สมาทานศีลเพื่อการชุมนุมอย่างสันติ
ข้าพเจ้าทั้งหลายได้มาร่วมกันในที่นี้ด้วยความมุ่ง หมายที่จะรักษาธรรมะ
คือความถูกต้องดีงามให้เป็นหลักของแผ่นดิน
ดังนั้นจึงขอสมาทานเอาธรรมะเป็นข้อปฏิบัติในการ ชุมนุมดังต่อไปนี้
•  ข้าพเจ้าจะไม่ใช้กำลังทำร้ายผู้ใด
•  ข้าพเจ้าจะไม่ทำลายหรือล่วงละเมิดทรัพย์สินของผู้อื่นตลอดจนสมบัติสาธารณะ
•  ข้าพเจ้าจะกล่าวแต่ความจริง ไม่ใช้ถ้อยคำที่หยาบคายหรือยั่วยุให้เกิดความรุนแรง
•  ข้าพเจ้าจะรักษาสติให้มั่นคง อดทนต่อการยั่วยุ และไม่ใช้ความรุนแรงตอบโต้
•  ข้าพเจ้าจะเคารพในศักดิ์ศรีและความเป็นมนุษย์ของทุกคน รวมทั้งผู้ที่เห็นต่างจากข้าพเจ้า

นัตถิเม สะระณัง อัญญัง             ที่ พึ่งอย่างอื่นของข้าพเจ้าไม่มี
พุทโธ เม สะระณัง วะรัง              พระ พุทธเจ้าเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้า
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ                ด้วย การกล่าวคำสัตย์นี้
โสตถิเม โหตุสัพพะทา               ขอ ความสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้า
นัตถิเม สะระณัง อัญญัง             ที่ พึ่งอย่างอื่นของข้าพเจ้าไม่มี
ธัมโม เม สะระณัง วะรัง              พระ ธรรมเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้า
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ                ด้วย การกล่าวคำสัตย์นี้
โสตถิเม โหตุ สัพพะทา               ขอ ความสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้า
นัตถิเม สะระณัง อัญญัง             ที่ พึ่งอย่างอื่นของข้าพเจ้าไม่มี
สังโฆ เม สะระณัง วะรัง              พระ สงฆ์เป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้า
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ                ด้วย การกล่าวคำสัตย์นี้
โสตถิเม โหตุสัพพะทา               ขอ ความสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้า
พลังของสันติวิธี 
ประวัติศาสตร์ทั่วทุกมุมโลกเต็มไปด้วย เรื่องราวความสำเร็จของสันติวิธี สันติวิธีประสบผลสำเร็จได้มิใช่เพราะคู่กรณีเกิดใจอ่อน มีเมตตาสงสารผู้ใช้สันติวิธี หรือเพราะ
เป็นสุภาพชน แม้ว่ากรณีเช่นนั้นจะเคยปรากฏอยู่บ้าง แต่นั่นมิใช่ปัจจัยชี้ขาดหรือเป็นปัจจัยเดียวที่ทำให้สันติวิธีบรรลุผล แท้ที่จริงแล้วความสำเร็จของสันติวิธีเกิดจากพลังในตัว
