เครือข่ายจิตอาสาขอแนะนำโครงการพัฒนานวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะเพื่อการรองรับและเผชิญภาวะวิกฤตการแพร่ระบาดในระดับพื้นที่
โครงการนี้ได้เกิดขึ้นสืบเนื่องมาจาก การเเพร่ระบาดของไวรัส โคโรน่า 19 (Covid 19) ทำให้หลายประเทศทั่วโลกได้รับผลกระทบเป็นอย่างมากโดย ประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในหลายๆประเทศที่มีผู้ติดเชื้อ ซึ่งทำให้ต้องมีมาตรการต่างๆ เพื่องป้องกันและ ยังยั้งการเเพร่ระบาด จึ่งส่งผลให้หน่วยงานต่างๆ ได้รับผลกระทบตลอดจนประชาชนกลุ่มต่างๆ บางรายตกงาน บางรายต้องถูกลดเงินเดือน จึงก่อให้เกิดผลกระทบในวงกว้าง ประกอบกับวัตถุดิบทางการแพทย์ที่มีราคาที่สูงขึ้น และ สิ่งที่จำเป็นสำหรับสถานการณ์ปัจจุบันคือ หน้ากากอนามัย

จึงเป็นสาเหตุให้ มีการริเริ่มโครงการ Thammask for People ขึ้น จากความร่วมมือของหลายภาคส่วนอาทิมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ , สสส , ถาคีเครือข่าย ตลอดจน บริษัท SCG Logistic โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างงานสร้างอาชีพและเป็นการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงหน้ากากผ้าของประชาชนกลุ่มเปราะบางต่างๆทั่วประเทศโดยโครงการได้มีเป้าหมายที่จะผลิตหน้ากากผ้าสะท้อนน้ำถึง 100,000 ชิ้น

กดไลค์ และติดตามความคืบหน้าของโครงการได้ที่ >> https://web.facebook.com/Thammask4People/

 


หน้ากากผ้าที่ผลิตในโครงการ เป็นรูปแบบหน้ากากสะท้อนน้ำ
ทำไมต้องผ้าสะท้อนน้ำ?
ไวรัส โคโรน่า 19 (Covid 19) เป็นไวรัสที่สามารถติดต่อได้ผ่านสารคัดหลังต่างๆ จากการไอจาม เพราะฉะนั้นการ สวมใส่หน้ากากอนามัยจึงถือเป็นสิ่งที่จำเป็นและ สำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยในปัจจุบันหน้ากากอนามัยนั้นหายากขาดตลาดและมีราคาที่สูงจึงทำให้คนส่วนมากหันมาใช้หน้ากากผ้าที่สามารถซักสามได้และคุ้มค่ากว่าแต่เนื่องจากหน้ากากพาทั่วไปนั้นสามารถป้องกันสารคัดหลังจากผู้อื่นได้เพียงไม่นานสารคัดหลังดังกล่าวจะสามารถซึมเข้ามาสู่ผู้สวมใส่ได้ จึงเป็นเหตุให้โครงการ Thammask for People ใช้ผ้าชนิดพิเศษเคลือบสารสะท้อนน้ำที่มีคุณสมบัติสะท้อนของเหลวและไม่ซึมเข้าสู่ผู้สวมใส่โดยผ้าสะท้อนน้ำนั้นมีลักษณะเป็นผ้าถักที่เคลือบสารจึงทำให้มีความมันเงาแตกต่างจากผ้าถักทั่วไป

วิธีการเย็บหน้ากากผ้าสะท้อนน้ำ และสิธีการทำความสะอาด

วิธีการเย็บหน้ากาก ผ้าสะท้อนน้ำเพื่อประชาชน ขั้นตอนไม่ยุ้งยาก ไม่ซับซ้อน ทำความสะอาดและเก็บรักษาที่ง่าย โดยสามารถศึกษาได้จาก link นี้ได้เลย!
>>
https://www.youtube.com/watch?v=9IEX30Q5ePw

 

องค์กรภาคีที่เข้าร่วมโครงการ มีดังนี้

1.ศูนย์บริการคนพิการ ต.ชมภู จ.เชียงใหม่
จัดตั้งโดยคนในชุมชนที่เป็นคนพิการ ครอบครัว อาสาสมัคร ทีมสาธารณสุขและผู้นำชุมชน นายอนันต์ แสงบุญ ผู้ใหญ่บ้าน ม.4 มีสมาชิกเป็นผู้พิการ 291 คน ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ วัยแรงงาน วัยรุ่น และวัยเด็ก ส่วนใหญ่เป็นคนพิการทางการเคลื่อนไหว ในการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการตำบลชมภูนั้น ได้มีการปรับเปลี่ยนแนวคิดทำความเข้าใจเรื่องคนพิการ และปรับรูปแบบการทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เปลี่ยนจากการมองคนพิการเป็นเพียงผู้รับ กลายเป็นการสนับสนุนให้คนพิการมีความเข้มแข็งและมีความมั่นใจในตนเองจนสามารถลุกขึ้นมาทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่ไปกับเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่างๆในชุมชน สามารถสร้างความเข้มแข็งให้กับคนพิการ จนสามารถรวมกลุ่มกันตั้งเป็นศูนย์บริการคนพิการ ต.ชมภู อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ทางโครงการหน้ากากผ้าเพื่อประชาชน ได้ทำงานร่วมกับผู้สูงอายุ ทั้งที่เป็นผู้พิการและครอบครัวของผู้พิการที่เคยเย็บผ้าพื้นเมืองส่งขาย และส่วนใหญ่สามารถเย็บหน้ากากผ้าในช่วงเวลาที่ขาดแคลน

