หลังจากได้รับและช่วยกันส่งต่อเมล์แห่งสติ “วันนี้วันพระ วันพระงดเหล้า” ในฐานะธรรมอาสาสมัครสื่อสารความดี ก็รู้สึกดีเป็นมงคลแก่ชีวิตจริงๆ รู้สึกได้บุญกุศลเอิบอิ่มในจิตใจ งานนี้เป็นหนึ่ง ในกิจกรรมจิต อาสาง่ายๆ ที่ทุกท่านสามารถร่วมบุญกับ สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า สสส. ได้ในแต่ละวันพระ เพื่อร่วมเฉลิมฉลอง พุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปีแห่งการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในระหว่างวันวิสาขบูชา ๒๕๕๔ – วิสาขบูชา ๒๕๕๕ พร้อมกับชาวพุทธทั่วโลก ซึ่งจะมีกิจกรรมปีโหมโรงเป็นปฏิบัติบูชาตั้งแต่วิสาขบูชา ๒๕๕๓ เป็นต้นไป และจะมีกิจกรรมปีส่งท้ายถึงวิสาขบูชา ๒๕๕๖ โดยบุญกุศลที่จะเกิดขึ้นทั้งหมดนี้ จะน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลวโรกาสที่จะทรงมีพระชนมายุครบ ๘๔ พรรษา และยังจะเป็นการทำบุญร่วมกันของคนไทยทั้ง ชาติเพื่ออุทิศให้กับผืนแผ่นดินมาตุภูมิประเทศไทย

ความ จริงแล้ว ก่อนปีพ.ศ.๒๕๐๒ ก่อนที่ ชาวพุทธในประเทศไทยจะถูกวางยาให้วิถีชาวพุทธอ่อนแรงและสลายหายไปจากสังคมไทย โดยคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีฉบับหนึ่ง วิถีวันโกนวันพระ เป็นวิถีแห่งการทำบุญร่วมกันของครอบครัวและชุมชนไทยพุทธมาโดยตลอด (วันพระหรือวันอุโบสถ แปลว่าวันเข้าใกล้ยา หรือวันที่เข้าไปรับยา โรคโลภ-โกรธ-หลง ต้องให้ยาอย่างน้อย ๗ วันครั้ง ซึ่งทุกวันนี้ คริสต์ก็ยังไปโบสถ์ทุกวันอาทิตย์ มุสลิมไปมัสยิดทุกวันศุกร์ ..แล้วพุทธล่ะ??) วันพระได้ทำหน้าที่เป็น “วันแห่งสติ” โอบล้อมให้ทุกครอบครัวทุกชุมชนได้มีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันถึงภาวะ “ละอายชั่วกลัวบาป” “ใฝ่บุญใฝ่กุศล” “บุพเพสันนิวาส-สมานสามัคคี” ซ้ำๆ พร้อมๆ กันทุก ๗-๘ วัน ทุก ๗-๘ วัน       ตามหลักอปริหานิยธรรม อุปมาเป็นเสมือนเขื่อนที่คอยดักบาปอกุศลไว้ไม่ให้แพร่ระบาด และทำหน้าที่เป็นมาตรฐานขั้นต่ำสุด(minimum standard) ที่จะให้คนในสังคมได้ทำบุญความดี ร่วมกันอย่างน้อยปีละประมาณ ๕๐ ครั้ง เมื่อถูกภาครัฐวางยานำวิถีวันโกนวันพระนี้ออกไปแล้ว ไม่มีการเยียวยาหรือชดเชยใดๆ ครอบครัวและชุมชนไทยพุทธที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศประมาณ ๙๕% ก็ขาดกิจกรรมทำบุญร่วมกัน (เหลือเพียงปีละครั้ง บางครอบครัวแม้แต่ปีละครั้งก็ทำไม่ได้ แต่วันหยุดเสาร์อาทิตย์กลายเป็นทำบาปร่วมกันเป็นส่วนใหญ่ เช่น เป็นวันขี้เกียจ เมา เที่ยว ฯลฯ) ขาดการบ่มเพาะให้เรียนรู้แบบซึมซับ ซ้ำๆ ถึงความละอายชั่วกลัวบาป ใฝ่บุญใฝ่กุศล  ชุมชนเองก็ขาดกิจกรรมทำบุญร่วมกัน ไม่ได้ล้อมวงทานข้าวร่วมกันของหลายๆ ครอบครัวในชุมชนเดียวกันที่วัดเหมือน แต่ก่อน คนกลางคนวัยทำงาน เด็กและเยาวชนวัยเรียน ก็ถูกกันออกจากวัด เพราะถูกทำให้การไปวัดวันพระเป็นสิ่งผิดกฎหมาย ถ้าเป็นราชการก็หนีราชการ หรือเป็นสิ่งน่าละอายว่าหนีงานหนีเรียน เหลือแต่คนแก่ชราไปวัด และเนื่องด้วยว่าวัดนั้นนอก จากจะทำหน้าที่ทางศาสนาแล้วยังเป็นศูนย์กลางทางวิถีวัฒนธรรมประเพณีด้วย เมื่อคนไทยถูกวางยาให้แปลกแยกจากวัดมา ๕๐ ปี ทั้งพุทธศาสนาและวัฒนธรรมไทยในแต่ละท้องถิ่น จึงถูกทำให้อ่อนแรงลงและแปลกแยกจากคนไทยมากขึ้นไปด้วยกัน ทั้งพระและฆราวาสต่างก็ถูกวางยาให้แปลกแยกต่างคนต่างอยู่และเสื่อมลงด้วยกัน ทั้งสองฝ่าย (และต่างฝ่ายต่างโทษกัน)

