บทสัมภาษณ์ อาจารย์ ดร.ทวิดา กมลเวชช

เริ่มต้นเข้ามาทำงานอาสาสมัครได้อย่างไร ลักษณะองค์กรที่ร่วมทำงานเป็นอย่างไร มีมุมมอง ทัศนคติต่องานอาสาสมัครของไทยในปัจจุบัน

อาจารย์มี 2 เฟสที่เข้าไปทำงานร่วมกับเขา คือครั้งแรกเลย เมื่อตอนเรียนปริญญาโท ประมาณปี 2538 – 2540 พอดีว่าสนใจการทำงานของ กทม. ในเรื่องที่เกี่ยวกับน้ำท่วม ตอนนั้นนานมาแล้ว ทีนี้ก็เลือกที่จะไปศึกษาการทำงานของสำนักงานเขตใน กทม. ก็เลยได้ทราบว่าสำนักงานเขตเขามีหน่วยงานอาสาสมัครอันหนึ่งชื่อ อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนที่ดูแลเกี่ยวกับความปลอดภัยในชุมชน ในพื้นที่ ซึ่ง ณ ตอนนั้นก็แค่ดูว่าเขามีส่วนช่วยอะไร เพราะว่าตอนนั้นกำลังวิทยานิพนธ์ด้วย ก็เลยลองเข้าไปดูว่าเนื้องานของเขาเขาทำอะไรบ้างและเขาเป็นใครมาจากไหน ก็ได้ไปออก field กับเขาบ้างเวลาเขาออกไปช่วย สมมติว่ามีการจราจรที่ติดขัดตอนน้ำท่วม ในซอยเล็กๆ เขาก็จะเอาตำรวจเทศกิจไปทำ ก็จะมี อปพร. ออกไปช่วย แล้วก็มี ตีรังต่อรังแตน งูเหลือมเข้าบ้าน เขาก็จะมาช่วย ก็เลยไปดูว่าเขาทำอะไร เพราะอยากจะรู้ว่าเขาทำอะไร อันนั้นคือจุดเริ่มต้น ส่วนหนึ่งแล้วก็พักไว้ ช่วงนั้นทำแค่นั้น แค่อยากรู้ว่าเขาทำอะไร มีบทบาทอย่างไรใน paper ที่เราเขียนเกี่ยวกับบริหารรัฐกิจ ตอนนั้นคือจุดเริ่มต้นเลยที่สนใจงานอาสาสมัคร
มาในช่วงตั้งแต่สึนามิเป็นต้นมา อาจารย์ก็กลับเข้ามาสู่เรื่องนี้อีกครั้ง เหตุผลเพราะว่าตอนอยู่ที่ USA พอดีเรียนปริญญาเอกทางด้านภัยพิบัติ แล้ว USA หน่วยงานโดยส่วนใหญ่เป็นอาสาสมัคร รวมถึงหน่วยงานระหว่างประเทศที่อาจารย์ทำงานอยู่ด้วย ก็จะมีหน่วยงานอาสาสมัครเข้ามาเกี่ยวข้องก็เลยสนใจบทบาทของอาสาสมัครเป็นการ เฉพาะ พอเกิดสึนามิขึ้นปุ๊บ ตัวเองทำ research ทางด้านสึนามิพอดี แล้วก็มีงานแบ่งเป็น 2 ภาค ภาคแรกคือศึกษาว่าอาสาสมัครทำอะไรในระเบียบการปฏิบัติสึนามิของประเทศเราว่า ที่เกิดสึนามิ 6 จังหวัด อปพร. เองมีบทบาทอะไร หรือมีอาสาสมัครหมู่บ้านด้วยหรือเปล่า คือมันอาจจะมีอาสาสมัครประเภทอื่นที่เราไม่รู้มาร่วมกับ อปพร. ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของหน่วยงานของจังหวัด แล้วก็ศึกษาควบคู่ไปกับ อปพร. ใน กทม. ว่าจะต่างกันไหม คือเป็นการศึกษาในแง่ของการเป็น outsider มากกว่าในลักษณะนั้น ช่วงแรกๆ นะคะในการเกิดสึนามิ
ที่เลือกอาสาสมัครด้านภัยพิบัติเพราะตัวเองสนใจด้านนี้ ก็เลยเป็นการศึกษาไปดูว่าเขาทำงานอย่างไร เขามี co กันไหม มีการประสานงานกันไหม และเขาขาดเหลืออะไร เขาเป็นอย่างไรบ้าง แต่พอทำอย่างนั้น และด้วยความที่ประเทศไทยหลังจากเกิดสึนามิ ประเทศไทยก็ alert มากเลยทุกอย่างที่เกิดเป็นภัยพิบัติหมดเลย และเราก็เป็นคนที่อยู่ในสายสังคมศาสตร์ซึ่งเรายอมรับวิทยาศาสตร์มากพอสมควร เพราะฉะนั้นก็เลยมีโอกาสเข้าไปช่วยหน่วยงานต่างๆ ทำงานและรวมไปถึงสอนหนังสือให้กับโรงเรียน หมู่บ้าน ประชาชน 6 จังหวัดภาคใต้เกี่ยวกับเรื่องสึนามิ มันก็เลยกลายเป็นว่าจากคนที่ศึกษาบทบาทของอาสาสมัครกลายเป็นคนที่ต้องกลับไป ทำงานกับอาสาสมัครเหล่านี้ แต่มันจะเพิ่มหน่วยขึ้น
