…ปู่ทา ต้องมาสักครั้ง.. เป็นคำนิยามถึงพื้นที่แห่งนี้ได้เป็นอย่างดี ของชาวครูอาสา ขาลุย
…เพราะจะมีสักกี่ที่ ที่การเดินทาง จะต้องต่อรถ ลงเรือ เดินดอย กว่าจะไปถึง ลำพังคนอย่างเดียวยังไปไม่ง่าย เรื่องไฟฟ้า หรือสัญญาณโทรศัพท์ คงไม่ต้องพูดถึง
ความห่างไกล ทำให้วิถีคนที่นี่แทบจะไม่เปลี่ยนไป
…เมื่อการเดินทางยังเป็นไปได้ยาก การเข้าถึงการศึกษา และสาธารณูปโภคนั้นยิ่งลำบากมากกว่า
…กิจกรรมของเราครั้งนี้ นอกจากการสร้างรอยยิ้ม และแรงบัลดาลใจให้กับเด็ก ๆ ที่นี่แล้ว เราชวนสร้างแสงสว่างให้ชุมชนด้วยโซล่าห์เซลล์กันอีกทาง

กำหนดการครูนอกบ้าน บ้านปู่ทา แม่ฮ่องสอน
วันที่ 9 – 12 ธันวาคม 2566
ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนชาวไทยภูเขาแม่ฟ้าหลวงบ้านปู่ทา
ต.แม่สามแลบ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน

….

วันเสาร์ ที่ 9 ธันวาคม 2566
7.30 – 08.45 น. ทีมงาน ครูนอกบ้าน มูลนิธิกระจกเงา ไปรอรับที่ ท่ารถอำเภอแม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน หรือสามารถติดต่อได้ที่ ครูต้นซุง เบอร์ 096-8083004 หรือครูเมย์ เบอร์ 085-7208787
หมายเหตุ เนื่องจากหมู่บ้านค่อนข้างไกล หากมาไม่ทันตามที่แจ้ง จะไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ สามารถมาพักที่ตัวอำเภอแม่สะเรียงได้ในกรณีที่เดินทางมาก่อนครับ
08.45 – 10.00 น. เราจะเดินทางโดยรถสองแถวเพื่อไปที่ (ศูนย์พัฒนาเครือข่ายลุ่มน้ำสาละวิน บ้านแม่สามแลบ สถานที่ปฐมนิเทศ) แยกย้ายทำธุระส่วนตัว ปฐมนิเทศ / กิจกรรมเช็คอิน ล้อมวงพูดคุยเกี่ยวกับกิจกรรม และจัดกลุ่มเข้าพักในบ้านของเด็กๆ หลังละ 3 คน รวมทั้งจัดกลุ่มทำกิจกรรมรอบกองไฟ(การแสดงแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม) ตอนกลางคืนในค่ำคืนสุดท้าย หลังชี้แจงกิจกรรมต่างๆ เป็นที่เรียบร้อย เราจะรับประทานอาหารเที่ยงพร้อมกันที่ ศูนย์พัฒนาเครือข่ายลุ่มน้ำสาละวิน
13.00 น. ออกเดินทางจาก “ศูนย์พัฒนาเครือข่ายลุ่มน้ำสาละวิน” ไปขึ้นเรือที่ ท่าเรือบ้านแม่สามแลบใช้เวลาในการล่องเรือในแม่น้ำสาละวิน ประมาณ 1ชั่วโมง
14.00 น.เดินทางถึงท่าเรือ บ้านปู่ทา ครูนอกบ้านต้องเดินเท้าเข้าหมู่บ้านด้วยระยะทางประมาณ4กิโลเมตร สัมภาระทุกอย่างที่นำติดตัวมา ต้องแบกเอง
16.00 น. เดินเท้าถึงศูนย์การเรียนรู้ชุมชนชาวไทยภูเขาแม่ฟ้าหลวงปู่ทา ระยะทาง ขึ้นเขา 4 กม. ถึงโรงเรียนแล้ว แบ่งเข้าบ้าน แยกแยกเข้าบ้านพัก กลับบ้านพร้อมเด็ก โดยเด็กจะเลือกครูเข้าบ้านและจะได้พบกับ แม่ พ่อ ของเด็กๆ บ้านที่คุณครูเข้าพัก 1 หลัง สำหรับคุณครู 3 ท่าน  คุณครูทำความรู้จักสมาชิกในครอบครัวที่เข้าพัก จากนั้นเริ่มลงมือลุยทำอาหารเย็น อาหารมื้อแรกของคุณครูได้เลยครับ
สำหรับในคืนแรกตอนค่ำหลังจากที่ทานข้าวเย็นแล้ว จะมีกิจกรรมสันทนาการ จากนั้นจะเป็นเวทีการแนะนำประวัติหมู่บ้าน ถาม – ตอบ ข้อซักถามโดยผู้นำหมู่บ้านประวัติของโรงเรียนและการศึกษาของเด็กๆชายขอบประเทศไทย และสรุปงานเตรียมกิจกรรมสำหรับวันพรุ่งนี้ สำหรับการสรุปงานนั้น เราจะมีการสรุปงานครูนอกบ้านกันทุกคืน