วิกฤตการณ์ความขัดแย้งที่รุนแรงที่ ส่อแววนำพาประเทศชาติไปสู่หายนะอันใกล้นี้ แท้จริงแล้วเป็นเพียงยอดภูเขาน้ำแข็งที่โผล่ออกมาให้เห็นนิดหน่อยเท่านั้น เป็นฟางเส้นท้ายๆ ที่ถูกสั่งสมมาจากสาเหตุหลักที่คนไทยส่วนใหญ่ถูกวางยาทำลายวิถีสามัคคีทำบุญ ร่วมกันไปถึง ๕๐ ปี (ปีละ ๕๐ ครั้ง รวมเป็นจำนวน ๒,๕๐๐ ครั้งแล้วที่ครอบครัวและชุมชนไทยพุทธไม่ได้ทำบุญร่วมกัน เท่ากับสังคมไทยขาดยาไป ๒๕๐๐ doses จึงป่วยใกล้ตายแบบนี้) เมื่อกินแต่บุญเก่าบุญใหม่ไม่เติม  เติมแต่บาปอกุศลทุกวันทุกคืน บาปมวลรวมประชาชาติจึงหนักยิ่งยวด แต่บุญมวลรวมเบาโหวงเหวง เมื่อกระบวนการ (process) แห่งความรักสมัครสมานสามัคคีไม่มี เมื่อกระบวนการ (process) แห่งความละอายชั่วกลัวบาปไม่มี เมื่อกระบวนการ (process) แห่งบุญกุศลไม่มี เกิดขึ้นซ้ำๆ เป็นวิถีชีวิต  ผลลัพธ์ (output) จึงเป็นอย่างที่เห็น ครอบครัวไม่อบอุ่น ชุมชนไม่เข้มแข็ง แตกแยกสามัคคีไปทุกหย่อมหญ้า ปัจเจกบุคคลเสื่อมทรามจากศีลธรรม ไม่ละอายชั่วกลัวบาปไม่ใฝ่บุญใฝ่กุศล (จะหวัง นักการเมืองดี หมอ ครู ฯลฯดีจากไหน ถ้าไม่มีprocessสร้าง) ละโมบโลภมากเข้ามายื้อแย่งอำนาจและผล ประโยชน์  ความ โกรธที่เกรี้ยวกราดรุนแรงจองเวรอาฆาตไม่สิ้นสุดกับ ฝ่ายตรงข้ามที่ยื้อแย่งกัน  ความหลงงมงายในลัทธิความเชื่อทางการเมืองที่ถูกปลุกปั่นจนสุดโต่งไม่มีใคร ยอม ใคร จึงเป็นสิ่งที่เห็นได้ดาษดื่น และนับวันแต่จะทวีความรุนแรงมากขึ้น  หากไม่ตัดตอนวิถีทำบาปร่วมกัน แล้วหวนกลับมาฟื้นฟูวิถีทำบุญร่วมกัน ให้วันพระ ย้อนกลับมาเป็น “วันแห่งสติ” ของสังคมไทยอีกครั้ง มัวแต่แก้ไขที่เปลือกผิวด้วยเทคนิคทางรัฐศาสตร์ นิติศาสตร์เท่านั้น สังคมไทยจะเข้าสู่มิคสัญญีและกลียุคเป็นแน่แท้ ดังนั้นการที่ช่วยกันฟื้นคืนให้วิถีทำบุญร่วมกัน กลับมาเป็นอ้อมกอดอันอบอุ่นและปลอดภัยของมารดาคือธรรมะ ให้แก่ครอบครัวชุมชนและสังคมไทยอีกครั้ง ให้กลับมาเป็น minimum standard ของสังคมไทยอีกครั้ง  จึงเป็นหนทางเดียวหรือเป็นรถไฟขบวนสุดท้ายแล้วที่เราจะมีโอกาส เยียวยากันและกัน โดยตรงไปที่สาระอันเป็นการปฏิบัติบูชาที่แท้จริง และยั่งยืน.

