มึดา นาวานารถ “ความฝัน… สัญชาติ… และบัตรประชาชน”

“ฝันของคุณคืออะไร?” สำหรับคนที่เกิดมาบนความพร้อมในหลายๆ ด้าน ก็คงคิดหนักอยู่พอสมควร เพราะอาจมีหลายเรื่อง หลายสิ่ง หลายอย่างที่อยากจะลงมือทำ แต่สำหรับเด็กไร้สัญชาติ ก่อนที่จะกล้าฝันถึงสิ่งต่างๆ ฝันแรกของพวกเขา คือ “การได้มาซึ่งสัญชาติไทย”

หากใครติดตามข่าวคราวเด็กไร้สัญชาติอยู่บ้าง ก็คงพอคุ้นหน้าคุ้นตาเธอพอสมควร สำหรับมึดา นาวานารถ อดีตเด็กไร้สัญชาติกับการต่อสู้อันยาวนาน จากวัยเด็กสู่วัยผู้ใหญ่ จากความฝันสู่ความจริง จนเด็กไร้สัญชาติในวันนั้น เป็นพลเมืองไทยเต็มขั้นในวันนี้

เมื่อต้นปี 2551 ที่ผ่านมา กฎหมายได้เปิดช่องให้เด็กไร้สัญชาติมีสิทธิร้องขอการมีสัญชาติไทยในทะเบียน ราษฎร มาตรา 23 วรรค 2 มึดาจึงใช้โอกาสนี้ในการยื่นขอสิทธิต่างๆ เพื่อให้ความฝันที่จะเป็นคนไทยอย่างสมบูรณ์ได้เป็นจริง แต่ขั้นตอนการดำเนินการกลับไม่ได้ราบรื่นอย่างที่คิด เมื่อเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการยังขาดความเข้าใจในตัวบทกฎหมายดังกล่าว บ่อยครั้งผู้ร้องขอถูกละเลย เพิกเฉยจากเจ้าหน้าที่รัฐทั้งมีสิทธิตามกฎหมายทุกประการ ความลำบากในการต่อสู้ต่างๆ นานา สอนให้เธอเป็นคนเข้มแข็ง และเป็นนักสู้ แม้ว่าวันนี้เธอจะได้รับสัญชาติแล้ว แต่การต่อสู้ของเธอยังไม่จบสิ้นเพราะยังมีเพื่อนๆ และพี่น้องอีกหลายคนที่ยังไร้ตัวตนในสังคมไทย

“ถึงแม้วันนี้เราจะได้สัญชาติมาแล้วก็จริง แต่ว่ามันมีอะไรอีกหลายอย่างที่อยากจะทำในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคนไร้สัญชาติ

ถ้าถามถึงความรู้สึกระหว่างก่อนจะได้และหลังจาก ที่ได้สัญชาติมาแล้วมันก็แตกต่างกันมาก ก่อนหน้าที่เราจะได้สัญชาติมันรู้สึกอึดอัดที่คนอื่นบอกว่าเราไม่ใช่คนไทย ทั้งที่เราเกิดที่นี่ ไปไหนมาไหนก็ไม่สะดวก ต้องคอยหวาดระแวงในเรื่องต่างๆ เช่น เวลาไปเรียน รู้สึกไม่ดีเท่าไรที่เราไม่ได้รับการปฏิบัติเท่าเทียมกับเพื่อนๆ ในห้องที่มีสัญชาติไทย จึงเกิดความรู้สึกว่าเราต้องต่อสู้เพื่อได้สิ่งเหล่านั้นมา อันดับแรกก็ คือ สัญชาติก่อน แล้วทุกอย่างจะตามมา


มึดาในอดีต

มึดาในปัจจุบัน

ตอนไปยื่นเอกสารตามอำเภอ หรือสถานที่ราชการต่างๆ แรกๆ ก็ไม่ได้รับความสนใจเท่าไร อาจเป็นเพราะเป็นเรื่องที่ความเข้าใจ หรือความเด็ดขาดของเจ้าหน้าที่ยังมีน้อย ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องการตัดสินใจ เรื่องเลยไปไม่ถึงไหน พอเรียกร้องมาเรื่อยๆ เราก็จะบอกกับตัวเองเสมอว่าเราต้องทำ และจะช่วยเหลือคนที่ไร้สัญชาติเหมือนเราให้ได้รับสิทธิที่ควรจะได้ตาม กฏหมาย” มึดากล่าว

พอเรื่องดำเนินมาจนได้บัตรประจำตัวประชาชน มึดาบอกว่ารู้สึกดีใจ และคุ้มค่ากับความเหนื่อยล้าตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา

ถามถึงอนาคต มึดาบอกว่าเธออยากทำงานเกี่ยวกับคนไร้สัญชาติอย่างจริงจัง โดยจะใช้ความรู้ทางกฏหมายที่เรียนอยู่เข้ามาประยุกต์ใช้ โดยการให้ความรู้กับด้านกฎหมายกับพี่น้อง และคนที่ยังไม่ได้รับสัญชาติ ปัจจุบันเธอมีกลุ่มเล็กๆ ที่เกิดจากการรวมตัวกับผองเพื่อนร่วมคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพภายใต้ชื่อ “กลุ่มหัวรถไฟ”พื่อประสานและศึกษากรณีคนไร้สัญชาติให้ได้รับสิทธิตามกฏหมาย

“มีคนไร้สัญชาติอีกมากที่ยังเข้าไม่ถึงสิทธิตาม กฏหมาย ตอนที่ได้สัญชาติมาใหม่ๆ มีคนเยอะมากที่เข้ามาหาเราให้เราช่วยอย่างนั้นอย่างนี้หน่อย จึงมีความคิดว่าถ้าเรียนจบแล้วก็อยากจะทำงานที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของคนไร้ สัญชาติ คือเข้าไปให้ความรู้ทางกฏหมายที่เราเรียนว่าว่าเขามีสิทธิอะไรบ้าง การทำเรื่องยื่นขอสัญชาติทำอย่างไร จึงนำเรื่องนี้ไปคุยกับเพื่อนๆ ที่คณะว่าจะช่วยหลือเรื่องนี้อย่างไร เลยกลายเป็นกลุ่มหัวรถไฟขึ้นมา

คือ รถไฟ ถ้าไม่มีหัวมันก็ไปไม่ได้ รถไฟมันประกอบด้วยหลายอย่างกว่ามันจะวิ่งได้ และมันยาวมากสามารถที่จะช่วยเหลือคนทั้งรับทั้งส่งได้ คือเหมือนเราต้องการที่จะสื่อสารให้รู้ว่า คือเราจะเป็นจุดเริ่มต้นในการทำงานเกี่ยวกับเรื่องสิทธิและคนไร้สัญชาติ อย่างจริงจัง ทั้งในเรื่องของการช่วยเหลือในด้านกฏหมายในการเผยแพร่ความรู้ที่เกี่ยวข้อง กับคนไร้สัญชาติ เราได้พูดคุยกันในระดับกลุ่มว่าจะลงพื้นที่ในการให้คำแนะนำเกี่ยวกับตัว กฏหมายในเรื่องสัญชาติ

ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับคนไร้สัญชาติมีมีปัญหาอยู่ 2 ส่วน คือทางภาครัฐ และชาวบ้าน คือในทางภาครัฐถึงแม้จะมีตัวบทกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้อย่างชัดเจน ก็ตามแต่ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ต่างๆทั้งอำเภอหรือส่วนอื่นที่เกี่ยว ข้อง ยังมีความไม่เข้าใจในบางส่วนของกฏหมายมันก็เลยกลายเป็นเรื่องที่คนหนึ่งคนใด จะตัดสินใจไม่อาจตัดสินได้เพียงลำพังซึ่งมันมันควรที่จะเป็นอย่างนั้น ทำให้เรื่องที่เรายื่นไปมันไม่ไปถึงไหนทให้เกิดความล่าช้าออกไป ในด้านหนึ่งมันจะทำให้คนที่ยื่นหมดหวังตรงนี้สำคัญอย่างมาก ในส่วนที่สองคือชาวบ้านยังไม่มีความรู้เรื่องเกี่ยวข้องกับกฏหมายในส่วน เรื่องสัญชาติและมีความไม่เข้าใจในหลายๆ เรื่องซึ่งทำให้คนกลุ่มนี้ไม่กล้าที่จะออกมาเรืยกร้องสิทธิของตัวเอง ดังนั้นกลุ่มหัวรถไฟก็จะเข้าไปมีส่วนในการให้ความรู้เกี่ยวกับกฏหมายและการ ปฏิบัติทางกฏหมายให้แก่ชาวบ้าน และจะตั้งการศึกษาอย่างจริงจัง

