมกัน….

08.30 น. เจอกันที่ลานหมู่บ้าน นัดหมายกิจกรรม เสร็จแล้วออกเดินทางกันเลย จากหมู่บ้าน เราจะผ่านลานทุ่งหญ้ากว้าง ซึ่งเคยมีน้ำทะเลสาบ พอน้ำลดก็กลายเป็นทุ่งหญ้าให้วัวควายชาวบ้านมากินบุพเฟ่ต์กินอย่างสบายใจ จุดท่องเที่ยวที่สำคัญเช่น พระธาตุจอมสวรรค์ ดอยเรือ บ่อน้ำพันปี เป็นต้น

16.00 น. เดินทางกลับหมู่บ้าน ทำภาระกิจส่วนตัว
19.00 น. ค่ำคืนนี้ครูนอกบ้านเตรียมการแสดงชุดใหญ่ให้ชุมชนดู นอกจากนี้ชาวบ้านจะทำพิธีผูกข้อมือ อวยพรขอบคุณที่มาเยี่ยมชุมชน

22.00 น. สรุปกิจกรรม แยกย้ายกันพักผ่อน

วันอังคาร ที่ 16 ตุลาคม 2563  (สวัสดีดอยเต่า)

วันนี้วันสุดท้ายของการอยู่อาศัยและทำกิจกรรมร่วมกับชุมชน ขอบคุณชาวบ้าน โฮสที่คอยดูแลพวกเราตลอดระยะเวลาที่พักอาศัยอยู่
09.00 น. เราออกเดินทางจากหมู่บ้านไปที่จุดเริ่มต้นในการเดินทาง หลังจากนั้น เราจะเดินทางไปที่ศูนย์การเรียนผ้าทอกะเหรี่ยง บ้านหล่ายแล้ว เพื่อศึกษาและเรียนรู้ ภูมิปัญญาผ้าทอกะเหรี่ยง ซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็นหมู่บ้านที่ได้รับการยกย่องในด้านการอนุรักษ์ภูมิปัญญานี้ไว้

12.00 น. ทานมื้อเที่ยงร่วมกัน
13.00 น. ส่งครูนอกบ้านขึ้นรถ เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ

หมายเหตุ:
1. กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม
2. การเดินทางผู้เข้าร่วมเดินทางมาเอง โดยจุดนัดหมาย รับที่ หน้าที่ว่าการอำเภอดอยเต่า (จุดจอด หน้า 7 -11 ที่ว่าการอำเภอ)
3. ขากลับครูอาสาสามารถนั่งรถโดยสารประจำทาง กลับเข้าเชียงใหม่ได้ ใช้เวลาประมาณ​ 2.30 ชั่วโมง

เนื่องจากที่นี่ไม่มีไฟฟ้า ชุมชนต้องการไฟส่องสว่างโซลาร์เซล ไฟถนน ผู้ประสงค์บริจาค สามารถสั่งสินค้าออนไลน์จัดส่งมาที่ศูนย์การเรียนไร่ส้มวิทยาล่วงหน้าได้ โดยตัวอย่างไฟที่เราต้องการ เช่น. https://c.lazada.co.th/t/c.Y0KwjW

 

กฎการวางตัว / ข้อห้าม /คำเตือน
– ห้ามให้เบอร์โทรศัพท์แก่นักเรียนเป็นเด็ดขาด
– ห้ามพูดคำหยาบ
– คนที่มาเป็นคู่รบกวนเรื่องการวางตัวที่เหมาะสม ไม่ประพฤติตัวที่เกินเลยจนดูน่าเกลียดเพราะเราเข้าพื้นที่ในฐานะ ครู
– ของมีค่าควรเก็บไว้กับตัวเองตลอดเวลา
– การใช้เครื่องมือสื่อสาร รบกวนให้ทางคณะครูอาสาใช้เครื่องมือสื่อสารหลังเสร็จกิจกรรม
– ห้ามให้เงินแก่เด็กเป็นเด็ดขาดไม่ว่ากรณีใด
– งดเว้นการดื่มสุรา
– ห้ามออกนอกพื้นที่ (นอกหมู่บ้าน)โดยเด็ดขาด โดยมิได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่ประจำโครงการทราบ

 

วิธีการสมัคร:

จำนวนอาสาสมัครที่รับ:
ค่าใช้จ่าย:
พื้นที่ปฏิบัติงาน:
ปิดรับสมัครวันที่:
อีเมล:
เบอร์ติดต่อ: