การประกอบการทางสังคมหลายแนวทาง – ทฤษฎีและปฏิบัติการหลายแนวทาง
เพื่อความเข้าใจที่ดีขึ้นของผู้ประกอบการทางสังคม : ประเด็นสำคัญที่แตกต่าง

วีรบูรณ์ วิสารทสกุล : แปลและเรียบเรียง
ภาควิชาพัฒนาชุมชน คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสาตร์ ท่าพระจันทร์
จากบทความ Toward a better understanding of social entrepreneurship : Some important distinctions
ซึ่งขียนโดย Jerr Boschee และ Jim McClurg (2003)
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

ความนำ
คำว่า “ผู้ประกอบการทางสังคม” (social entrepreneurship) เป็นคำๆ หนึ่งในหลายๆ คำที่มีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องมากที่สุด ในแวดวงหน่วยงานที่ไม่หวังผลกำไร ดูเหมือนว่าหลายคนมีการให้ความหมายที่แตกต่างกันออกไป บทความนี้เป็นความพยายามของพวกเราที่จะทำให้ความหมายมีความชัดเจนมากขึ้น จากประสบการณ์ในเรื่องนี้กว่า 50 ปี โดยพวกเราหนึ่งในนั้นอยู่ในตำแหน่งหัวหน้าในบริษัทที่ปรึกษาระดับชาติ และอีกหนึ่งนั้นเป็น CEO ที่สร้างรายได้ประมาณ 15 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกาจากการประกอบการทางสังคม

20 ปีที่แล้ว การประกอบการในความเห็นของการทำกิจกรรมที่ไม่ได้หวังผลกำไร เป็นเรื่องน่ารังเกียจสำหรับบุคคลในภาคส่วนนี้ แนวคิดที่จะผสานพันธกิจเพื่อสังคมกับเรื่องเงินสำหรับคนเหล่านี้เป็นเรื่อง ที่ยอมรับไม่ได้ แต่ทุกวันนี้ คำว่า “ผู้ประกอบการทางสังคม”(social entrepreneurship) กลายเป็นคำที่กล่าวถึงโดยทั่วไป

นายกฯ โทนี่ แบลร์ ของอังกฤษ ภูมิใจกับการเกิดขึ้นของ “การประกอบการทางสังคม” ซึ่งกำลังเปลี่ยนโฉมหน้าของภาคส่วนอาสาสมัคร และในสหรัฐฯ ผู้บริหารระดับสูงของ Independent Sector พูดถึงการประกอบการทางสังคม ในฐานะที่เป็นหนทางใหม่และน่าตื่นเต้นซึ่งจะมีส่วนทำให้รัฐบาลสนับสนุนแผน งานของเขา ทั้งสองมีสิทธิที่จะภาคภูมิใจในความฉลาดขององค์กรที่ไม่หวังผลกำไรเหล่านี้ แต่ส่วนใหญ่สิ่งที่พวกกำลังภาคภูมิใจนั้น หาใช่การกระทำที่เรียกว่า การประกอบการไม่

นี่คือสาระของปัญหา กล่าวคือ สิ่งที่องค์กรไม่แสวงผลกำไรกำลังดำเนินกิจกรรมเพื่อการหารายได้ ไม่ใช่การกระทำของการประกอบการ การหารายได้เข้าองค์กรนั้น อาจเป็นการกระทำที่ดีและเป็นแผนงานที่มีชีวิตชีวา สร้างสรรค์สิ่งใหม่และน่าแปลกใจ แต่มันเป็นเพียง “สิ่งประดิษฐ์ใหม่” (Innovative) ไม่ใช่ “การประกอบการ” (entrepreneurial)

ทำไมความแตกต่างนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญ?
เพราะว่าเพียงแค่การหารายได้ จะไม่ทำให้องค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรมีความยั่งยืน หรือพึ่งตนเองอย่างพอเพียงได้ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ เป็นทรัพยากรที่ล้ำค่าและเป็นเหมือนกลจักรที่ทำให้องค์กรเติบโตได้ในช่วง 20-30 ปีที่แล้ว แต่สิ่งประดิษฐ์ก็สามารถทำได้เท่านั้น สิ่งประดิษฐ์มันเป็นสิ่งหนึ่งที่ต้องออกแบบ พัฒนาและนำไปปฏิบัติในแผนงาน และอีกอย่างที่จะทำให้ยั่งยืนได้คือต้องได้รับการบริจาคและการอุดหนุนจาก รัฐบาล