การที่เราทำคนเดียวคงจะสร้างการเปลี่ยน แปลงลำบาก แต่การมีกลุ่มก็เหมือนเราได้มาร่วมกันคิด ที่สำคัญที่สุดเราได้เจอสถานการณ์ ดิฉันอยากให้กรณีของดิฉันเองเป็นกรณีตัวอย่างในการแก้ปัญหาคนไร้สัญชาติที่ เกิดในแผ่นดินที่มีเงื่อนไขตาม พรบ.สัญชาติ (ฉบับที่4) พ.ศ. 2551 ที่ใช้บังคับ ซึ่งมันจะเห็นผลก็ต่อเมื่อทั้งสองส่วนมีความเข้าใจในสิ่งที่กฏหมายตราเอาไว้ และความไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ของเจ้าหน้าที่และสิทธิของคนไร้สัญชาติมันคงจะ หมดไปและดำเนินไปตามกฏหมายที่วางไว้อย่างชัดเจน” มึดา นาวานารถ กล่าว

นอกจากนี้เธอยังให้ความเห็นว่าสิ่งที่สำคัญมากกว่าการได้รับสัญชาติและ การเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของรัฐไม่ว่าจะเป็นการเข้าเรียน หรือการรักษาพยาบาล คือ สิทธิทางการเมือง “มัน มีคำถามหลายอย่างว่าเรายื่นขอสัญชาติพียงเพื่อการมาเป็นคนไทยและรับสิทธิ ขั้นพื้นฐานเท่านั้นหรือ แต่หนูมองว่ามันสำคัญมากกว่านั้นเพราะสิทธิทางการเมือง มันเป็นเรื่องที่สำคัญพอๆกับการมีที่เรียนหรือการรักษาพยาบาล ซึ่งตรงจุดนี้หฯมองว่ามันสำคัญมากกว่าสิ่งใดๆ ทั้งหมด เพราะสิทธิทางการเมืองมันคือการแสดงออกถึงตัวตน จุดยืนของตัวเองว่าคิดอย่างไร คือมันครอบคลุมทุกอย่างทั้งหลายๆเรื่อง ความมุ่งหวังของเราต้องสร้างทำในสิ่งที่เราคิดว่าสมควรจะเกิดขึ้น ถึงวันนี้เกือบปีที่ได้ไปทำบัตรประชาชน ความรู้สึกไม่มั่นใจมันก็หายไปเยอะเพราะเรารู้สึกว่าสิ่งที่เราทำมันมาได้ ครึ่งหนึ่งแล้ว ที่เหลือที่อยากจะทำต่อไปก็คงเป็นเรื่องที่เข้าไปช่วยเหลือพี่น้องคนไร้ สัญชาติในการเผยแพร่ให้ความรู้ เพราะตอนนี้หนูคิดว่าจะทำตรงนี้ให้ดีที่สุดก่อนแล้วในอนาคตก็อยากให้มีการ เรียนรู้อย่างจริงจังกับกรณีคนไร้สัญชาติ” มึดา นาวานารถ กล่าวส่งท้าย

ทีมงาน ThaiNGO ขอแสดงความยินดีกลับการได้รับสัญชาติของนางสาวมึดา นาวานารถอีกครั้ง และสิ่งที่คาดหวังต่อไปคือการทำงานของภาครัฐในการเข้ามาดูแลเรื่องคนไร้ สัญชาติอย่างจริงจัง โดยเอากรณีนางสาวมึดา นาวานารถเป็นบรรทัดฐาน ปัญหาคนไร้สัญชาติถึงแม้จะเป็นประเด็นที่อ่อนไหวแต่ก็ควรเอาใจใส่อย่างจริง จังเพราะอย่างหนึ่งที่ควรให้ความชัดเจนคือกฏหมายที่รองรับเรื่องคนไร้ สัญชาติมีความศักดิ์สิทธิเพียงใดหรือเป็นเพียงตัวอักษรที่นำมาปฏิบัติจริง ไม่ได้

ทีมงานThaiNGO
มูลนิธิกองทุนไทย

 

ที่มา : http://www.thaingo.org/writer/view.php?id=1453