2.โรงพยาบาลหัวไทร
เป็นโรงพยาบาลชุมชนระดับอำเภอ แห่งแรกและแห่งเดียวของระดับอำเภอหัวไทร พ.ศ. 2540 ได้รับเลือกเป็นโรงพยาบาลชุมชนดีเด่นระดับโซน โดยศูนย์เวชกรรมฟื้นฟูเพื่อคนพิการ ของโรงพยาบาล จะทำงานร่วมกับอาสาสมัครเพื่อช่วยดูแลผู้ป่วยติดเตียงตามบ้าน หลังจากได้รับการรักษา และทางโครงการหน้ากากผ้าเพื่อประชาชน ได้ทำงานร่วมกับครอบครัวผู้พิการที่เป็นผู้ที่สามารถเย็บหน้ากากผ้าได้ จำนวนกว่า 20 ท่าน

3.“มูลนิธิชุมชนไท”
เป็นองค์กรพัฒนาเอกชน ที่ถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2535 ทำหน้าที่สนับสนุนเสริมสร้างความเข้มแข็งองค์กรชุมชน สร้างกระบวนการเรียนรู้ สนับสนุนการพัฒนาศักยภาพแกนนำ และการเชื่อมโยงระหว่างเครือข่ายต่างๆ เพื่อให้เกิดกระบวนการผลักดันการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างในระดับนโยบายร่วมกันของชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนา โครงการหน้ากากผ้าเพื่อประชาชน ทำงานร่วมกับกลุ่มสตรีในหลายพื้นที่ เช่น อ.ควนขนุน จ.พัทลุง ชาวเลและคนจนเมือง จ.ภูเก็ต กลุ่มสตรีในจังหวัดพังงานและชาวเล ในเกาะพีพี ลันตา กลุ่มสตรีในเครือข่ายชายแดนใต้ ปัตตานี กว่า 25 ท่าน

4. มูลนิธิพิทักษ์ดวงตาลำปาง
สนับสนุนการศึกษาทางตาของบุคลากรทุกระดับในลำปาง ดำเนินงานช่วยเหลือ พัฒนาคุณภาพชีวิตคนตาบอดจังหวัดลำปางและ โรงเรียนการศึกษาคนตาบอดลำปาง โครงการหน้ากากผ้าเพื่อประชาชน ได้ทำงานร่วมกับครอบครัวผู้พิการที่เป็นผู้ที่สามารถเย็บหน้ากากผ้าได้ จำนวนกว่า 34 ท่าน ในพื้นที่จังหวัดลำปาง เชียงราย และพิษณุโลก

5.ศูนย์พัฒนาศักยภาพและอาชีพคนพิการบ้านศรีวนาไลจังหวัดอุบลราชธานี
หน่วยการประสานงานในพื้นที่ จ.อุบลราชธานี สังกัด พม. ทำงานร่วมกับกลุ่มสตรีครอบครัวคนพิการ และคนพิการในพื้นที่อำเภอ ม่วงสามสิบ เขื่องใน วารินชำราบ สว่างวีระวงศ์ เขมราฐ บุณฑริก โพธิไทร และ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี กว่า 47 ท่าน

6. เครือข่ายสลัมสี่ภาค
เป็นองค์กรภาคประชาชนที่มาจากการรวมตัวกันของผู้เดือดร้อนด้านสิทธิที่อยู่อาศัย ทำงานเพื่อช่วยเหลือคนไร้บ้าน ไซส์ คนงาน ชุมชน 76 ชุมชน ทั่วประเทศ 5000 ครอบครัว โครงการหน้ากากผ้าเพื่อประชาชนทำงานร่วมกับกลุ่มสตรีและเยาวชนกว่า 20 ท่าน ใน 11 ชุมชน ทั่วพื้นที่ กทม และปริมณฑล เช่น ชุมชนพระรามสาม ชุมชนรถไฟหลักหก ชุมชนบางละมาด ชุมชนพูนทรัพย์ และชุมชนเพิ่มสิน เครือข่ายใต้สะพาน ชุมชนทองกิตติ เครือข่ายเพื่อการพัฒนา