บทสัมภาษณ์ ดร.สรยุทธ  รัตนพจนารถ

1. ลักษณะการทำงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องอาสาสมัคร/การจัดการอาสาสมัคร

ปัจจุบันไม่ได้ทำงานในลักษณะของอาสาสมัครโดยตรงเลย ถ้ามองอาสาสมัครในแง่ขององค์กรจัดตั้ง ปัจจุบันนั้นก็เป็นอาจารย์สอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยมหิดล และทำงานวิจัยอยู่ ซึ่งทั้ง 2 อย่าง ซึ่งในนิยามของกระแสหลักก็ไม่ใช่งานอาสาสมัคร แต่โดยเนื้องานไม่ว่าจะเป็นการเรียนการสอน เนื้อหา กระบวนการ เป็นสิ่งที่นักศึกษาได้ไปเรียนจากของจริง ได้ไปลองทำกิจกรรม ได้มีproject ต่างๆ ตัวอย่างวิชาที่เรียน เช่น สิ่งแวดล้อมศึกษา โดยตัวของมันเองก็เป็นวิชาที่ช่วยให้ความรู้ แก้ปัญหาโลกต่างๆ ถ้ามองในมุมของอาสาสมัครมันก็ใช้ เพราะเป็นการออกไปช่วยคนอื่น ช่วยเหลือสิ่งอื่นๆ รอบตัว ดังนั้นในตัวงานจึงเป็นการสร้างกระบวนการเรียนรู้ซึ่งมากไปกว่าการไปดูแล เรื่องของอาสาสมัครโดยตรง ซึ่งเป็นการจัดระบบกระบวนการเรียนรู้ในชั้นเรียน ซึ่งงานอาสาสมัครก็เป็นเครื่องมือหนึ่งที่เราใช้ในการเรียนรู้

 

2. ประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานส่งเสริม / สนับสนุนงานอาสาสมัคร

ถ้าเป็นในอดีตก็สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายส่วนซึ่งถ้านับว่าเป็นชิ้นงานหลัก ชิ้นหนึ่งก็คือการเป็นผู้จัดการแผนงานพัฒนาจิตเพื่อสุขภาพ (Spiritual Heal) สุขภาพวะทางปัญญา ซึ่งเป้าหมายก็เป็นเรื่องของการเข้าถึงหรือการมีวิถีชีวิตที่มีความสุขแท้ ความสุขแท้ที่เกิดจากภายใน ไม่ใช่ความสุขที่เกิดขึ้นจากการเสพ เป็นความสุขที่เกิดขึ้นที่เกิดขึ้นจากการมีวิถีที่สงบเย็น มีประโยชน์ มีน้ำใจ ช่วยเหลือตนเองและคนอื่น ซึ่งการเข้าถึงสุขภาวะแบบนี้ ความสุขแบบนี้มันก็สามารถเข้าได้หลายช่องทาง ซึ่งในตอนนั้นก็มองเห็นว่าช่องทางทางอาสาสมัครนั้นเป็นช่องทางหลักช่องทาง หนึ่งในเรื่องนี้ เพราะฉะนั้นหนึ่งในงานที่เราให้การสนับสนุนจึงเป็นเรื่องของอาสาสมัคร ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า “จิตอาสา”