กฎของเกมส์ในการผลักดันองค์กรไม่แสวงหากไร ได้ค่อยๆ เปลี่ยนตลอด 20 ปีที่ผ่านมา ต้นทุนค่าบริหารสูงขึ้นเรื่อยๆ ทรัพยากรที่เคยได้จากแหล่งเดิมๆ ก็เริ่มลดน้อย จำนวนการแข่งขันขององค์กรไม่แสวงหากำไรเพื่อของบประมาณสนับสนุนและอุดหนุน มากขึ้นเป็น 3 เท่า ผู้จัดการองค์กรที่ฉลาดและคณะกรรมการบริหารตระหนักดีว่า พวกเขาต้องพึ่งตัวเองให้มากขึ้นเพื่อความอยู่รอด และนั่นได้ผลักดันให้เขาเข้าสู่โลกของการประกอบการ

อย่างไรก็ตาม ผู้จัดการและคณะกรรมการองค์กรไม่แสวงหากำไรจำนวนไม่น้อย ยังคงใช้แนวทางเดิมๆ และความหมายเก่าๆ โปรยข้อความอย่างหรูหราในหนังสือและโบชัวร์ของเขา มันถึงจุดที่สิ่งที่ใหม่เกือบทุกอย่างในภาคส่วนที่ไม่แสวงหากำไรนี้ ถูกเรียกว่าเป็น “การประกอบการ”

สิ่งสำคัญ 4 ประการที่แตกต่าง
เริ่มมีมากขึ้นเรื่อยๆ ที่องคค์กรไม่แสวงหากำไรกล้าอ้างว่าตัวเป็นผู้ประกอบการ นั่นคือสิ่งที่ต้องระมัดระวังถึงความแตกต่าง จุดมุ่งหมายของบทความนี้ก็คือ พยายามให้ความหมาย แนวคิดหลักและเชิญชวนผู้อ่านที่อยู่ในแวดวงนี้ ให้ความเห็นเพิ่มเติม

นอกจาก ความแตกต่างระหว่าง “การประกอบการ” และ “การประดิษฐ์” แล้ว พวกเรายังเชื่อว่า มีความแตกต่างที่สำคัญอยู่ 4 ประการ ซึ่งเป็นหลักการที่จะทำความเข้าใจอย่างแท้จริงต่อการประกอบการในภาคส่วนที่ ไม่แสวงกำไร

(1) ความแตกต่างระหว่าง การประกอบการ (entrepreneurship) และ การประกอบการทางสังคม (social entrepreneurship)
(2) ความแตกต่างระหว่าง ความต่อเนื่องยั่งยืน (sustainability) และ การพึ่งตนเองอย่างพอเพียง (self – sufficiency)
(3) ความแตกต่างระหว่าง กลยุทธการหารายได้ (earned income strategies) และ การลงทุนในธุรกิจเพื่อประโยชน์ทางสังคม
(social purpose business ventures)
(4) ความแตกต่างระหว่าง นักประดิษฐ์คิดค้น (innovators) กับ ผู้ประกอบการ (entrepreneurs) และ ผู้จัดการมืออาชีพ (professional managers)

1. ความแตกต่างระหว่าง การประกอบการ (entrepreneurship) และ การประกอบการทางสังคม (social entrepreneurship)
ความหมายของคำว่า “ผู้ประกอบการ” ตามคำแปลของ WEBSTER นั้น บอกว่า เป็น “บุคคล ผู้ซึ่ง จัดระบบ จัดการและคาดเดาได้ถึงความเสี่ยงของการประกอบธุรกิจ” ในปี 1998 Norm Brodsky ได้เขียนบทความลงในวารสาร Inc. โดยขยายเพิ่มเติมว่า “ซึ่งเริ่มต้นเพียงแค่ มีความคิดสัก 1 อย่าง หรือไม่ก็ต้นแบบ 1 ต้นแบบ… ผู้ประกอบการมีความสามารถที่จะนำพาธุรกิจไปให้ถึงจุดที่มันจะสามารถอยู่รอด ได้ด้วยตัวมันเอง บนฐานของการมีกระแสเงินหมนุเวียน”