ที่ส่งผลต่อคู่กรณี หาได้เกิดจากการริเริ่มหรือความสมัครใจของคู่กรณีเป็นสำคัญ แต่เป็นเพราะคู่กรณีมิอาจฝืนทานพลังของสันติวิธีต่างหาก
พลังของสันติวิธีมี ๒ ประการคือ
๑ . พลังทางการเมือง
พลังของสันติวิธีอยู่บนพื้นฐานความ จริงที่ว่า อำนาจเกิดจากการยอมรับและยินยอมเชื่อฟัง จะโดยสมัครใจหรือจำยอมก็แล้วแต่ บุคคลหรือระบอบใดจะมีอำนาจได้
ก็เพราะได้รับการยอมรับและเชื่อฟังจากผู้อื่น เช่น ยอมทำตามคำสั่ง ยอมปฏิบัติตามระเบียบ ยอมจ่ายภาษี เป็นต้น กล่าวอย่างเป็นรูปธรรมก็คือ ผู้ปกครองมีอำนาจได้
ก็เพราะประชาชนเชื่อฟัง แม่ทัพนายกองมีอำนาจได้ก็เพราะทหารชั้นผู้น้อยเชื่อฟัง เจ้าของโรงงานมีอำนาจได้ก็เพราะกรรมกรเชื่อฟัง แต่เมื่อใดก็ตามที่การยินยอม
เชื่อฟังนั้นลดน้อยถอยลงหรือปลาสนาการไป อำนาจของบุคคลหรือระบอบเหล่านั้นก็หายไปด้วย ไม่ว่าอำนาจทางเศรษฐกิจ การเมือง และการทหาร
สันติวิธีมีพลังตรงที่มันสามารถลด ทอนอำนาจของบุคคลหรือระบอบที่ทรงอำนาจได้ โดยเพียงแต่ประชาชนเพิกถอนการยินยอมเชื่อฟังหรือปฏิเสธที่จะให้ความร่วมมือ
แก่บุคคลหรือระบอบเหล่านั้น ( ที่เรียกว่า “ การแข็งขืนอย่างอารยะ ” ) หากการเพิกถอนนั้นเป็นไปอย่างกว้างขวาง บุคคลหรือระบอบเหล่านั้นจะสูญเสียอำนาจอย่าง
ฮวบฮาบ จนไม่อาจดำรงอยู่ได้อีกต่อไป
ผู้ใช้สันติวิธีอาจเป็นฝ่ายปฏิเสธ ที่จะยินยอมเชื่อฟังโดยลำพังฝ่ายเดียว หรือกระตุ้นให้ฝ่ายที่สามร่วมมือในการเพิกถอนการยินยอมเชื่อฟังด้วยก็ได้ ฝ่ายที่สามอาจได้แก่
พลทหารในกองทัพที่ถูกผู้บังคับบัญชาสั่งให้มาปราบปรามประชาชนที่ใช้สันติ วิธีก็ได้ ตัวอย่างเด่นชัดได้แก่กรณีต่อต้านพระเจ้าซาร์ในรัสเซีย ( ปี ๒๔๔๘ ) การคัดค้าน
รัฐประหารในเยอรมนี ( ๒๔๖๓ ) ในอัลจีเรีย ( ๒๕๐๑ ) การต่อต้านรัสเซียในเชโกสโลวะเกีย ( ๒๕๑๑ ) การขับไล่มาร์คอส ( ๒๕๒๙ ) และการโค่นล้มเผด็จการใน
ยูโกสลาเวีย ( ๒๕๔๓ )
นอกจากการลดทอนอำนาจของคู่กรณีแล้ว สันติวิธียังมีพลังตรงที่มันสามารถเพิ่มพูนอำนาจให้แก่ฝ่ายที่ใช้สันติวิธี ด้วย กล่าวคือทำให้ประชาชนทั่วไปเปลี่ยนจากการ
ยินยอมเชื่อฟังผู้มีอำนาจที่เป็นคู่กรณี ( ซึ่งอาจเป็นผู้ปกครอง นายทุน หรือผู้มีอิทธิพล ) มาเป็นการให้ความยอมรับแก่กลุ่มคนที่ใช้สันติวิธี จนสามารถผลักดันให้ผู้มี
อำนาจต้องโอนอ่อนผ่อนตามตามข้อเรียกร้องของผู้ใช้สันติวิธี ดังกรณีขบวนการเรียกร้องเอกราชของคานธี ขบวนการเพื่อสิทธิของคนผิวดำนำโดยมาร์ติน ลูเธอร์ คิง
หรือขบวนการโซลิดาริตี้ในโปแลนด์
๒ . พลังทางใจ