วันอาทิตย์ ที่ 10 ธันวาคม 2566
8.00 น. ครูและเด็ก ๆ พร้อมกันที่โรงเรียนกิจกรรมหน้าเสาธงในแบบฉบับของเด็กๆชายขอบประเทศไทย ทำกิจกรรมละลายพฤติกรรมกับเด็กๆร่วมกันกับครูนอกบ้าน
09.00 น. แยกย้ายตามภารกิจ วันนี้เราจะมีหน้างานอยู่  2 งาน คือ
1.กิจกรรมลงแรง(เกษตรเพื่ออาหารกลางวัน)   ปรับปรุงบ่อเลี้ยงปลา เพื่ออาหารกลางวัน
2.กิจกรรมการเรียนการสอน
-แยกสอนตามกลุ่มช่วงอายุของเด็กๆ โดยเน้นการสอนแบบบูรณาการไม่เน้นวิชาการมากจนเกินไปเพราะปกติเด็กๆต้องเน้นวิชาการอยู่แล้ว แต่ครั้งนี้โอกาสพิเศษจึงอยากให้คณะครูงัดเกมส์ออกมาสู่กับเด็กได้ตลอดทั้งวันเลยครับ
3.กิจกรรมสุขอนามัย
-สอนเด็กและพาเด็กสระผม อาบน้ำ แปรงฟัน อย่างถูกวิธี
12.00 น. ทานอาหารกลางวันพร้อมกันทั้งครูและเด็กๆ
13.00 น. ทำภารกิจต่อจากช่วงเช้า
16.00 น. แดดร่มลมตก เด็กๆจะพาครูนอกบ้านเดินเที่ยวชมชุนชน โดยที่พวกเขาจะเป็นครูให้กับเรา
เรียนรู้วิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่ายของชาวปกาเกอะญอ เก็บผัก ให้อาหารสัตว์ ตำข้าวตามวิถีดั้งเดิม
17.30 น. แยกย้ายทำภารกิจส่วนตัวและประกอบอาหาร
19.00 น. กิจกรรมสานสัมพันธ์ครูนอกบ้าน วางแผนกิจกรรมวันเด็กย้อนหลังในวันรุ่งขึ้น
21.30 น. แยกย้ายพักผ่อน

วันจันทร์ ที่ 11 ธันวาคม 2566
07.00 น.รับประทานอาหารเช้า กับบ้านที่พักให้เรียบร้อย
08.30 น. คณะครูนอกบ้านพร้อมกันที่โรงเรียน
-เปิดซุ้มกิจกรรม4ซุ้มให้เด็กๆได้เวียนกันเข้าทำกิจกรรม
12.00 น. รับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน
13.00 น. กีฬาสีสานสัมพันธ์ ครูนอกบ้าน เด็กๆ และชาวบ้าน
15.00 น. เสร็จภารกิจครูนอกบ้านแยกกลุ่มซ้อมการแสดง เนื่องจากค่ำคืนนี้ ทางชุมชนและโรงเรียนมีการแสดงมาแลกเปลี่ยนกับพวกเรา ครูนอกบ้านจะมีการแสดงทั้งหมด 4 ชุด สามารถคิดเผื่อและเตรียมพร็อพให้พร้อมเด็กๆจะได้เห็นความอลังการของครูนอกบ้าน
16.00 น. แยกย้ายกลับบ้านพัก เพื่อทำอาหารเย็นรับประทานร่วมกัน
18.00 น. ครูนอกบ้านพร้อมกันที่โรงเรียนโดยที่คณะครูทุกคนต้องแต่งกายในแบบฉบับพี่น้องปกาเกอะญอ เพื่อร่วมพิธีมัดข้อไม้ข้อมือ เรียกขวัญและกำลังใจ
19.30 น. กิจกรรมสันทนาการรอบกองไฟ ในคืนสุดท้ายชาวบ้านร่วมกันทำพิธีผูกข้อมือบายศรีอวยพร คณะครูแต่ละกลุ่มต้องนำเอาการแสดงที่เตรียมไว้มาโชว์ให้ชาวบ้านได้ดู
22.00 น.สรุปกิจกรรม แลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ผ่านมา
23.00 น. แยกย้ายพักผ่อนในคืนอันหนาวเหน็บ