ข้อความข้างต้นคือสิ่งที่เราให้น้ำหนัก ธุรกิจที่ดำเนินการประสบความสำเร็จหมายถึง สามารถอยู่รอดได้ด้วยการหารายได้ ไม่ใช่จากการขอทุนสนับสนุนหรือการอุดหนุน

ความหมายของผู้ประกอบการทางสังคมที่มีผู้นิยมอ้างถึงมากๆ ในทุกวันนี้ ถูกให้ความหมายโดย ศาสตราจารย์ เจ.เกยกอรีย์ ดีส์ จาก มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดในปี 1998 แต่เนื้อหากลับมองข้ามหลักการพื้นบางอย่างหนึ่ง เขาระบุว่ามี 5 ปัจจัยที่ประกอบขึ้นเป็นความหมายของ ผู้ประกอบการทางสังคม

1) ยอมรับพันธกิจที่จะสร้างและทำให้คุณค่าต่อสังคมมีความยั่งยืน (ไม่ใช่ คุณค่าต่อปัจเจกชน)
2) ตระหนักและไม่ย่อท้อต่อการผลักดัน โอกาสใหม่ๆ ที่จะหนุนช่วยพันธกิจ
3) อยู่ในกระบวนการแห่งการคิดค้นใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง
4) ปรับตัวและเรียนรู้ ทำงานอย่างกล้าหาญ ไม่ว่าจะมีข้อจำกัดของทรัพยากรในมือสักเท่าใด และ
5) แสดงให้เห็นถึงความรู้สึกของการรับผิดชอบอย่างสูงต่อสาธารณะและผลลัพธ์ที่ถูกสร้างขึ้น

แต่เขาไม่เคยเอ่ยถึง รายได้ที่หาได้

พวกเราคิดว่านั่นไม่ใช่เพียงแค่เป็นแนวความคิดที่บกพร่องเท่านั้น แต่ยังทำให้ความความตระหนักรับรู้ได้หดหายไปด้วย มันเป็นข้อแก้ตัวให้แก่ภาคส่วนที่ไม่แสวงหากำไร ให้ได้รื่นเริงกับคำว่า “การประกอบการ” โดยไม่ตระหนักและจริงจังต่อความยั่งยืน หรือพึ่งตนเองอย่างพอเพียง พวกเขายังทำแบบเดิม ปีแล้วปีเล่า โดยการขอทุนจากผู้บริจาครายย่อย มูลนิธิและหน่วยงานราชการ

อะไรละคือ “การประกอบการทางสังคม”? มันต่างจาก “การประกอบการ” อย่างไร?
การประกอบการทางสังคม อาจเป็นบุคคล หรือหน่วยงานใดๆ ที่ใช้กลยุทธการหารายได้เพื่อเป้าหมายในทางสังคม และผู้ประกอบการทางสังคมก็แตกต่างจากผู้ประกอบการแบบเดิมๆ ใน 2 ลักษณะ