main หลักที่อาจารย์สนใจคือ อปพร. ตอนที่อาจารย์เข้าไปก็ได้รู้ว่าเป็นชาวบ้าน เพราะตาม พรบ. ให้ประมาณ 2% ของประชาชนในเขต ทั่วประเทศก็พยายามจะให้เป็น อปพร. แต่ว่า ณ ปัจจุบันนี้ได้แค่ 1% เอง เพราะไม่ค่อยมีคนทำ ซึ่งมันก็มีปัญหา
อาสาสมัครกลุ่มที่สองที่อาจารย์เคยไปอบรมด้วยและก็เห็นว่าเขาทำงานอย่างไร คือ สภากาชาด พลโท อำนาจ บาลี ถ้าจำไม่ผิดแกเป็นหัวหน้าศูนย์บรรเทาภัยของสภากาชาดที่เคยไปทำ และมีหน่วยงานอาสาสมัครของต่างชาติที่เป็น international Ngo ที่มาช่วยให้ความรู้มาช่วยฟื้นฟูคนที่ประสบภัยจากสึนามิเมื่อครั้งที่เกิดสึ นามิขึ้น เพราะฉะนั้นอาจารย์ก็จะทำงานกับคนกลุ่มนี้อันเนื่องมาจากเหตุผลพวกนี้
ถ้าถามว่าเห็นปัญหาอะไร ที่เห็น ถ้าเอา อปพร. ก่อนนะ ยังไม่เอาอาสาสมัครอื่นที่สถานะดูจะดี อย่างอาสาสมัครของสภากาชาดสถานะดูดีด้วยตัวมันเอง คือการจัดตั้งของเขาดี บทบาทเขาชัดเจน เพราะฉะนั้นมันมีระดับหนึ่ง image มันมีระดับหนึ่ง เพราะฉะนั้นมันดี ในขณะเดียวกันอาสาสมัครที่เป็น international Ngo ก็รู้กันอยู่แล้วว่าอาสาสมัครที่มีสถานะเป็นหน่วยงานระหว่างประเทศมันก็ สถานะดี แต่เราก็จะมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องการประสานงาน แต่ อปพร. บ้านเรา อาสาสมัครพื้นๆ ของบ้านเราอย่างหนึ่งเลยที่เห็นมีปัญหาคือ มันเป็นปัญหาจากข้อดี คือเขาเป็นคนในพื้นที่ เขารู้จักพื้นที่ดีที่สุดเวลาทำงานอะไร และคนในพื้นที่ค่อนข้างเชื่อเขา คนไทยน่ะ ถ้าให้อาจารย์ลงไปบอกเขาว่าให้ทำอะไร กับให้อาสาสมัครลงไปบอก มันคนละ feel แต่ว่าทั้งนี้ทั้งนั้นเนื่องจากต้องอาศัยเขาเยอะก็ต้องไปขึ้นกับความเชี่ยว ชาญของเขา ซึ่งเขามีแค่ระดับหนึ่งเท่านั้น และเราที่ผ่านมาเราไม่เคย train คนพวกนี้ เราไม่เคยให้ความรู้ที่จริงๆ จังๆ ที่เป็น solid เลย เรา train แบบเอาผ่านๆ เช่น ตีรังต่อ รังแตน เสาไฟหลุดก็ขึ้นปีนไปช่วยหน่อย ซึ่งก็ไม่ได้เยอะหรอก เพราะการไฟฟ้าเขาก็ทำเอง หรือหมาจรจัด หรืองูเหลือม ซึ่งจริงๆ แล้วเขาอยู่ในพื้นที่ อย่างน้อยที่สุดถ้าไฟไหม้ เขาถึงก่อนแน่ๆ ถึงก่อนหน่วยงานรัฐทุกหน่วยงาน คือเราในสายภัยพิบัติเรามักจะเชื่อว่าชาวบ้านเป็นคนที่เจอภัยก่อนคนแรกไม่ ใช่เจ้าหน้าที่ ต่อให้เป็นเมืองนอกที่ประกันว่า 8 นาที 10 นาทีถึงตัว 8 นาทีถ้าคุณไม่รอดก็ไม่ได้ช่วยชีวิตคุณนะ กู้ศพคุณ เพราะฉะนั้นเรามี acquire