พลังทางการเมืองของสันติวิธีดัง กล่าวมาเป็นพลังที่เกิดจากการแสดงออกในเชิงปฏิเสธ ( เช่น การปฏิเสธที่จะเชื่อฟัง และปฏิเสธที่จะใช้ความรุนแรง ) แต่ยังมีพลังอีก
ประการหนึ่งที่เกิดจากคุณภาพภายในเชิงบวกของผู้ใช้สันติวิธี ซึ่งนอกจากจะไม่มุ่งร้ายแล้ว ยังมีความปรารถนาดีต่อคู่กรณี รวมทั้งยึดมั่นในสัจจะและความดีงาม นี้คือพลัง
ทางใจที่มีผลต่อพฤติกรรมของผู้อื่น และสามารถก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในสังคมได้
สำหรับคนเป็นอันมาก สันติวิธีมิใช่เป็นเพียงยุทธวิธีในการต่อสู้กับผู้มีอำนาจ หากเป็นการกระทำที่ออกมาจากชีวิตด้วยจิตใจที่ใฝ่อหิงสธรรม คือการไม่คิดเบียดเบียนมุ่งร้าย
และไม่แบ่งฝ่าย กล่าวคือมิได้เห็นคู่กรณีเป็นฝ่ายตรงข้ามหรือเป็นปรปักษ์ แต่เป็นเพื่อนร่วมชาติ เพื่อนร่วมโลก และที่สำคัญคือเป็นเพื่อนมนุษย์ซึ่งรักสุขเกลียดทุกข์ มีรอยยิ้ม
และน้ำตาเหมือนเรา จุดร่วมระหว่างเรากับเขานั้นมีมากยิ่งกว่าจุดต่าง
สันติวิธีในแง่นี้จึงมิได้มีความ หมายโดยนัยลบ คือการไม่ใช้ความรุนแรงเท่านั้น แต่ยังมีนัยบวกคือการตั้งมั่นในความรักและความปราถนาดี แรงบันดาลใจอีกประการหนึ่ง
คือความใฝ่ในสัจจะ ความรักในสัจจะทำให้บุคคลเข้าหาผู้อื่นอย่างอ่อนน้อมถ่อมตน ปรารถนาที่จะแสวงหาสัจจะแม้กระทั่งในหมู่คู่กรณี พร้อมที่จะเปิดใจรับฟังเขา
ขณะเดียวกัน ก็กล้าหาญพอที่จะยอมทุกข์ทรมานเพื่อยืนหยัดในสัจจะของตนให้อีกฝ่ายได้รับรู้ และถอนตนออกจากความเท็จและอสัตย์ที่ปกคลุมใจ
ใจที่ปรารถนาดี ใบหน้าที่แย้มยิ้ม ริมฝีปากที่อำนวยพรด้วยเสียงเพลงและบทสวด มือที่หยิบยื่นดอกไม้และผ้าเย็นให้ ตลอดจนการยืนหยัดในประเด็นที่ชอบธรรม มั่นคง
ในสัจจะ ย่อมมีผลโน้มน้าวชักชวนให้ผู้คนแวดล้อมที่เคยอยู่กลาง ๆ หันมาเป็นมิตร และเข้าร่วมสนับสนุนปฏิบัติการสันติวิธีด้วย
ที่สำคัญก็คือใจที่เปี่ยมด้วย คุณภาพดังกล่าวยังมีผลทางใจต่อฝ่ายคู่กรณี ทั้งนี้เพราะกิริยาภายนอกและภาวะภายในที่เป็นมิตรดังกล่าว ถึงที่สุดแล้วย่อมสามารถทำลายอคติ
และความรู้สึกในทางร้ายที่คู่กรณีมีต่อผู้ใช้สันติวิธี สามารถซึมผ่านเกราะกำบังชั้นนอกที่ฉาบทาด้วยความรู้สึกเป็นปฏิปักษ์ เกลียดชัง
เข้าสู่จิตส่วนลึก ซึ่งประกอบไปด้วยความรัก ความเมตตา และสามารถปลุกเร้าจิตส่วนดีนี้ให้มีพลังเอาชนะจิตชั้นนอกอันหยาบกระด้างได้ เกิดความรู้สึกเป็นมิตรเข้ามาแทนที่
ความเปลี่ยนแปลงทางด้านความรู้สึก นึกคิดดังกล่าวมักเกิดขึ้นเป็นพิเศษกับฝ่ายคู่กรณี ( เช่นทหารหรือตำรวจ ) ที่ถูกส่งให้มาประจันหน้ากับผู้ที่ใช้สันติวิธี การเผชิญหน้า