ไม่ว่าวิกฤตการณ์ในปัจจุบันจะเลว ร้ายเพียงใดก็ตาม หากเราทำให้มนุษย์สามารถค้นพบและดึงด้านที่ดีงามของจิตใจออกมาให้ได้ เกิดปัญญาอันมีกำลังที่เอาชนะด้านมืดในใจให้จางหายมลายไปได้ ด้วยการทำบุญร่วมกันให้เป็นวิถี เราจะสามารถพลิกฟื้นสังคมไทยจากหุบ เหวแห่งหายนะ แล้วก้าวข้ามหรือยกระดับไปสู่สำนึกสาธารณะที่จะมาร่วมกันสร้างสรรค์ให้ ประเทศไทยเป็นประเทศที่น่าอยู่ที่สุดในโลก  ให้การรับรู้ของคนทั่วโลกที่มีต่อคนไทย ว่าเป็นคนมีน้ำใจ ให้อภัย ใฝ่บุญกุศล ได้อีกครั้งหนึ่ง

ในโอกาสนี้  เครือข่าย ๒๖๐๐-๘๔ พุทธชยันตีเฉลิมราช ขอเชิญชวนให้พุทธศาสนิกชนทุกท่าน มาร่วมบุญกุศลอันยิ่ง ใหญ่  ด้วยการช่วยกันคิดกิจกรรมการทำบุญกุศลร่วมกันในระดับครอบครัว ชุมชน และช่วยกันฟื้นคืนให้เป็น “วิถีทำบุญร่วมกัน” ของชุมชนชาวไทยพุทธอีกสักครั้ง เพื่อเป็นการปฏิบัติบูชา เฉลิมฉลองแด่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในโอกาสตรัสรู้ครบ ๒,๖๐๐ ปี และน้อมถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่จะทรงมีพระชนมายุ ๘๔ พรรษา  ดังนี้