ให้ community แข็งแรงด้วยการให้ประชาชนเรียนรู้ แต่เนื่องจากเรามีอาสาสมัครอยู่ในท้องที่ที่เขาไปถึงได้เร็วมาก รู้ทางลัด มันน่าจะ train เขาให้อย่างน้อยมีศักยภาพ มีความสามารถในการที่จะให้ความช่วยเหลือได้ ซึ่งพวกเราทำอย่างนี้ปุ๊บ สิ่งที่ตามมาเลยคือความเชื่อมั่นในคนเป็นอาสาสมัครจะสูงขึ้นทันที และถ้าเป็นอย่างนี้ความเคารพ นับหน้าถือตา image จะมา ซึ่งอาสาสมัครให้เงินเดือนไม่ได้ ด้วย concept ของคำว่าอาสาสมัคร สิ่งที่เขาได้ คือ non financial incentive เพราะฉะนั้นส่วนหนึ่งก็คือ ถ้าเขาได้รับความเชื่อมั่น เชื่อถือ เคารพจากคนในหมู่บ้านเขาเอง ซึ่งเขาอยู่ในนั้น คนโดยทั่วไปถ้ามีคนนับหน้าถือตา มีคนเชื่อมั่น ก็รู้สึกดี รู้สึกอยากทำงานต่อ โอกาสที่จะหาอาสาสมัครให้ครบ 2% เพื่อดูแลพื้นที่ก็จะมากขึ้น มันจะแก้ปัญหาได้โดยไม่ไป lead ปัญหาไว้ตรงไหนสักที่หนึ่ง ในขณะเดียวกันเขาก็จะขอมี uniform การขอมี uniform เป็นการตอบสนองเขา 2 ประการ คือ uniform จะทำให้เขารู้สึกภูมิใจ เขามี uniform เพราะคนพวกนี้บางครั้งเขาอยากได้รับการยอมรับ การมี uniform คือการ acknowledge ว่าเขาเป็นใคร เขามีสถานะทางสังคม เพราะคนพวกนี้บางคนอ่านหนังสือไม่ออกด้วยซ้ำ คือ วันนั้นที่เข้าไปทำงานกับเขา ลุงแกถีบซาเล้งมา มาเพื่อจะมาเจอเรา ซึ่งเราเป็นใครก็ไม่รู้ไม่ได้ไปให้คุณให้โทษอะไร รองเท้าก็ไม่มีใส่ เดินขึ้นมาคุย คืออาจารย์ได้ส่งเอกสารไปให้แกดูครั้งหนึ่งแล้ว เพราะอาจารย์อยากจะคุยกับแก แกก็กลับมาพร้อมกับเอาเอกสารอันนั้นมาคืนอาจารย์ อาจารย์ก็ถามว่ามันหนา หรือมันยากหรืออย่างไร อาจารย์ก็สงสัย ลุงบอกว่าอ่านไม่ออกหรอกหนูอยากรู้อะไรก็ถามแล้วกัน เพราะฉะนั้นคนอย่างนี้แต่มีใจพอที่จะ พอเกิดอะไรขึ้นกำลังขายของเก่าอยู่ขี่ไปเลย จะไปช่วยเขา การให้เขาได้มี uniform จะช่วยในเรื่องนี้
ในขณะเดียวกัน uniform บางชนิด uniform ไม่ได้ใส่เท่ห์อย่างเดียวนะ uniform อย่างชุดกันไฟ กันความร้อนช่วยให้เขาสามารถเข้าไป approach สถานที่ได้ และนี่เป็น non financial incentive ที่ให้ได้โดยไม่ผิดกฎของอาสาสมัคร อีกอย่างหนึ่งคือ ก็จะร้อยกับการ train เขา หรือเรียกเขามาเพื่อซักซ้อมแผนในท้องที่ อาหารกลางวันต้องเลี้ยงได้สิ เราไม่ได้จ่ายเงินให้เขา อาหารกลางวันต้องเลี้ยงได้ สถานที่ต้องมีให้เขาได้ มีเต้นท์ มีอุปกรณ์ให้เขาซ้อม มีเรื่องแบบนี้ ซึ่งตอนนี้เท่าที่ทราบเขามีวันอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน คือเป็นการตอบสนองความต้องการในการ acknowledge คน เพราะฉะนั้นภาครัฐต้องเปลี่ยนบทบาทจากการไปบังคับควบคุมคนเหล่านี้ทั้งหมด แต่ถามว่าทำไมยังต้องบังคับควบคุมอยู่ เพราะว่าคนเหล่านี้ไม่ได้มีประสบการณ์และรู้ process การทำงานเท่าภาครัฐ จะไปให้เขามั่วเลยก็ไม่ได้ ไม่อย่างนั้นจะเกิดอาการอย่างที่ผ่านมา อาสาสมัครเอกชนอย่างมูลนิธิปอเต็กตึ๊ง ร่วมกตัญญู กับภาครัฐซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ตอบสนองต่อภัย กับอาสาสมัครหากไม่เคยซ้อมร่วมมือกันเลย หากเกิดอะไรขึ้นมันไม่รู้มือกันนะ มันทำงานไม่ได้ มันขัดกันเอง อย่างที่ไฟไหม้จนตึกถล่มและเจ้าหน้าที่เสียชีวิต เพราะว่าต่างคนต่างเข้าไปปฏิบัติการแล้วก็ไม่ทันได้ฉุกคิดว่าตึกเก่าๆ ไฟไหม้ 2 ชั่วโมงและฉีดน้ำเข้าไปด้วย momentum แรงขนาดนั้น ตึกจะถล่ม มันก็กระเด็นกันคนละที่คนละทาง คือมันต้องมีการฝึกร่วมกัน ทีนี้ถ้าฝึกร่วมกันต้องให้ความรู้จริงๆ ให้เครื่องมือเขา และการให้อาหารกลางวัน สถานที่ อาจจะมีในที่สุดพอทุกๆ ปี อาจจะมีการแบ่งกลุ่มพาไปต่างจังหวัดหน่อยก็ได้ ไม่ต้องไปไหนไกลหรอก ปากช่องก็ได้ นครนายกก็ได้ คือให้เขาได้รู้สึกว่า เขาได้รับการตอบสนองต่อการเหนื่อยล้าของเขาบ้าง ตรงนี้จะช่วยให้อาสาสมัครรู้สึกว่าดี และก็มีคน recognize เขา สิ่งนี้น่าจะสำคัญ เพราะคุณไปขอให้คนพวกนี้มาทำงาน เงินก็ไม่ให้ เสี่ยงก็เสี่ยง ชุดป้องกันให้เขาปลอดภัยก็ไม่มี ประกันมีให้เขาหรือเปล่า อาสาสมัครพวกนี้พอมาทำงานปุ๊บ once you รายการตัว report เหยียบเข้าทำงานปุ๊บ ประกันอยู่กับตัวเลย เขาก็จะรู้สึกว่าเขาทำงานได้ อุปกรณ์การทำงานก็เหมือนกันต้องพร้อม ไม่อย่างนั้นก็ช่วยอะไรไม่ได้ เพราะฉะนั้นอันนี้จะไปถึงภาครัฐด้วยตรงที่ว่า อย่างล่าสุดที่ไฟไหม้ที่เขตดุสิต อปพร. ไปถึง หน่วยดับเพลิงไปถึง ลากสายไปแล้ว สายสั้นเข้าไปไม่ได้ ก็ต้องปล่อยให้ไฟไหม้ ต่างคนต่างทำอะไรไม่ได้ อุปกรณ์ที่ อปพร. จะไปช่วยดับได้ ก็ไม่ไหว ไม่พอ เพราะฉะนั้นอาจารย์ว่ามันต้องอาศัยบูรณาการพอสมควร ถ้าจะเอาอาสาสมัครมาทำงาน คุณจะปล่อยให้อาสาสมัครทำงานของอาสาสมัครไปอาจารย์ว่ามันก็ไม่ใช่ อาสาสมัครจะทำงานได้ดี คืออาสาสมัครแต่ละอย่างเขาก็จะมีงานของเขา เพราะฉะนั้นมันน่าที่จะต้องทำงานร่วมกัน หรือแม้แต่กระทั่งอาสาสมัครที่เป็นเกี่ยวกับหน่วยแพทย์ หรืออาสาสมัครทางด้านกาชาด หรือแพทย์ที่เขาต้องทำงานกับศูนย์นเรนทร ซึ่งเป็นหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ก็ต้องมีการฝึกร่วมกัน อาสาสมัครน่าจะมีความสามารถพอที่จะช่วยเบื้องต้นได้ อย่าง CPR  หรือ first aid หรืออะไรก็ตาม คุณจะมาคาดหวังว่าคุณจะ train professional team แล้วไงล่ะ เหตุเกิดห่างไป 1 ชั่วโมง คุณจะเอา professional team ออกไปทั้งๆ ที่รถติด มันเป็นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้นอาสาสมัครต้องมีความสามารถในการ approach ก่อน แล้วรอ professional คนเรานี่อยากทำงานทำได้ ได้รับการยอมรับ และคนเห็นผลงานที่ตอบสนองมา น่าจะดีขึ้นในลักษณะนี้ และก็ให้อะไรที่เป็นขวัญกำลังใจ เพราะเงินเดือนให้ไม่ได้อยู่แล้ว อันนี้คือเท่าที่คุยกับเขามานะ นี่คือความต้องการของเขาเลย uniform ที่เขาปลอดภัย อุปกรณ์ครบ จัด training เรื่องความรู้ใหม่ๆ อุปกรณ์ใหม่ๆ ใช้อย่างไร
Training ที่ผ่านมาก็มี ก่อนสึนามิ ปีหนึ่งมีสักครั้งหนึ่ง น้อยมาก ต้องเข้าใจอย่างหนึ่งด้วยว่า ก่อนสึนามิบ้านเราไม่รู้จักคำว่า disaster ด้วยซ้ำ ไม่รู้จักคำว่าภัยพิบัติ ภัยที่ใหญ่หลวงที่สุดของเราคือ ไฟไหม้ ถามว่า น้ำท่วมเป็นภัยไหม ปีไหนน้ำไม่ท่วมนอนไม่หลับนะ มันกลายเป็นกิจวัตรประจำวัน เพราะฉะนั้นคนไทยเราไม่รู้สึก พอหลังจากสึนามิก็เรียกร้องกันอุตลุดไปหมด และอาจารย์คิดว่านี่น่าจะเป็นวิธีการที่ดีที่สุด อีกอย่างหนึ่งก็คือ ใน 3 ปีมานี้เรา train กันอุตลุดเลยเรื่องอาสาสมัคร ไม่รู้ตอนนี้สำลักความรู้กันไปรึยัง train ตลอด อาวุธ สารเคมี ผู้ก่อการร้าย น้ำท่วม ก็ดีนะ เขาก็ได้มีความรู้ และทราบว่าเขาได้ไป train กับกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และสำนักป้องกันภัย ซึ่งเขามีเป็นโรงเรียนที่ปทุมธานี ก็ไป train  และมีการวางบทบาทให้ใช้เครือข่ายอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนบ้าง ซึ่งก็จะต้องไปเชื่อมโยงกับอาสาสมัครของหมู่บ้าน หมู่บ้านบางหมู่บ้านในท้องถิ่นเขาจะมีอาสาสมัครไว้ดูและเรื่องพวกนี้อยู่ ด้วย ก็จะเป็นผู้นำชุมชน ก็จะดีขึ้น

ตอนนี้เหมือนกับว่าตอนนี้ที่อาจารย์ทำในฐานะส่วนตัวใช่ไหมคะ ไม่ได้สังกัดหน่วยงาน
จะบอกว่าส่วนตัวใช่ไหมก็น่าจะใช่ เพราะอาจารย์ไม่ได้ถูกจ้างจากใครให้ทำงาน คือเป็นความสนใจส่วนตัว แต่ขณะเดียวกันเนื่องจากอาจารย์ทำงานกับกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ เพราะฉะนั้นพอทำงานกับ 2 หน่วยนี้ มันก็เลยไปในตัวว่าเมื่อหน่วยงานนี้ต้องออกไปให้ความรู้กับประชาชน หรือว่าออกไปเพื่อที่จะซ้อมเตือนภัย หนีภัย มันต้องใช้อาสาสมัครทั้งกาชาด อาสาสมัครที่เป็นหมู่บ้าน อปพร. พอต้องใช้คนเหล่านี้ก็เลยกลายเป็นว่า เราได้เข้าไปทำงานกับเขาไปตัวว่าเขาทำงานอย่างไร เขามีการทำงานต่างจากหน่วยงานภาครัฐไหม มันมีช่องว่างที่เราไปช่วยแล้วเราเห็นแล้วเราช่วยแก้ ก็เลยกลืนไปในตัว

บทบาทของการเข้าไปมีส่วนร่วมในการอบรมอาสาสมัครคืออะไรบ้าง
ปกติถ้าไปกับองค์กรอาจารย์ไปในฐานะที่ปรึกษา แต่ถามว่าที่ปรึกษาไปทำอะไร คือ ไปช่วยดูว่าจะทำอย่างไรที่จะทำงานกับคนเหล่านั้นได้ดีขึ้น แต่ขณะเดียวกับพอไปถึง เช่น จัดสัมมนา อาจารย์ก็จะเป็นคนให้ความรู้ว่าการทำงานน่าจะเป็นอย่างไรที่จะทำได้ดี ในขณะเดียวกันก็เป็นคน train เขา ฝึกเขาว่าหน่วยคุณจะต้องทำงานอย่างนี้ แล้วหน่วยคุณทำได้ไหม หรือว่ามีอะไรที่ยังทำไม่ได้ มีอะไรที่คุณอยากจะให้ข้อมูลเพิ่มเติม และวิธีการ ลักษณะการทำงานควรจะต้องเป็นอย่างไร ทำทั้งสองอย่าง