วันอังคาร ที่ 12 ธันวาคม 2566
8.00 น. คณะครูนอกบ้าน พร้อมกันที่ลานหมู่บ้านเพื่อทำการร่ำลา ตัวแทนครูอาสากล่าวขอบคุณชาวบ้าน
09:00 น. เดินทางออกจากหมู่บ้านเพื่อไปลงเรือที่ท่าเรือบ้านปู่ทา
10.00 น. ถึงท่าเรือบ้านแม่สามแลบ พักรับประทานอาหารที่ ศูนย์พัฒนาเครือข่ายลุมน้ำสาละวิน
13:00 น. เดินทางสู่อำเภอแม่สะเรียง
16:00 น. ส่งคณะครูนอกบ้านทุกท่าน ที่ท่ารถ อ.แม่สะเรียง เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ

การจองรถ… ขากลับ กทม. จองรอบตั้งแต่ 16:30 น. เป็นต้นไป  สำหรับท่านที่วางแผนจะกลับเชียงใหม่ ให้จองรถขากลับไว้ล่วงหน้า ไม่อย่างนั้นจะไม่รถเข้าเมือง

การเดินทาง

ผู้เข้าร่วมเดินทางมาเอง โดยนัดเจอทีมงานที่ อ.แม่สะเรียง
โดยรถทัวร์ กรุงเทพ – แม่สะเรียง (แม่ฮ่องสอน)

กิจกรรมครั้งนี้เราประสงค์เข้าไปช่วยติดตั้งไฟถนนส่องสว่างโซลาร์เซล โดยเพื่อนๆ สามารถร่วมบริจาค สั่งสินค้าออนไลน์ และจัดส่งมาที่ศูนย์การเรียนไร่ส้มวิทยาได้  ตัวอย่างไฟที่ต้องการ เช่น. https://c.lazada.co.th/t/c.Y0KDNT

 

กฎการวางตัว / ข้อห้าม /คำเตือน
– ห้ามให้เบอร์โทรศัพท์แก่นักเรียนเป็นเด็ดขาด
– ห้ามพูดคำหยาบ
– คนที่มาเป็นคู่รบกวนเรื่องการวางตัวที่เหมาะสม ไม่ประพฤติตัวที่เกินเลยจนดูน่าเกลียดเพราะเราเข้าพื้นที่ในฐานะ ครู
– ของมีค่าควรเก็บไว้กับตัวเองตลอดเวลา
– การใช้เครื่องมือสื่อสาร รบกวนให้ทางคณะครูอาสาใช้เครื่องมือสื่อสารหลังเสร็จกิจกรรม
– ห้ามให้เงินแก่เด็กเป็นเด็ดขาดไม่ว่ากรณีใด
– งดเว้นการดื่มสุรา
– ห้ามออกนอกพื้นที่ (นอกหมู่บ้าน)โดยเด็ดขาด โดยมิได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่ประจำโครงการทราบ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
ครูเมย์     may@raisom.ac.th                หรือโทร 085-7208787

พี่ต้นซุง   contact@doitao.info            หรือโทร 096-8083004

 

วิธีการสมัคร:

จำนวนอาสาสมัครที่รับ:
ค่าใช้จ่าย:
พื้นที่ปฏิบัติงาน:
ปิดรับสมัครวันที่:
อีเมล:
เบอร์ติดต่อ: