บวชวังสงวนหรือวัง ปลา…ต่อชีวิตให้พันธุ์ปลา ต่อลมหายใจให้แม่น้ำ ด้วยพิธีกรรมที่เชื่อมโยงเกี่ยวร้อยคนสองฝั่งโขง ซึ่งอาศัยอยู่กินพึ่งพาแม่น้ำ ให้ลุกขึ้นมาร่วมปกปักรักษาชีวิต และต่อลมหายใจให้คนลุ่มน้ำ….เรื่องเล่าจากริมโขง โดย กาหลง เก้าลวง

ณ ร่มเงาไม้ใหญ่ริมน้ำโขง หญิงชราห่มแพรสไบสีขาวลายลูกไม้ สวมเสื้อสวย ใสผ้าซิ่นผืนใหม่ นั่งพับเพียบเรียงแถวไปตามผืนเสื่อ  และแถวหลังๆ เป็นหญิงหลากวัยนั่งสลับต่อลงไป ส่วนแถวหน้าสุดเว้นไว้สำหรับกลุ่มชายอาวุโสนั่ง  เพื่อสะดวกต่อการทำพิธีและถวายข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ แด่พระสงฆ์

ตรงหน้าของแต่ละคนมีกระติบข้าวเหนียว พานทองทรงสูง บ้างเป็นขันสีเงินใส่ดอกไม้ ๕ คู่ ธูป เทียน กล้วย  ผลไม้และขนม เตรียมไว้สำหรับใส่บาตรร่วมกัน

ระหว่างรอความพร้อม แม่ใหญ่กลุ่มหนึ่งกำลังประกอบเครื่องพานบายศรีสู่ขวัญ เตรียมไว้สำหรับทำพิธีผูกข้อมือรับขวัญอำนวยพรให้กับชาวบ้านและ แขกผู้มาร่วมงาน ดอกจำปาหลากสีนำมาเสียบไม้ไผ่เรียงต่อดอกเป็นก้านยาว แม่ใหญ่ค่อยๆ บรรจงประดับกิ่งก้านสาขาแซมไว้กับกรวยใบตอง เมื่อเสร็จเรียบร้อยก็นำสายสิญจน์วางเป็นกลุ่มๆ จนทั่วพุ่มพาน

“มื้อนี้วันนี้ พวกผู้ข้าทั้งหลายร่วมกันสร้างวังปลาให้ยืนยงคงตัว พวกเทวดาทั้งหลายจงพร้อมกันนำมาปกปักรักษาเพื่อให้พวกผู้ข้าทั้ง หลาย ได้ยืนยงคงตัวไปชั่วลูกหลานตลอดกาลละนานเทอญ” หมอพราหมณ์สวดบอกกล่าวเจตนากับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ผ่านเครื่องขยาย เสียง และเชื่อมร้อยศรัทธาของผู้คนให้ล่วงรู้ถึงเป้าหมายที่พร้อมใจกันลง มือทำในวันนี้

บ้านนา เป็นหมู่บ้านหนึ่งที่ตั้งอ ยู่บนเกาะกลางแม่น้ำโขง  ชาวบ้านเรียกว่า ดอนโขง ขึ้นเขตการปกครองกับเมืองโขง  แขวงจำปาสัก ประเทศลาว  ห่างจากตัวเมืองโขงไปทางใต้ประมาณ ๑.๕ ก.ม. มี ๑๐๒ หลังคาเรือน  พลเมือง ๕๕๖ คน อาชีพส่วนใหญ่คือการกสิกรรมและหาปลาในแม่น้ำโขงเป็นหลัก

การบวชวังสงวนในครั้งนี้ หรือถ้ากล่าวตามความเข้าใจของคนไทยก็คือ การบวชวังปลาจัดทำเป็นเขตอนุรักษ์ ห้ามมีการจับสัตว์ในบริเวณที่กำหนดไว้ คือวังเวินน้อยน้ำลึก ท่าวัดสุทัด  บ้านนา ครอบคลุมพื้นที่  ๓๐๐ ตารางเมตร โดยมีการกำหนดระเบียบและบทลงโทษประกาศแจ้งติดตั้งไว้ ให้ทราบทั่วกัน