(1) ประการแรก ผู้ประกอบการแบบเดิมจะมีพฤติกรรมที่รับผิดชอบทางสังคมอยู่เป็นประจำ : ไม่ว่าจะเป็นการบริจาคแก่องค์กรการกุศล ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมดำเนินการในธุรกิจเพื่อธุรกิจ พวกเขาใช้วัสดุและกระบวนการปฏิบัติที่ไม่เป็นพิษภัยต่อสิ่งแวดล้อม พวกเขาดูแลลูกจ้างโดยตระหนักถึงศักดิ์ศรีและให้ความเคารพ ทั้งหมดในข้างต้นนี้คือเป็นสิ่งที่น่าชื่นชม ยกย่อง แต่ความพยายามของพวกเขาก็ยังเป็นแค่การแก้ปัญหาสังคมทางอ้อมเท่านั้น ผู้ประกอบการทางสังคมจะแตกต่างออกไป เพราะเขามีกลยุทธการหารายได้ที่ผูกติดอยู่กับพันธกิจของเขา (การแก้ปัญหาสังคม) โดยตรง พวกเขาทั้งจ้างลูกจ้างที่พิการ ผู้ป่วยทางจิตใจเรื้อรัง คนด้อยโอกาส หรือไม่อย่างนั้น พวกเขาก็จะขายผลิตภัณฑ์หรือบริการ (ที่อยู่บนฐานของพันธกิจ) ซึ่งจะมีผลกระทบโดยตรงกับปัญหาทางสังคม เช่น ทำงานกับเด็กนักเรียนที่ถูกให้ออกจากโรงเรียนกลางคันเพื่อทำให้เด็กอยู่ใน โรงเรียนต่อไป / ให้บริการบ้านพักสำหรับผู้สูงอายุ / พัฒนาและจำหน่ายหลักสูตรต่างๆ

(2) ประการที่สอง ผู้ประกอบการแบบเดิมจะวัดความสุดยอดกันที่ผลประกอบการทางการเงิน ความสำเร็จหรือล้มเหลวของบริษัท ถูกกำหนดโดยความสามารถในการสร้างกำไรให้แก่เจ้าของกิจการ ในทางตรงข้ามผู้ประกอบการทางสังคมจะถูกผลักดันโดยเงื่อนไข 2 ประการ 1) คือผลตอบแทนทางการเงินและ 2) ผลตอบแทนทางสังคม ความสามารถในการทำกำไรยังคงเป็นเป้าหมาย แต่มิใช่เป็นเป้าหมายเดียว และกำไรยังต้องนำกลับมาลงทุนเพื่อทำพันธกิจ มากกว่าจะกระจายกลับให้แก่หุ้นส่วน

2. ความแตกต่างระหว่าง “ความต่อเนื่องยั่งยืน” (sustainability) และ “การพึ่งตนเองอย่างพอเพียง” (self – sufficiency)
ภาคส่วนที่ไม่แสวงหากำไรนั้นถูกผลักดันด้วยรูปแบบของการพึ่งพา บนพื้นฐานของความใจบุญสุนทาน อาสาสมัครและการอุดหนุนจากรัฐบาล ส่วนการหารายได้เป็นเพียง 1 ใน 4 ที่ทำเท่านั้น แต่ผู้ประกอบการทางสังคมนั้นจะคิดในทางตรงข้าม: การทำบุญ อาสาสมัคร และการอุดหนุนจากรัฐบาลเป็นสิ่งที่เขาไม่ได้ปฏิเสธ แต่มันไม่ยั่งยืนนาน เพราะรูปแบบของการพึ่งพิงได้ถูกแทนที่ด้วยสิ่ง 2 สิ่ง

ในโลกของภาคส่วนที่ไม่แสวงหากำไรนั้น “ความยั่งยืน” สามารถบรรลุได้ด้วยการผสมผสาน “ความใจบุญ” “การสนับสนุนจากรัฐบาล”และ”การหารายได้” มันเป็นสิ่งที่น่ายินดี แต่สำหรับหลายๆ องค์กรแล้ว มันกลับเป็นเพียงแค่หนทางเดียว ในทางตรงกันข้าม “การพึ่งตนเองอย่างพอเพียง” จะบรรลุได้นั้นมีเพียงหนทางเดียว นั่นคือ การยืนให้ได้อยู่บนของฐานรายได้ที่หามาให้ได้ และนี่คือเป้าหมายที่ท้าทายของผู้ประกอบการทางสังคมทั้งหลาย

โดยสรุป ความต่อเนื่องขององค์กรไม่แสวงหากำไรซึ่งพึ่งพาเงินบริจาคของปัจเจก งบโครงการจากมูลนิธิ และการอุดหนุนจากรัฐบาล หรือการให้ ในรูปแบบอื่นๆ พวกเขาจะไม่สามารถยั่งยืน หรือพึ่งตนเองได้อย่างพอเพียง แต่ ทำไมพวกเขายังทำอยู่?