อาจารย์มองว่าการพัฒนากลไกนี่ก็ควร training และมี uniform
นี่ขอดาวไว้เลยนะคะว่า train ต้องมี  2 ระดับ train individual คือ train เขาเองให้มีความสามารถในการทำงานได้ เพราะการทำงานพวกนี้มันเสี่ยง และในขณะเดียวกันต้องเป็น inter organization training ต้องให้เขาได้ train กับกาชาด หน่วยแพทย์ หน่วยงานรัฐ มูลนิธิปอเต็กตึ๊ง ร่วมกตัญญู ต้องเปิดโอกาสให้คนเหล่านี้ได้ train ร่วมกัน คือถ้าโดยทางทฤษฏี ทางการบริหารจัดการภัยพิบัติเราถือว่าหน่วยไหนก็ตามที่ต้องออกไปทำงานร่วม กัน มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้ พูดง่ายๆ คือ ฝีมือ หรือ process การทำงานของอีกหน่วย ถามว่าเพราะอะไร ถ้าเข้าไปแล้วขัดกัน ถ้ามันเข้าขากันไม่ได้ ทำร่วมกันไม่ได้ และอันที่สอง คุณไม่รู้หรอกกำลังฉีดๆ น้ำดับไฟอยู่ตึกถล่ม อีกหน่วยหนึ่งดับวูบไป ถ้าในทางทฤษฎีเราถือว่าหน่วยที่สองจะต้องไม่หวั่นไหวไปกับเรื่องนี้ และต้องช่วยหน่วยนี้ ขณะที่ต้องไปช่วยคนก็ต้องช่วยหน่วยนี้ด้วย และในขณะเดียวกันต้องทำงานแทนหน่วยนี้ที่หายไป เพราะฉะนั้นถ้าหน่วยนี้ไม่เคยรู้เลยว่าอีกหน่วยทำงานอย่างไร ไปไม่ได้ เพราะในการทำงานอย่างนี้ หนึ่ง คุณต้องมีความสามารถส่วนตัวพอที่เข้าไปได้ เข้าไปแล้วทำงานกับชาวบ้านเขาได้ไหม ยังเป็นอีกระดับหนึ่ง เพราะฉะนั้นต้อง train 2 อย่าง ไม่เฉพาะ train ที่ตัวคนเดียว มันอาจจะพิเศษกว่าอาสาสมัครอย่างอื่น แต่อาจารย์ว่าก็ไม่นะ อาสาสมัครอย่างอื่น
คำว่าอาสาสมัครคือ คุณเข้าไปทำอย่างสมัครใจ คุณเข้าไปทำงานกับคนอื่น แต่คำว่าอาสาสมัครมันแปลอยู่ในตัวแล้วว่า เป็นหน่วยงาน support อาสาสมัครแปลว่าอะไร เข้าไปช่วย ช่วยเพราะอะไร มีหน่วยงานหลักอยู่แล้วคุณอาสาเข้าไปช่วย ด้วยตัวเนื้อมันแปลว่าคุณไม่ได้ทำงานคนเดียว เพราะฉะนั้นถ้าทะเล่อทะล่าเข้าไป ต่อให้ไม่ใช่งานภัย เป็นงานเรื่องอื่นถ้าคุณไม่รู้ว่าหน่วยงานหลักเขาทำอะไร เขามีวัตถุประสงค์อะไร ชุมชนนั้นที่คุณเข้าไปมี nature อย่างไร อาจารย์ว่าอาสาสมัครก็ไม่ประสบความสำเร็จ

มีข้อเสนอต่อการพัฒนากลไกอาสาสมัครควรที่จะมีแนวทางอย่างไร
ความจริงคุณพูดก็น่าสนใจ ซึ่งเขาอาจจะมีแล้วก็ได้แต่อาจารย์ไม่ทราบ ถ้ามันมีการ pool database ให้เราหน่อยสักหน่อยว่า อาสาสมัครทั่วประเทศว่า 1. มีใครกันบ้าง specialize ทางด้านไหน connect อยู่กับหน่วยงานไหน หรือว่ามีการสั่งการโดยตรงจากหน่วยงานไหนอยู่บ้างรึเปล่า และรวมถึงว่าเขาอยู่ตรงไหน geographically กายภาพเขาอยู่ตรงไหน น่าจะดีนะ เพราะขณะนี้ถ้ามองในแง่ของอาจารย์อย่างเดียว เวลาเข้าไปช่วยชาวบ้าน หรือแผนภัยพิบัติ หรืออะไรก็ตาม ทุกคนมีหมดเลย ขณะนี้มันก็กำลังคืบเข้าหากันนะ ก็อาศัยเวลาหน่อย เราพยายามบูรณาการให้มันมีทั้ง direction และ ทางด้าน top – down ยังต้องใช้อยู่ เพราะต้องอาศัยการบัญชาการที่ไปในทิศทางเดียวกันไม่เช่นนั้นมันมั่ว แต่ในขณะเดียวกันสังเกตสิ ภัยเวลาเกิดมัน large scale มันกว้าง มันต้องอาศัยความร่วมมือหลายๆ ส่วน อย่างอาจารย์มี database อันหนึ่งที่สึนามิที่ผ่านมาจะเห็นเลยว่า อาสาสมัครมีเยอะมาก แต่กระจายออกจาก network ใหญ่ที่ทำงาน อันนี้ fact เลยนะ evident proof ได้เลย ซึ่งถามว่าแล้วมีประโยชน์อะไร มีสิ อาสาสมัครพวกนี้ก็ไปช่วยคนเหมือนกัน เพราะฉะนั้นแปลว่ามีศักยภาพ ถ้าครั้งหน้ามีการวางแผน link คนเหล่านี้เข้ามาสู่ network ตรงกลางที่จะให้ความช่วยเหลือ เด็กอาจจะไม่ตายบนต้นไม้ก็ได้ หนีรอดจากสึนามิแล้วนะ adrenaline มันสั่งให้ปีนขึ้น แต่ตอนปีนลงมันไม่สั่งให้ปีนลง ลงไม่ได้ รอคนช่วยไปไม่ถึง ขาดน้ำเสียชีวิต เยอะเหมือนกันคนที่เสียชีวิตเพราะบาดแผลทั้งๆ ที่รอดแล้ว เพราะฉะนั้นอาจารย์มองว่า ถ้าเรารู้ว่าตำแหน่งแห่งที่อยู่ตรงไหน เขาเป็นใคร เขา specialize ทางด้านไหน อุปกรณ์เขามีแค่ไหน อาสาสมัครแต่ละหน่วยเขาต้องมี database ของตัวเองอยู่แล้ว คนอยู่ไหน ตำแหน่งแห่งที่อยู่ไหน อุปกรณ์มีแค่ไหน ชำนาญการด้านไหน แล้ว connect อยู่กับหน่วยงานไหน อาสาสมัครทุกอาสาสมัครมีอยู่แล้ว ถ้า pool เข้ามาได้แล้วก็เอา database อันนี้ อาจจะมีทั้งการแยกประเภทด้วย เช่น ถ้าเป็นงานทางด้านนี้ อาสาสมัครเหล่านี้สามารถ function ได้ เหมือนว่าลง coding เช่น มหาดไทยเขาทำงานอะไรบ้าง อาสาสมัครช่วยเขาได้ด้านไหน จัดหมวดหมู่อาสาสมัครให้ according to ภาครัฐ มันจะช่วยในการเรียกหา จะช่วยได้เร็วขึ้น คมนาคม หรือกระทรวงพาณิชย์ อาสาสมัครที่เกี่ยวกับการสร้างอาชีพ กระทรวงแรงงาน อาสาสมัครเกี่ยวกับการหาแรงงานก็มีอยู่ กรมทรัพยากรธรณีจะมีอาสาสมัครทางด้านการให้ความรู้ทรัพยากรของแต่ละจังหวัด คือพวกนี้ถ้ามันจัดแล้ว จัด layer ที่หนึ่ง จัดของคุณเอง เอา database มา pool อันที่สอง พยายามเชื่อมเข้ากับหน่วยงานรัฐให้ได้ เป็น coding ไว้ เมื่อคุณทำอย่างนี้แล้ว ในกรณีที่มีช่องทางในภาครัฐ acquire ความช่วยเหลือจากอาสาสมัครเราสามารถตอบเขาได้เลย เรามีระบบเข้าไปสวมกับเขาได้เลย เขาเรียกหาได้เลย มันไม่ต้องมานั่งถามว่า แล้วไง อาสาสมัครของคุณมีเท่าไหร่ ทั่วประเทศมีใครบ้าง แล้วจะใช้อย่างไร ตอบไม่ได้ ถ้าวันที่เขาอยากได้คุณ คุณตอบไม่ได้ มันไม่เกิด แต่ถ้า ณ วันที่เขาอยากได้ คือ การทำให้เกิดวาระขึ้นมามันลำบาก ถ้าเรามีพร้อม พอเราแสดงให้เห็นว่าเราพร้อมเรียก เราได้ทันเวลา มีอุปกรณ์เราใช้ได้ เรารู้ว่าคุณทำงานอย่างไร เดี๋ยวไอ้ตรง gap