ดังกล่าวเปิดโอกาสให้ความสัมพันธ์ส่วนตัวได้พัฒนาขึ้นมาระหว่างบุคคลสองฝ่าย ผลก็คือเมื่อผู้มีอำนาจสั่งให้ปราบปรามผู้ใช้สันติวิธี ทหารหรือตำรวจอาจไม่ยินยอมที่จะปฏิบัติ
ตาม ซึ่งทำให้คำสั่งของผู้มีอำนาจเป็นหมันไป ดังกรณีที่เกิดกับมาร์คอสเมื่อ ๒๐ ปีที่แล้ว
อย่างไรก็ตามบ่อยครั้งที่การปราบ ปรามด้วยความรุนแรงได้เกิดขึ้น จนมีผู้บาดเจ็บล้มตาย แต่นั่นมิอาจถือได้ว่าเป็นความล้มเหลวของสันติวิธี ตรงกันข้ามกลับเป็นจุดเริ่มต้น
ของความพ่ายแพ้ของผู้มีอำนาจ เพราะการใช้ความรุนแรงกับประชาชนผู้ไร้อาวุธ ย่อมทำให้ผู้ปราบปรามสูญเสียความชอบธรรมในสายตาของคนทั่วไป ยิ่งผู้ถูกกระทำนั้น
ยังยืนหยัดมั่นคงในสันติวิธี ไม่ใช้ความรุนแรงตอบโต้ ก็ยิ่งทำให้ผู้คนที่ยังเป็นกลางหันไปให้ความเห็นใจแก่ผู้ถูกปราบปราม ผลก็คือความรุนแรงนั้นเองย้อนกลับไปบั่นทอน
อำนาจของผู้ใช้อาวุธ และกลายเป็นภัยต่อผู้มีอำนาจ ดังคานธีได้เขียนว่า “ อำนาจของทรราชจะวกกลับมาที่ตัวเขาเองเมื่อไม่พบกับการตอบโต้ เช่นเดียวกับเมื่อสะบัดแขน
ฟาดกับอากาศอย่างรุนแรง ผลคือกระดูกเคลื่อนและปวดร้าว ”
นี้คือเหตุผลที่ทำให้ระบอบถนอม – ประภาพต้องล้มพังครืนหลังจากเหตุการณ์ ๑๔ ตุลา เช่นเดียวกับรัฐบาลของพลเอกสุจินดาจากเหตุการณ์พฤษภาหฤโหด
ระบอบทักษิณจะพบกับกาลวิบัติเช่นกัน หากขืนใช้ความรุนแรงกับประชาชน ตราบใดที่ประชาชนยังมั่นคงในสันติวิธี ไม่ตอบโต้ด้วยความรุนแรงและยึดมั่นใน
ความถูกต้องดีงาม

อยู่กับความขัดแย้งการเมืองอย่างไร ไม่ให้ทุกข์ : วิถีแบบพุทธ 
มีผู้กล่าวไว้ว่า หากอยากรักษาไมตรีกับใคร ก็อย่าคุยเรื่องการเมือง เพราะลักษณะของการเมืองที่เป็นอยู่ในปัจจุบันมักจะทำให้เกิด “คู่” ความขัดแย้งที่เห็นแตกต่างกัน
คนละขั้วอยู่เสมอ นำไปสู่การแยกเขา – แยกเรา ความเครียด ความโกรธ เกลียด อยากเอาชนะ ฯลฯ เกิดความไม่สบายใจ ซึ่งหากไม่รู้จักวิธีการผ่อนและคลาย ก็จะสะสม
กลายเป็นความทุกข์ก่อผลร้ายแก่ร่างกายและจิตใจ ข่าวจากการทำโพลระบุว่า คนไทยไม่น้อยกำลังเครียดและทุกข์จากวิกฤตการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน ไม่ว่าในที่ทำงาน
ที่บ้าน ฯลฯ
วิธีการต่อไปนี้สามารถช่วยให้เรามีสภาพจิตใจและร่างกาย ที่ไปพ้นจากความเครียดความทุกข์ ที่เกิดจากความขัดแย้งทางการเมืองได้ หากทดลองปฏิบัติกันดู คือ
๑ . เปิดใจกว้าง ไม่มองผู้ที่เห็นต่างจากเราเป็นศัตรู