หากไม่มีการ สร้างรายได้ด้วยตัวเอง องค์กรไม่แสวงหากำไรจะยังคงต้องพึ่งพาความเอื้ออารีจากคนอื่นๆ และนั่นเป็นความเสี่ยงที่ผู้ประกอบการทางสังคมไม่ยินยอมจะให้เกิดขึ้น พวกเขามุ่งมั่นที่จะทำตามพันธกิจอย่างกระตือรือร้น แต่ความมุ่งมั่นกระตือรือร้นอยู่ในฐานความยั่งยืนและการพึ่งตนเองอย่างพอ เพียงทางการเงิน แหล่งรายได้แบบเดิมๆ มีน้อยลงเรื่อยๆ ขณะที่ตัวเลขการเติบโตขององค์กรไม่แสวงหากำไรที่พบหนทางตัวเองก็มากขึ้น ผู้จัดการขององค์กรเหล่านี้กลายมาเป็น ผู้ประกอบการทางสังคมตัวจริงที่เข้าใจความแตกต่างระหว่าง “สิ่งประดิษฐ์” (ทำอะไรที่ใหม่) กับ “การประกอบการ” (ทำอะไรที่ได้เงิน)

3. ความแตกต่างระหว่าง “กลยุทธการหารายได้” (earned income strategies) และ
“การลงทุนในธุรกิจเพื่อประโยชน์ทางสังคม” (social purpose business ventures)
คณะกรรมการบริหารและผู้บริหารองค์กรไม่แสวงหากำไรจำนวนมาก เป็นกังวลใจต่อลักษณะของผู้ประกอบการทางสังคม พวกเขาคิดว่านั่นคือ การลงทุนทางธุรกิจบางอย่างที่มีน้อยคนที่รู้ว่าจะทำอย่างไร แต่การสร้างธุรกิจไม่ใช่ หนทางเดียวที่จะนำความสำเร็จมาสู่การเป็น “ผู้ประกอบการทางสังคม” ในความเป็นจริง พื้นฐานสำคัญที่สุดสำหรับองค์กรไม่แสวงหากำไร คือสิ่งที่เรียกว่า “กลยุทธการหารายได้” และพวกเขาก็ไม่ได้ทำอะไรที่เป็นการเริ่มลงทุนทางธุรกิจ

มี 2 ประเด็นสำคัญที่เป็นความแตกต่างในระดับของจุดมุ่งหมาย ความคาดหวังและโครงสร้าง

1) “กลยุทธการหารายได้” ในทุกองค์กรไม่แสวงหากำไร มีโอกาสที่จะหารายได้จากโครงการต่างๆ แต่อาจเป็นโอกาสที่ไม่มาก แต่ก็อาจสะสมเป็นผลกระทบที่มีนัยยะสำคัญ ด้วยความมั่นใจภายใต้โอกาสที่จำกัดเช่นนี้ องค์กรไม่แสวงหากำไรสามารถทำรายได้เพิ่มเติมได้ประมาณ 15 เปอร์เซนต์ใน 1-3 ปี

2) การลงทุนทางธุรกิจ เมื่อองค์กรไม่แสวงหากำไรประสบความสำเร็จในการดำเนินการกลยุทธการหารายได้ ที่หลากหลาย อาจจำเป็นต้องพิจาณาเรื่องการลงทุนธุรกิจ แต่เป้าหมายเป็นสิ่งที่มีความทะเยอทะยานมากและยังมีกลยุทธที่แตกต่างออกไป เหตุผลเดียวที่องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรจะเริ่มลงทุนธุรกิจ คือ การหาประโยชน์จากโอกาสเฉพาะกิจสำหรับการเติบโตและการสร้างกำไรที่มีนัยยะ สำคัญ นี่คือ สาระสำคัญที่แตกต่างไปจาก กลยุทธการหารายได้ ซึ่งถูกออกแบบให้ครอบคลุมต้นทุนของแผนงาน โดยไม่มี ความคาดหวังที่แท้จริงที่สร้างกำไร หรือเพื่อความคุ้มทุน ผู้บุกเบิกในงานด้านนี้จะค้นพบโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการลงทุนทาง ธุรกิจที่มากขึ้นถ้าองค์กรฯ สร้าง “กลุ่มเฉพาะกิจนอกระบบ” นั่นหมายถึง การแยกเจ้าหน้าที่ นโยบาย หรือแม้แต่คณะกรรมการบริหาร ถ้าจำเป็นที่จะทำให้การพึ่งตนเองสามารถเป็นไปได้