ในขณะได้มีการตั้งกลุ่มกันขึ้นมา โดยทางแผนงานได้มีการประชุมเพื่อจัดตั้งเครือข่าย โดยมีการประชุมในระหว่างที่เกิดสึนามิ แต่ตอนนั้นยังไม่รู้ข่าว และยังไม่ได้เรียกว่าจิตอาสา แต่ก็มีการคุยกันในเรื่องของอาสาสมัคร ซึ่งแผนงานก็คาดหมายว่าเข้ามาช่วยเป็นเจ้าภาพในการที่จะให้มีคนมาดูแลเรื่อง ของอาสาสมัคร จึงได้ช่วยnote กระบวนการ ได้พยายามจัดประชุมเครือข่ายต่างๆ พยายามหาคนมาทำงาน หาหน่วยงานมาทำงานและดูว่าใครสนใจอะไรบ้าง เมื่อเริ่มมีการประชุมระหว่างเครือข่ายบ่อยๆ ก็เริ่มที่จะมีการคิดเรื่องชื่อ เมื่อได้ชื่อ “จิตอาสา” แล้วก็นำไปปรึกษากับผู้ใหญ่ กับภาคธุรกิจ ซึ่งทุกฝ่ายก็เห็นด้วย จึงมีการเสนอคำนี้ ซึ่งเมื่อก่อนจะมีคำมากมาย เช่น อาสาสมัคร จิตสาธารณะ เป็นต้น แต่ต่อไปนี้จะใช้คำว่า “จิตอาสา” คำนี้คำเดียว และเป็นการทำให้การมองงานอาสาสมัครไม่ใช่มองเป็นเพียงชิ้นงาน หรือเรียกไปทำงานอย่างเดียว แต่อยากให้ไปมองว่า การทำงานอาสานั้นเป็นเรื่องของจิต เป็นการทำงานเพื่อชำระจิตใจ เพื่อยกระดับจิตใจขึ้นมา ดังนั้นงานหลักตอนนั้นจึงเป็นเรื่องของการให้ทุนสนับสนุน เป็นเจ้าภาพให้เกิดการขับเคลื่อนงานในด้านนี้ และจากการประชุมก็เกิดข้อสรุปว่าควรที่จะมีการทำงานแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ JAI ( J = Job placement, A = Advocacy, I = Improvement) ดังนั้นจึงเป็นการดูการขับเคลื่อนในระดับประเทศ ที่จะเป็นสิ่งที่จะเกิดในระยะยาว

งานอาสาสมัครในประเทศไทยนั้นเห็นว่ามีความพยายามที่จะทำมาอย่างยาวนาน และหลายหน่วยงาน เช่น บัณฑิตอาสาสมัคร ทั้งหน่วยงานรัฐบาล หน่วยงานเอกชน ซึ่งมีการกระจายตัวตรงนั้นนิดตรงนี้หน่อย แต่ยังไม่มีใครทำภาพรวมทั้งหมดเลย จึงเป็นแนวคิดว่าจะทำอย่างไรให้ส่วนต่างๆ กระจายนั้นจะมารวมกันจนมีพลังเพื่อขับเคลื่อนสังคมไปได้อย่างพร้อมเพียงกัน จึงเป็นที่มาในการตั้งเครือข่ายจิตอาสา

เหตุการณ์สึนามิเมื่อปี 2547 ถือได้ว่าเป็นงานใหญ่งานแรกที่ทางจิตอาสาได้เข้าไปมีส่วนร่วมซึ่งเป็นการ แสดงออกเป็นรูปธรรม แต่เมื่อเหตุการณ์เกิดขึ้นได้ 1 ปี ก็เห็นว่าจะทำอย่างไรให้ยังคงกระแสของอาสาสมัครได้ จึงเกิดการให้ทุน ชวนคนมาทำงาน เช่น ให้ทุนแก่ YIY เพื่อไปทำเรื่องของระบบจับคู่ (matching) job placement คือหาคนที่เหมาะสมเพื่อลงปฏิบัติงานในพื้นที่ต่างๆ เพื่อรองรับบุคคลที่อยากจะทำงานอาสาสมัครแต่ไม่รู้จะไปที่ไหนดี เริ่มต้นยังไง ในขณะเดียวกันก็มีหน่วยงานต่างๆ ที่ต้องการอาสาสมัครแต่ก็ไม่รู้จะไปหาอาสาสมัครไปหาอาสาสมัครได้อย่างไร ดังนั้นงานหลักจึงเป็นการจัดทำระบบฐานข้อมูลขึ้นมาว่ามีหน่วยงานใดบ้างที่ ต้องการรับอาสาสมัคร และไปหาข้อมูลมาว่ามีอาสาสมัครอยู่ที่ไหนบ้างที่ต้องการทำงาน เช่น การเปิดหน้าweb เพื่อแสดงข้อมูลต่างๆ เช่น ถ้าคุณเป็นคนรักสัตว์ มีหน่วยงานไหนบ้างที่ทำงานเกี่ยวกับสัตว์ มีลักษณะการทำงานอย่างไร ต้องการคนช่วยแบบประจำ เฉพาะเสาร์-อาทิตย์ เป็นต้น