คนเรานั้นเห็นต่างกันได้ จึงเป็นธรรมดาที่มีบางคนหรือหลายคนยังนิยมชมชื่นคนที่เราไม่ชอบ การที่เขาเห็นต่างจากเราเพราะได้รับข้อมูลต่างจากเรา หรือเพราะมีเกณฑ์วัด
ความดีหรือความสำเร็จไม่เหมือนเรา ฯลฯ จะเป็นเพราะเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ ข้อสำคัญก็คือคนที่เห็นต่างจากเรา ไม่ใช่คนเลว คนดีก็มีสิทธิเห็นต่างจากเราได้ ดังนั้นจึง
ไม่ควรเห็นเขาเป็นศัตรู
ขอให้ระลึกว่า เขาอาจเห็นต่างจากเราในเรื่องนี้ แต่เรื่องอื่นอาจเห็นเหมือนกับเรา และเรื่องที่เห็นเหมือนกันนั้นอาจมีมากกว่าเรื่องที่เห็นต่างกันก็ได้
๒ . มองให้ไกล แล้วช่องว่างจะลดลง
แม้สองฟากถนนจะห่างกัน แต่เมื่อมองไกลสุดสายตา ทั้งหมดก็ไปบรรจบที่จุดเดียวกัน ฉันใดก็ฉันนั้น วันนี้เรากับเขาอาจอยู่คนละมุม แต่พรุ่งนี้เรากับเขาอาจร่วมมือร่วมใจ
กันในเรื่องใดเรื่องหนึ่งก็ได้ ( ปรากฏการณ์ที่เห็นชัดที่สุดคือ ตอนที่คนไทยร่วมใจกู้ภัยสึนามิ ) เพราะฉะนั้นอย่าเพิ่งทะเลาะกันจนมองหน้าไม่ติด วันพรุ่งนี้ยังรอให้เรามาจับมือ
กันทำงานใหญ่ก็ได้
อย่าลืมว่าถึงอย่างไรเขาก็เป็นคนไทยเช่นเดียวกับเรา มิหนำซ้ำบางคนก็เป็นคู่รักและผู้มีพระคุณกับเรา บุคคลที่เป็นชนวนให้เกิดความเห็นแตกต่างกันอย่างเอาเป็นเอาตาย
นั้น ไม่ช้าก็เร็ว เขาก็ต้องไป ( จะด้วยเหตุผลใดก็แล้วแต่ ) แต่เราทุกคนที่เหลือยังจะต้องอยู่ร่วมกันบนผืนแผ่นดินนี้ และบางคนก็ยังต้องอยู่ร่วมบ้านเดียวกัน ร่วมสำนักงาน
เดียวกัน ในเมื่อเราทุกคนยังจะต้องอยู่ร่วมกันไปอีกนาน ดังนั้นจะทะเลาะวิวาทกันไปทำไม อย่าให้ใครคนเดียว มาเป็นเหตุให้เราต้องเหินห่างหมางเมินกับคู่รัก พ่อแม่พี่น้อง
หรือมิตรสหายเลย สายสัมพันธ์ของเรามีค่ากว่านั้นมาก
๓ . เอาคู่ตรงข้ามออกจากใจบ้าง
อย่าให้คู่ตรงข้ามที่เราไม่ชอบ ไม่เห็นด้วย ยึดครองจิตใจของเรา จนไม่มีที่ว่างให้กับเรื่องอื่น ๆ ที่สำคัญเลย ชีวิตเรายังมีอีกหลายเรื่องที่สำคัญ เอาเขาออกไปจากใจ
ของเราเสียบ้าง จิตใจของเราจะได้โปร่งโล่งหายอึดอัดกลัดกลุ้ม อย่างน้อยเวลากิน เวลานอน ก็อย่าไปหมกมุ่นครุ่นคิดว่าใครจะอยู่หรือไป ใครแพ้ใครชนะ เวลาทำงาน
ก็ตั้งใจทำงานอย่างเต็มที่ อย่าเอาเขามาเป็นอารมณ์จนไม่เป็นอันทำงานหรือเสียสมาธิ
ข่าวสารการเมืองจากหนังสือพิมพ์ วิทยุ หรือโทรทัศน์ เป็นสิ่งที่เราควรสนใจก็จริงอยู่ แต่อย่าเสียเวลากับข่าวเหล่านั้น จนไม่เป็นอันทำอย่างอื่น อย่าลืมว่าการเมืองไม่ใช่