4. ความแตกต่างระหว่าง “นักประดิษฐ์คิดค้น” (innovators) กับ “ผู้ประกอบการ” (entrepreneurs) และ “ผู้จัดการมืออาชีพ” (professional managers)
บางครั้ง บทเรียนที่มีความสำคัญมากที่สุดบทหนึ่งจากผู้บุกเบิกในงานด้านนี้ คือ การมีบุคคลที่ลึกซึ้งซึ่งสะดุดใจกับหัวใจของเขาเอง บ่อยครั้งที่องค์กรไม่แสวงหากำไรค้นพบ (ซึ่งก็สายไป) ว่า ความพยายามส่งเสริมการประกอบการนั้นได้ถูกกำหนดไว้อยู่แล้ว เพราะว่าพวกเขาถูกชี้นำโดยผู้นำที่มี ทักษะผิดประเภท ความผิดพลาดปรากฏขึ้นเพราะว่า พวกเขาไม่ได้เข้าใจอย่างแท้จริงถึงความแตกต่างระหว่าง “นักประดิษฐ์คิดค้น” “ผู้ประกอบการ” และ “ผู้จัดการมืออาชีพ”

ไม่ว่าองค์กรไม่แสวงหากำไรจะได้พยายามมีส่วนในกลยุทธการหารายได้ที่หลาก หลาย หรือ พยายามจะลงทุนธุรกิจหรือไม่ มันก็มีความสำคัญที่จะต้องเข้าใจว่ามีความแตกต่างระหว่างผู้นำ 3 ประเภทนี้ ซึ่งเป็นผู้นำที่มีความจำเป็นในองค์กร แต่อาจเป็นประโยชน์ในแต่ละช่วงเวลาและโอกาส และก็เป็นไปได้น้อยมากที่คนๆ หนึ่ง จะมีทักษะ 1 อย่างไปพร้อมๆ กัน

นักประดิษฐ์ คือ นักฝัน พวกเขาสร้างต้นแบบ ค่อยๆ คลี่คลายปัญหา และเมื่อพวกเขาเบื่อ ความร้อนใจ จะกลับเข้าสู่สิ่งที่เขาทำได้ดีที่สุด ซึ่งกำลังสร้างสิ่งที่เป็นมากกว่าต้นแบบ พวกเขาไม่ได้มีความตระหนักต่อความเป็นไปได้ทางการเงิน

ผู้ประกอบการ คือ ผู้สร้าง พวกเขาทำให้ต้นแบบ เป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญมากขึ้น สำหรับพวกเขาความเป็นไปได้ทางการเงิน คือสิ่งที่มีความสำคัญมากที่สุดของเขา

ผู้จัดการมืออาชีพ คือ ผู้ที่สร้างความเชื่อมั่น พวกเขาจะช่วยสร้างความมั่นคงในอนาคตด้วยการติดตั้งและดูแลระบบโดยรวม และวางโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสร้างความมั่นใจว่างานจะเดินต่อไปได้

แต่โชคไม่ดีที่องค์กรไม่แสวงหากำไร มีงบประมาณจำกัด นั่นทำให้องค์กรเหล่านี้ต้องหาคนที่อาจไม่เหมาะให้เข้ากับตำแหน่ง และปัญหาหลายๆ อย่างขององค์กรไม่แสวงหากำไรเกิดขึ้น เมื่อพวกเขาเริ่มรับเอากลยุทธของการประกอบการมาจาก นักประดิษฐ์คิดค้น หรือผู้จัดการมืออาชีพ ที่พยายามทำงานเป็นผู้ประกอบการ

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word