กลุ่มกระจะจกเงาซึ่งก็อยู่หลายเรื่อง แต่เรื่องหลักในขณะนั้นคือเรื่องของสึนามิ ทำระบบTsunami Volunteer เกิดโครงการ ฅ.อาสา ให้ grant ในเรื่องของผู้ที่จะมาเป็นผู้ประสานงานจิตอาสา เป็นต้น

ในส่วนของสุขภาวะทางจิตวิญญาณนั้นทำอยู่หลายเรื่องจิตอาสาก็เป็นหนึ่งใน ภารกิจที่ทำ ยังมีเรื่องของภาพ เรื่องของการแพทย์ด้วยหัวใจมนุษย์ เรื่องของศาสนา เรื่องของการเจริญสติอื่นๆ เรื่องของการสร้างความรู้ จิตอาสาจึงเป็นหนึ่งในแผนงานพัฒนาจิตเพื่อสุขภาพ แต่ทั้ง 2 ส่วนนี้นั้นไม่ได้อยู่ภายใต้ของกัน แต่มีลักษณะการทำงานที่คาบเกี่ยวกันอยู่ เนื่องจากแผนงานพัฒนาจิตเพื่อสุขภาพนั้นก็เป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่เข้า มาสนับสนุนในเรื่องนี้ รวมทั้งมีหน่วยงานอื่นๆ ด้วยเช่นกันที่เข้ามาช่วยกันในเรื่องนี้

ในส่วนของแผนงานพัฒนาจิตเพื่อสุขภาพ ได้เข้ามาเกี่ยวข้องตั้งแต่ปี 2547 – 2549 มีการเข้ามาเกี่ยวข้องกับจิตอาสา เนื่องจากโดยส่วนตัวสนใจในเรื่องของงานอาสาสมัครอยู่แล้วในเรื่องของสุขภาวะ ทางจิตวิญญาณ คนจะไม่ค่อยซื้อ เช่น เมื่อบอกว่าจะพาคนไปเจริญสติ พาไปเข้าวัด คนก็จะร้องอี้ แต่เรื่องของอาสาสมัครนั้นเป็นเรื่องที่คนเข้าใจ ทุกคนทำได้ เมื่อทำแล้วก็มีความสุข หน้างานมีความหลากหลายมากพอที่ไม่ว่าใครจะมีความสนใจอะไรก็ตาม ชอบต้นไม้ก็ได้ รักเด็กก็ได้ ไม่ว่าคุณจะสนใจอะไรก็สามารถทำได้ แม้แต่จะอยู่ที่บ้านก็ได้ อย่างคนพิการแทนที่จะเป็นเพียงคนรับอย่างเดียว ก็สามารถเป็นผู้ให้ได้ เอาหนังสือมาอ่านอัดเทปให้เด็กตาบอดฟังก็ได้ เป็นการสร้างคุณค่าให้กับคนทุกคนที่อยู่ในสังคม ทำให้งานอาสาสมัครนั้นมีความน่าสนใจ

ในช่วงหลังนั้นเริ่มที่จะห่างๆ ออกไปเนื่องจากส่วนหนึ่งนั้นไม่ได้เป็นผู้จัดการแผนแล้ว และเริ่มที่จะต้องเข้ามารับงานวิจัยและช่วงหลังก็เป็นงานวิจัยเรื่องจิตต ปัญญาศึกษา ซึ่งงานสอนก็เป็นเรื่องของจิตตปัญญาศึกษาที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ทำงาน อาสาสมัครด้วย ดังนั้นงานอาสาสมัครก็ทำมาอย่างต่อเนื่อง เพียงแต่เปลี่ยนบทบาทหน้าที่

