จิตอาสาคือการปฏิบัติธรรม
อาจารย์ เตือนใจ ดีเทศน์

เรื่องจิตอาสาเป็นการปฎิบัติธรรม เป็นการทำหน้าที่เพื่อประโยชน์ของมวลมนุษย์ พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนภิกษุไว้ว่า
เธอจงจาริกไปเพื่อประโยชน์ของมวลมนุษย์และสรรพสัตว์ นี่ก็คือ ความเมตตา และความกรุณา คือการแบ่งปันลดละตัวตน ลดละความอยากได้ อยากมี อยากเป็น เป็นการให้ เป็นการแบ่งปัน จึงทำจิตของเรามีความบริสุทธิ์และงดงาม และมีความสุขมากกว่าการเป็นผู้รับ แต่ไม่ได้หมายความว่าผู้รับเป็นผู้ที่ต่ำต้อยกว่า แต่เป็นผู้ที่เสมอภาพกัน เราเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับ ได้รับความรัก ความเมตตา ความเคารพ ศรัทธา และเราก็ให้ความเมตตากรุณา  ก็ถือว่าเป็นการเชื่อมโยงการทำหน้าที่ด้วยการปฎิบัติธรรม ด้วยจิตใจอาสา หมายถึงทำโดยไม่หวังสิ่งใด ตอบแทน ไม่ว่าจะเป็นลาภยศสรรเสริญใดๆ
นี่คือจิตอาสาในแบบของ “อาจารย์เตือนใจ ดีเทศน์” และต้นแแบบแรงบันดาลใจของอาจารย์คือหลักของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และอาจารย์ อ.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ สมัยตอนเรียนมหาวิทยาลัยเคยเป็นบัณฑิตอาสาสมัคร ของ หาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  เป็นเวลา 3 ปี ซึ่งปกติเขาจะเป็นกันปีเดียว คือลงพื้นที่ 8 เดือน และทำงานสาระวิทยานิพนธ์อีก 4 เดือน
การเป็นอาสาสมัครทำให้เรามีชีวิตอยู่กับปัจจุบัน เราไม่ต้องกังวลว่าจบจากบัญฑิตอาสาแล้วเราจะไปทำอะไร แต่เรามีชีวิตอยู่กับ ปัจจุบัน ทำหน้าที่ ณ ปัจจุบันให้ดีที่สุด เพื่อพัฒนาตัวเอง เช่นทำหน้าที่เป็นครู เป็นครูสอนหนังสือเด็กตอนกลางวัน ครูสอนนักศึกษาผู้ใหญ่ตอน กลางคืน เราก็ต้องไปศึกษาด้านจิตวิทยาเกี่ยวกับเด็กว่าเด็กเขาชอบอะไร ครูที่ดีที่จะทำให้เด็กได้เรียนรู้สูงสุดและการแบ่งปันความรู้ให้กับเด็ก ก็อยู่กับปัจจุบัน คือทำหน้าที่ณ ปัจจุบันให้ดีที่สุด และป็นช่วงที่เห็นว่าการที่ไปชนบท ได้ทำประโยชน์มากกว่าอยู่กรุงเทพ ถ้าอยู่ในกรุงเทพเรา ก็อาจจะไปเป็นพนักงานบริษัทเพื่อรับเงินเดือนไปแต่ละเดือน แต่ในตอนนั้นคิดว่าถ้าไปอยู่ชนบท จะเป็นที่ไปเรียนรู้ศักยภาพของชนบท ของ ชนชาติพันธุ์ต่างๆ ว่าเขามีเอกลักษณ์ยังไง ที่เป็นภูมิปัญญาของเค้า ในเรื่องของอาหารในเรื่องของความเชื่อ ในเรื่องของการเคารพธรรมชาติ ในเรื่องของโครงสร้างสังคมและวัตณธรรม อันนี้ก็เป็นจิตใจอาสาสมัครที่เราไม่ได้ทำเพื่อประโยชน์ส่วนตน ไม่ว่าใครจะมารู้มาเห็นหรือไม่ ใครจะมายกย่องสรรเสริญหรือไม่ ก็ไม่ได้สนใจ แต่รู้ว่าเราทำแล้วมีความสุข แล้วผู้อื่นได้รับประโยชน์ เราไม่ได้เป็นผู้ให้แต่เป็นผู้เรียนรู้ ร่วมกัน เป็นทั้งผู้รับผู้ให้ เป็นความสุขและเป็นการเรียนรู้การพัฒนาจิตใจ