ทั้งหมดของชีวิตเรา หากเป็นเพียงส่วนหนึ่งของชีวิตเท่านั้น ชีวิตเรายังมีอีกหลายเรื่องที่ควรใส่ใจ
๔ . แผ่เมตตาให้คู่ตรงข้ามบ้าง
ความโกรธเกลียดไม่เป็นผลดีแก่จิตใจของเรา ทุกครั้งที่เรารู้สึกโกรธเกลียด มีจิตปรารถนาร้ายต่อใคร คนแรกที่ถูกทำร้ายคือเรา ความโกรธเกลียดนั้นทำร้ายเราก่อนที่จะ
ไปทำร้ายคนอื่นเสียอีก เพียงแค่คิดถึงเขาก่อนนอน ก็อาจทำให้เรานอนไม่หลับ เกิดความเครียด ความดันโลหิตขึ้น อย่าปล่อยให้ความโกรธเกลียดบั่นทอนจิตใจของเรา
ขับไล่ความโกรธเกลียดไปด้วยการแผ่เมตตา ทุกคืนก่อนนอน ลองแผ่เมตตาให้คู่ตรงข้ามกับความคิดของเรา อธิษฐานด้วยความปรารถนาดี ขอให้เขาหลุดพ้นจากวังวน
แห่งความทุกข์ ขอให้ความโลภ โกรธ หลงอย่าได้เกาะกุมจิตใจเขาเลย ขอให้เขามีสัมมาทิฏฐิและมีโอกาสเข้าถึงความสงบสุขที่ลึกซึ้งในชีวิตด้วยเทอญ เวลาอ่าน
หนังสือพิมพ์ ฟังวิทยุ หรือดูโทรทัศน์พบเห็นภาพของคู่ตรงข้ามที่เราไม่ชอบใจ ก็แผ่เมตตาทำนองนี้ให้เขาด้วยก็ดี อย่างน้อยใจเราจะได้ไม่เร่าร้อนหรือถูกเผาลนด้วย
ความโกรธเกลียด
๕ . ผ่อนคลายด้วยลมหายใจ
เมื่อมีความเครียดหรือรู้สึกโกรธเกลียด ลองดับความเร่าร้อนด้วยลมหายใจดูบ้าง โดยหายใจเข้าลึก ๆ ช้า ๆ หายใจออกยาว ๆ ช้า ๆ น้อมใจมาอยู่ที่ลมหายใจทั้งเข้า
และออก ให้ใจอิงแอบอยู่กับลมหายใจอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง พร้อมกับนับทุกครั้งที่หายใจออก เริ่มจาก ๑ ไปถึง ๑๐ จะทำกี่รอบก็ได้ ยิ่งนานยิ่งดี บางครั้งใจจะเผลอ
แวบไปนึกเรื่องอื่น รู้ตัวเมื่อไร ก็ดึงจิตกลับมาที่ลมหายใจ ถ้าจำไม่ได้ว่านับไปถึงไหนแล้ว ก็ให้เริ่มนับ ๑ ใหม่
วิธีนี้ทำได้ทุกที่ ระหว่างชุมนุมก็ได้ ดูทีวี หรือระหว่างนั่งรถก็ได้ หรือระหว่างที่กำลังฟังคนที่เห็นต่างจากเราก็ได้ วิธีนี้นอกจากจะช่วยให้จิตใจผ่อนคลาย หายเร่าร้อนแล้ว
ยังทำให้เกิดความสงบภายใน และช่วยให้สมองปลอดโปร่ง คิดอะไรได้ดีขึ้น
๖ . พักผ่อนให้เต็มที่
อย่าให้การเมืองแย่งเวลาของการพักผ่อนและนอนหลับอย่างเต็มที่ การอดนอนอย่างสะสมจะทำให้สมองตื้อและเครียด หงุดหงิดฉุนเฉียวได้ง่าย เรื่องเล็กอาจกลายเป็น
เรื่องใหญ่ ดังนั้นควรหาเวลาพักผ่อน ไม่จดจ่อแต่การเมือง การอยากเอาชนะ การจัดเวลาจึงมีความสำคัญ
นอกจากการพักกายแล้ว ก็ควรพักใจด้วย โดยการปล่อยวางจากเรื่องที่เคร่งเครียดบ้าง หรือถอนตัวออกจากเหตุการณ์ที่วุ่นวายสักระยะหนึ่ง จะใช้ลมหายใจช่วยด้วยก็ได้
เมื่อจิตใจปลอดโปร่ง ตั้งหลักให้สบายคลายเครียดแล้ว ค่อยมาติดตามต่อไป