ช่วงแรกเป็นการลงมือทำเองและสอนเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งก็ทำมาตั้งแต่อยู่ที่ต่างประเทศ แต่งานที่เป็นชิ้นใหญ่ที่ต้องใช้เงินทุนสนับสนุนหลายล้าน ก็จะเป็นงานตามแผนงานพัฒนาจิตเพื่อสุขภาพ ต่อมาเมื่อไปทำงานเรื่องการศึกษามากขึ้นก็เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ เรียนรู้กระบวนการการศึกษา

ช่วงก่อนแผนงานพัฒนาจิตเพื่อสุขภาพ ช่วงแผนงานพัฒนาจิตเพื่อสุขภาพ ซึ่งเป็นช่วงที่ให้ทุนสนับสนุนเครือข่าย การสนับสนุนเครือข่ายจิตอาสา และช่วงที่มาทำงานจิตตปัญญาศึกษา ซึ่งในตอนนี้งานหลักจะเป็นเรื่องของจิตตปัญญาศึกษา และจิตวิวัฒน์ อาจารย์ประสาน ต่างใจ เป็นต้น โดยจิตตปัญญาศึกษา จะเน้นในเรื่องของการศึกษา ขณะที่จิตวิวัฒน์ จะเน้นในกลุ่มของอาจารย์และผู้ใหญ่ เช่น พระไพศาล อาจารย์ประเวส วสี อาจารย์สุมล อมรวิวัฒน์ ประมาณ 20 คน ซึ่งจะจัดทุกๆ เดือนซึ่งทำมา 5 ปีแล้ว โดยเป็นประเด็นเรื่องของการยกระดับทางจิตวิญญาณ

สาเหตุที่เข้ามา ถ้ามองในมุมส่วนตัว รู้สึกชอบ แต่ถ้ามองในมุมกว้าง มองว่างานอาสาสมัครเป็นงานที่มีมุมกว้างและเป็นงานที่ช่วยให้มนุษย์พ้นทุกข์ ร่วมกันได้ เนื่องจากปัจจุบันมนุษย์นั้นเป็นเดี่ยวๆ ถูกเลี้ยงดูมาให้คิดว่าเรานั้นไม่เกี่ยวข้องกับคนอื่น ความเป็น ความตาย ความทุกข์ของคนอื่นไม่เกี่ยวอะไรกับตนเอง และนี้เป็นสาเหตุของความทุกข์ การที่ทสามารถทำให้เขาหันมามองว่าชีวิตของเขานั้นมันเชื่อมโยงกับคนอื่นและ ยกระดับทางจิตวิญญาณของตนเอง เป็นการเชื่อมโยงของสรรพสิ่ง หนึ่งที่มีศักยภาพมากคือเรื่องของจิตอาสา ดังนั้นจึงเข้ามาทำในเรื่องของจิตอาสา

3) มีทัศนคติต่อสถานการณ์งานอาสาสมัครปัจจุบันอย่างไร

ปัญหาหนึ่งคือเราขาดการจัดการที่ดี ซึ่งเรื่องนี้ก็มีหลายองค์ประกอบ สิ่งหนึ่งคือปัจจุบันเราทำเป็นเบี้ยหัวแตก ทำกระจายไปทั่วตรงนั้นนิด ตรงนี้หน่อย แต่ไม่ได้มาร่วมกันเป็นพลังใหญ่ ขาดการขับเคลื่อนที่ดี ขาดผู้นำ ซึ่งคนที่มาชูธงหรือองค์กรที่มาเป็นผู้นำในเรื่องนี้ต้องเป็นคนใจใหญ่พอ คือ ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง และเชื่อในศักยภาพของทุกคน เชื่อว่าทุกคนเป็นคนดี เปิดโอกาสให้ทุกคนทุกภาคส่วนได้เข้ามาทำ แต่ปัจจุบันองค์กรที่ทำงานด้านจิตอาสาเกือบทั้งหมดหรือจะกล่าวว่าทั้งหมดเลย ก็ได้ มีหน้างานที่ตนเองสนใจเป็นหลัก เช่น อยากจะทำเรื่องคนหาย คนนี้ทำเรื่องความยากจน คนนี้ทำเรื่องสัตว์พิการ เป็นต้น แต่ยังไม่มีใครนำพวกนี้มาร่วมกัน