๑. สื่อสารวันพระให้เป็น “วันแห่งสติ” คิดค้นวิธีการสื่อสารความดี ให้คนได้ระลึกถึง “วันพระ” ในทุกๆ วันพระ (ทุกๆ ๗-๘ วัน: ขึ้น ๘ ค่ำ, ขึ้น ๑๕ ค่ำ, แรม ๘ ค่ำ, แรม ๑๔/๑๕ ค่ำ) เพื่อสร้าง จิตวิทยาการเรียนรู้โดยรวมทั้งสังคมไทย ให้เกิดความตื่นรู้ในทุกวันพระ ทำให้วันพระเป็น “วันแห่งสติ” ของสังคมไทยอีกครั้ง (เป็นวันแห่งการละอายชั่วกลัวบาป วันแห่งบุญกุศล วันแห่งการรับธรรมโอสถ)  มาตรฐานขั้นต่ำอยู่ที่ เดือนละ ๔ ครั้ง หรือ  ปีละประมาณ ๕๐ ครั้ง

๒. ทำบุญใหญ่ร่วมกันทุกวันเพ็ญ มีกิจกรรมการแสดงออกร่วมกัน ถึงการทำบุญกุศลครั้งใหญ่ ละบาปอกุศลความชั่วครั้งใหญ่ ในระดับชุมชน หมู่ของครอบครัว หรือหน่วยงานองค์กรของตนเอง ในทุกๆ วันพระที่เป็นวันเพ็ญ(ขึ้น ๑๕ ค่ำ คืนจันทร์เต็มดวง)  มาตรฐานขั้นต่ำตกเดือนละ ๑ ครั้ง  หรือ ปีละ ๑๒ ครั้ง

๓. ทำบุญร่วมกันทุกสัปดาห์ มีกิจกรรมในระดับครอบครัวของ ตนเองหรือระดับส่วนบุคคล ที่ทำให้ได้ทำบุญ หรือเรียนรู้ธรรมะร่วมกัน หรือเป็นกิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว อย่างน้อยสัปดาห์ละ ๑ ครั้ง  อาจเลือก ทุกวันเสาร์ ทุกวันอาทิตย์ หรือทุกวันพระ ก็ได้ ตามความสะดวกและเหมาะสม ซึ่งจะตกประมาณ ปีละ ๕๐ ครั้ง เป็นอย่างน้อย

ถ้าทำ อย่างนี้ได้สำเร็จ จะทำให้สังคมไทยพุทธ ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่กว่า ๙๕ % ของสังคมไทย
ได้มีมาตรฐานขั้น ต่ำสุด (minimum standard) ทาง ศีลธรรมกลับมาสักที
เป็นกระบวนการเรียน รู้ที่จะทำให้ครอบครัวชุมชน ได้ละอายชั่วกลัวบาป  ใฝ่บุญใฝ่กุศล ทุก ๗-๘ วัน
เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่จะทำให้ ครอบครัวชุมชน ได้มีความอบอุ่นและรักใคร่สามัคคีกัน ทุก ๗-๘ วัน
ได้เกิดเป็นวิถีซ้ำๆ ที่ลงมือปฏิบัติกันจริงๆ มิใช่แค่สักแต่ว่ารณรงค์แต่ไม่มีกระบวนการ!!
ขอทุกท่านผู้มีสัทธาและปัญญาในพุทธ ศาสนาอย่างแท้จริง ได้โปรดปรึกษาหารือคิดค้นกิจกรรมร่วมกัน แล้วร่วมกันดำเนินการกิจกรรมนั้นๆ ให้เกิดการสืบต่อต่อเนื่อง เกิดการยอมรับรู้สึกเป็นเจ้าของอย่างลงตัว จนกลายเป็นวิถีชีวิตชาวพุทธที่ดีงามในสังคมไทยขึ้นมาได้อีกครั้งหนึ่ง

แล้วถ้ามีความคืบหน้าอย่างไร ได้โปรดส่งข่าวสารให้ได้รับทราบและอนุโมทนาในบุญกุศล นี้ร่วมกันต่อไป

ธรรมอาสาสมัครเครือข่าย “๒,๖๐๐-๘๔ พุทธชยันตีเฉลิมราช

ที่มา: http://docs.google.com/Doc?docid=0Aa-U51-jQfloZGR6MjY1aGtfNmNzZjd3NXI2&h…