       หากทำได้อย่างนี้ ก็จะอยู่อย่างไม่ทุกข์ หรือทุกข์น้อย ทุกข์ไม่นาน กับสถานการณ์ความขัดแย้งในวิกฤตการณ์ปัจจุบัน และยังอาจมีพลังของการ
สร้างสรรค์สิ่งดีงามได้อีกด้วย

พลังของประชาชนมิได้อยู่ที่พละกำลังหรืออาวุธ แต่อยู่ที่ปฏิบัติการสันติวิธี สันติวิธีนอกจากจะทำให้การต่อสู้ของประชาชนมีความชอบธรรมแล้ว ยังสามารถเรียก
เสียงสนับสนุนจากผู้คนและขยายแนวร่วมได้อย่างกว้างขวาง หากผู้ชุมนุมยึดมั่นในสันติวิธี แม้จะถูกกระทำด้วยความรุนแรง แต่ไม่ตอบโต้ด้วยความรุนแรงกลับไป
ยิ่งจะทำให้มหาชนเห็นใจและให้ความสนับสนุนอย่างท่วมท้น จนอาจทำให้ฝ่ายที่ใช้กำลังต้องประสบกับความพ่ายแพ้หรือสูญเสียความชอบธรรม
ด้วยเหตุนี้จึงมีความจำเป็นอย่างมากที่ผู้ชุมนุมจะ ยึดมั่นในสันติวิธีอย่างเคร่งครัด โดยปฏิบัติดังนี้
๑ . ไม่พกพาอาวุธหรือสิ่งที่เป็นอาวุธได้ เช่น มีดพก คัตเตอร์ พึงระลึกว่าอาวุธเหล่านี้อาจเป็นข้ออ้างในการสลายการชุมนุมได้
๒ . ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ เช่น เหล้า เบียร์ ไวน์ ทั้งก่อนและระหว่างการชุมนุม เพราะอาจทำให้ขาดสติและการยับยั้งชั่งใจ
๓ . ไม่มองผู้ที่เห็นต่างจากเราเป็นศัตรูหรือฝ่ายตรงข้าม ปฏิบัติกับทุกคนรวมทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจด้วยความสุภาพ
๔ . ใช้ถ้อยคำที่สุภาพกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ชี้แจงด้วยเหตุผลกับผู้ที่เห็นต่างจากเรา และเดินหนีห่างหากอีกฝ่ายชวนทะเลาะวิวาทหรือส่งเสียงดัง
๕ . อยู่ในความสงบหรือนั่งลงทันทีเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น มีการชกต่อยหรือทะเลาะวิวาทกัน ไม่ควรเข้าไปมุงดูหรือลุกฮือเข้าร่วม ควรปล่อยให้เจ้าหน้าที่
หรือผู้เกี่ยวข้องเข้าไประงับเหตุ
๖ . หากเห็นผู้น่าสงสัยว่าจะมาก่อกวนแทรกตัวอยู่ในที่ชุมนุม ควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่หรือผู้รักษาความปลอดภัยทราบเพื่อจับตาดูเป็นพิเศษ
๗ . อดทนต่อการยั่วยุจากผู้ที่ต้องการก่อกวนการชุมนุม มีการตักเตือนไม่ให้ผู้ร่วมชุมนุมลุแก่โทสะหรือตอบโต้ด้วยถ้อยคำและการกระทำ ที่รุนแรง
๘ . มีการดูแลซึ่งกันและกันหากมากันเป็นกลุ่ม รวมทั้งมีการนัดแนะล่วงหน้าว่าจะติดต่อกันอย่างไรหากพลัดหลงหรือมีเหตุฉุก เฉินเกิดขึ้น
๙ . บอกกล่าวให้เพื่อน ๆ ในกลุ่มทราบเมื่อออกไปทำกิจส่วนตัวชั่วคราว เช่น ไปซื้อน้ำหรือเข้าห้องน้ำ
๑๐ . พร้อมเพรียงกันให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้นำการชุมนุมบนเวที หรือผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง

* * * * * * * * * * * *

” ในการต่อสู้ด้วยสันติวิธี มหาชนมีอาวุธ ซึ่งเอื้อให้เด็ก ผู้หญิง หรือแม้แต่คนชราผู้ทุพพลภาพสามารถต้านทานคัดค้านรัฐบาลที่ทรงพลังที่สุดได้ อย่างสัมฤทธิผล
หากจิตใจของคุณกล้าแกร่ง การขาดพละกำลังทางกายก็ไม่เป็นอุปสรรคอีกต่อไป 
                    คาน ธี

“ไม่จำเป็นต้องสู้รบเพื่อเอาชนะทรราชคนใดคนหนึ่ง เพราะเขาย่อมศิโรราบโดยอัตโนมัติหากทั้งประเทศปฏิเสธ ไม่ยอมเป็นทาสอีกต่อไป ไม่จำต้องลิดรอนอะไรเขา
เพียงแต่ไม่ให้อะไรเขาสักอย่างเดียว เท่านั้นก็พอ ถ้าเราไม่ให้อะไรแก่ทรราช ไม่ยอมเชื่อฟังเขา โดยไม่ต้องลงมือต่อสู้เขาแม้แต่ครั้งเดียว ทรราชก็จะดูเปล่าเปลือยและ
ทำอะไรไม่ได้ต่อไป เฉกเช่นรากไม้ ซึ่งหากปราศจากดินและอาหารแล้ว ต้นไม้ก็จะเฉาตายไปในที่สุด ”
เอ เตียง เดอ ลาโบเอตี

                                                         * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * 
สันติอาสา
สันติอาสาเป็นกลุ่มอาสาสมัครที่ เข้าร่วมการชุมนุมเพื่อเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ลาออกจากตำแหน่ง ด้วยเหตุผลเรื่องการขาดทางจริยธรรมของผู้นำทางการเมือง
และต้องการให้มีการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองอย่างสันติ วิธีการและเป้าหมายของกลุ่มสันติอาสาจึงยึดมั่นแนวทางสันติวิธี ไม่สนับสนุนการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบทั้งทางกายและวาจาในการชุมนุม
ข้อปฏิบัติของสันติอาสา
•  การให้สติและเป็นตัวอย่างแก่ผู้เข้าร่วมการชุมนุม เมื่อเผชิญเหตุการณ์ความวุ่นวาย อาทิ การนั่งลงอย่างสงบ การเตือนสติผู้ร่วมชุมนุมให้อยู่ในความสงบ
แจ้งเจ้าหน้าที่ พร้อมถูกจับกุม เป็นต้น
•  ปฏิบัติต่อผู้เข้าร่วมการชุมนุม เจ้าหน้าที่ตำรวจ รวมถึงผู้ที่เห็นต่างด้วยความสุภาพ
•  ติดป้ายสัญลักษณ์ ” สันติอาสา ” เมื่อเข้าร่วมการชุมนุมและแจ้งให้เพื่อนทราบเมื่อออกจากที่ชุมนุม
การเข้าร่วมเป็นสมาชิกสันติ อาสา
ท่านสามารถสมัครเป็นสมาชิกสันติอาสาและเข้าร่วม กิจกรรมได้ที่ชุมนุม
โดยสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารของสันติอาสาได้ที่  www.budnet.org    www.semsikkha.org 
ร่วมเรียกร้อง ให้ผู้นำถือคติที่ว่า 
จริยธรรมนำการเมือง ETHICS FIRST

Attachment Size
peaceful_pdf.pdf 349.66 KB