ที่มันหายไประหว่างการทำงานพวกนี้ กับอาสาสมัครอาจารย์ว่าเดี๋ยวมันก็เกิด แต่ว่าคุณต้องมีศักยภาพก่อนนะ อาจารย์ต้องพูดอย่างนี้เพราะยุคนี้เป็นยุคที่ใครก็อยากมีบทบาททั้งนั้น ใครอยากได้อะไรก็เรียกร้อง อาจารย์ว่าจริงๆ ต้องถอยหลังก่อนสิทธิ เสรีภาพ ถอยกลับมาที่หน้าที่ก่อนไหม หน้าที่ของคุณคืออะไร หน้าที่ของคุณคืออาสาสมัคร คุณมีศักยภาพพอที่จะปฏิบัติหน้าที่นั้นหรือยัง พอมีปุ๊บเอาเลย อยากได้อะไรเต็มที่ อยากไป plug in กับใครตรงไหนได้ทั้งนั้น ก็น่าจะช่วยได้ถ้าเป็นกลไกด้านนี้ เท่าที่อาจารย์ทราบตอนนี้ไม่รู้ไปถึงไหนแล้วนะ กระทรวงสาธารณสุขพยายามจะติด GPS ที่รถพยาบาล แล้วก็ identify รถพยาบาล หรือหน่วยอาสาที่อยู่ในพื้นที่ ถ้าเกิดภัย หรือสมมติว่าอยู่ดีๆ เกิดแผ่นดินไหว แล้วตึกถล่มมา หน่วยราชการอยากรู้ว่ารถพยาบาลอยู่ตรงไหน GPS ที่ติดอยู่จะ report เป็น dynamic data เข้ามาว่าวิ่งอยู่ตรงไหนบ้าง approach ที่กี่คัน แต่ในขณะเดียวกันถ้าเรารู้ด้วยว่าอาสาสมัครก็มีรถ อยู่ตรงไหนกันบ้าง อันนี้อาจจะเทคโนโลยีไปหน่อยนะ อยู่ตรงไหนกันบ้าง แล้วมีหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ มีหน่วยกู้ภัยอยู่ตรงไหนบ้าง หรือมีหน่วยอาสาสมัครซึ่งเป็นกาชาดก็ได้ หรือเป็นอาสาสมัครอย่างที่เป็นคนช่วยเหลือฟื้นฟูจิตใจ ถ้าเรารู้ว่าอยู่ตรงไหนให้เข้าไปปลอบโยนไม่ให้เสียขวัญ ก็จะลดความตระหนก การบริหารจัดการของหน่วยอื่นมันจะดีขึ้น มันไม่ชี่ว่าทำไม่ได้ แต่อยู่ที่ว่า คือบ้านเราแย่อย่างไม่ค่อยเก็บข้อมูล ถ้าทำได้ เพราะอาสาสมัครในเรื่องโครงสร้างการจัดการอาจารย์ว่าไม่ค่อยมีปัญหาหรอก มัน flexible เพราะฉะนั้นต้องอาศัยจุดเด่นตรงที่ flexible ทำอะไรก็ได้ พยายามทำตัวให้พร้อมมีกลไกที่สวมเข้าไปได้ เขาขอมาสวมทับได้เลย show สักครั้งเดียว อาจารย์ว่าหลังจากนั้น เขาจะ realize บทบาทของเราได้เอง คนไทย learn it a hard way ไม่ค่อยยอมเชื่อโดยไม่เห็น evident เมื่อไหร่ก็ตาม hit มาแรงๆ อย่างสึนามิ เชื่อหมดเลย ตอนนี้พูดอะไรก็เชื่อ ก่อนหน้านี้พูดเกือบตาย ไม่มีใครฟัง
ปัญหาคือ ต้องยอมรับอย่างหนึ่ง ในทางทฤษฎีเขาบอกว่าคนเราตัดสินใจบนข้อมูล คนอยากจะมาทำงานกับอาสาสมัครไหม มีคนมาช่วยทำงานใครจะไม่อยากทำ คนไทยชอบทำงานทั้งนั้น มีอะไรเกิดขึ้นก็แห่แหนกันไป แต่พอไม่เป็นระบบจึงดูเหมือนอาสาสมัครไทยเละเทะ แล้วมันก็วุ่นวาย เกะกะแขนขา จากศักยภาพที่มีไม่มีใครมองเห็นติดลบ ในขณะที่ถามว่าภาครัฐต้องการคนช่วยไหม ทำไมจะไม่อยาก แต่มันมีข้อมูลไหมล่ะว่าคุณอยู่ตรงไหน ศักยภาพเป็นอย่างไร และการมีต้องไม่มีเปล่า ต้องเป็นระบบนิดหนึ่ง เพื่ออะไร คนเราเวลามันอยากจะใช้อะไรมันอยากได้เร็วและถูกต้อง ถ้าคุณมีเตรียมไว้อาจารย์ว่ามันคงช่วยได้เยอะ