ปัจจุบันคิดว่าการรณรงค์เรื่องจิตอาสาในเมืองไทยเรายังมีน้อยจนเกินไป ทำให้คนที่มีจิตอาสาคนที่เขาอยากจะอาสาทำประโยชน์ เค้าไม่รู้ช่องทาง การมีเครือข่ายฯนี่เป็นสิ่งที่ดีแล้ว แต่น่าจะมีการประสานกันกับพื้นที่อื่นบ้าง เช่นเด็กในมหาวิทยาลัย หรือในสถาบันการศึกษา ต่างๆ ยังไม่รู้ว่าตนเองจะทำประโยชน์อะไรให้กับสังคมได้บ้าง เพราะในสมัยที่พี่เรียนมีชมรมต่างๆในมหาวิทยาลัยและโรงเรียนเยอะมากๆ  ตั้งแต่สมัยมัธยมปลายแล้ว จะมีงานสังคมวิทัศน์ งานวิทยาศาสตร์สัมพันธ์ ต่างๆเหล่านี้เพื่อให้โรงเรียนในกลุ่มพื้นที่มารวมตัวกันทำกิจกรรมทั้ง ด้านวิชาการและด้านสังคม แต่ชมรมเหล่านี้มันหายไป เราควรจะสร้างขึ้นมาใหม่ เพื่อให้เยาวชนได้รู้ว่าเค้าควรจะใช้ศักยภาพของคนรุ่นใหม่ ความเป็นคนรุ่นเยาว์ของเขาเพื่อประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์ เช่นแค่ให้รอยยิ้มกับเพื่อนๆด้วยกัน ยิ้มให้พ่อ ยิ้มให้แม่ หรือช่วยจูงคนที่ข้ามถนนไม่เป็นให้ข้ามถนน ก็เป็นประโยชน์แล้ว สิ่งใดเล็กๆน้อยๆที่เราควรจะกระทำเพื่อประโยชน์ต่อสังคม ไม่อย่างนั้นเราจะมุ่งไปสู่ความเป็นบริโภค นิยมเป็นผู้เสพ เป็นผู้บริโภค ดังนั้นเราต้องให้คำว่าจิตอาสาเป็นสำนึกของคนรุ่นใหม่ ตั้งแต่อนุบาล หรือ ประถมวัยขึ้นมาเลย
เมื่อไม่นานมานี้ได้ทราบว่าที่สิงคโปร์ เขาเปลี่ยนหลักสูตร ว่าตั้งแต่อนุบาลขึ้นมาเลยว่า ในเทอมนึงๆให้เด็กทำโครงการร่วมกัน ว่าจะทำอะไรให้สังคม ซึ่งหลักสูตรไทยควรจะเปลี่ยนได้แล้ว หรืออย่างในเกาหลีเหนือ เขาจะให้เด็กปิดเทอมตามฤดูเกี่ยวข้าว ฤดูดำนา  แทนที่เกษตรกรจะต้องไปจ้างคนงานมาเกี่ยวข้าว ก็ให้เด็กมาช่วยแทน  เด็กจากโรงเรียนต่างๆก็ได้ไปช่วยชาวนาดำนา และได้รู้คุณของ พระแม่โพสพ และได้รู้กระบวนการว่ากว่าจะได้ข้าวออกมาแต่ละเม็ดนั้นทำอย่างไร
เราควรจะเสนอให้เป็นนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการด้วย เพราะฉะนั้นเด็กตอนปิดเทอมก็ไม่รู้จะทำอะไรเพราะเป็นฤดูแล้ง  ยังไม่ใช่ช่วงที่เกษตรกรทำงานในไร่นา  ปิดเทอมอีกก็เป็นเดือนตุลา ซึ่งก็ไม่ตรงกับฤดูกาลเกี่ยวข้าวอีก จึงทำให้ลูกหลานเกษตรกรไม่ได้ กลับบ้านไปช่วยพ่อแม่ อันนี้เราต้องรู้ว่ารากเหง้า ของสังคมไทยเป็นสังคมเกษตร แต่เราวิ่งกระโดดไปเป็นประเทศอุตสาหกรรม และพอ เศรษกิฐโลก เกิดวิกฤตขึ้นมาเราก็เลยได้รับผลกระทบไปด้วย
ตอนนี้มันยังไม่สายเกินไปที่เราจะทำให้จิตใจอาสามันเกิดขึ้นในทุกวิชาชีพ  ให้เด็กตั้งแต่อนุบาลขึ้นมาได้รู้ว่าเค้าจะทำประโยชน์ อะไร ให้กับตัวเอง ให้กับครอบครัวให้กับสังคมได้ อย่างเช่นที่บ้านก็แค่เริ่มว่าลูกไม่เป็นภาระต่อพ่อแม่ ตื่นขึ้นมาก็รู้จักเก็บที่นอน พับผ้าห่ม คลุมเตียงให้เรียบร้อย หรือช่วยพ่อแม่เก็บข้าวของให้เป็นระเบียบ อันนี้ก็เป็นประโยชน์ของครอบครัวได้ ดังนั้นจิตอาสานี่ ต้องเริ่มจากตัวเอง ครอบครัว และออกมาสู่สังคมโดยเฉพาะหลักสูตรของนักเรียนทุกระดับจนถึงชั้นมหาวิทยาลัย ต้องมีกิจกรรมที่บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม ในด้านใดด้านหนึ่ง

สัมภาษณ์โดย วินย์ เมฆไตรภพ
เรียบเรียงโดย ศิริวิภา ศโรภาส