พ่อคำฟอง  พมมะแสง คณะกรรมการกองทุนบ้านนา กล่าวถึงความมุ่งหวังในการบวชวังสงวนว่า “ในวังสงวนนั้นมันต้องมีระเบียบของมัน หนึ่งบ่ให้คนกวน บ่ให้หาปลาไปกินไปขายในบริเวณนี้ ถ้าใครฝ่าฝืนผิดระเบียบก็ต้องมีการปรับไหมใส่โทษ เพื่อให้วังสงวนเป็นที่ขยายพันธุ์ปลาเลี้ยงประชาชนในหมู่บ้าน นี่เป็นนโยบายเฮา”

ความร่วมมือร่วมใจในครั้งนี้ไม่เพียง ชาวบ้านในบ้านนาเท่านั้น  หากแต่ยังมีรองเจ้าเมืองโขง (รองนายอำเภอ) ชาวบ้านสมาชิกเครือข่ายกลุ่มท้อนเงินจากหมู่บ้านใกล้ เคียง ผู้แทนจากกลุ่มท้อนเงิน(กลุ่มออมทรัพย์)จากเขตเมือง(อำเภอ)ต่างๆ ในแขวงจำปาสัก เช่น เมืองชะนะสมบูน เมืองปากเซ เมืองโขง ตัวแทนจากสหพันธ์แม่หญิงลาวแขวงจำปาสักและเวียง จันท์ เข้าร่วมเป็นสักขีพยานและส่งเสริมความมุ่งมั่นตั้งใจของชาวบ้านใน ท้องถิ่น ที่ตระหนักถึงปัญหาการลดน้อยลงของพันธ์ปลา ทั้งยังถือว่าการบวชวังสงวนเป็นจุดเริ่มต้นของชุมชนที่ร่วมกันวาง แผนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติโดยชุมชน เพื่อความยั่งยืนในอนาคตสืบต่อไปจนถึงรุ่นลูกหลาน

“ความยั่งยืนก็คือ ชาวบ้านต้องรู้สึกเป็นเจ้าของในการทำกิจกรรมอะไรก็ตาม ถ้าคนอื่นมาคิดแทนมาผลักดันให้ทำก็ไม่ได้ผลดอก เพราะมันไม่ได้เกิดจากใจของชาวบ้าน ถ้าเขาเป็นคนคิด อยากทำ และลงมือเอง นั่นมันจึงจะยั่งยืน การบวชวังสงวนก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ชาวบ้านร่วมกัน คิดและทำในวันนี้นั้น มันพัวพันกับชีวิตความเป็นอยู่และดอกผลของการร่วมมือกันทำ ก็จะมาค้ำจุนชีวิตของพวกเขาให้มันดีขึ้นในอนาคต” ป้าสมหมาย จากนครเวียงจันท์ กล่าวอย่างชื่นชมยินดีที่ได้มาร่วมงานและเชื่อมั่นในสิ่งที่ชาว บ้านนาลงมือทำวันนี้จะนำไปสู่ความยั่งยืน

เรือประมงลำใหญ่ และเรือบั๊คของชาวบ้านจอดเทียบท่ารอ เพื่อนำผู้แทนจากฝ่ายต่างๆ  ออกไปทำพิธีร่วมกัน ณ บริเวณกลางวังสงวนเรียบร้อยแล้ว

ก่อนหน้านั้นหลายวัน ชาวบ้านได้ร่วมกันตัดต้นกล้วยตัดเป็นท่อนๆ นำไปลอยเป็นทุ่นผูกติดไว้กับก้อนหินใต้น้ำอยู่กลางลำโขง  ทิ้งช่วงห่างเป็นระยะๆ  ครอบคลุมพื้นที่ที่กำหนดไว้ พร้อมทั้งทำป้ายขนาดระบุชื่อวังสงวนบ้านนา นำไปปักไว้ในจุดที่สังเกตได้ง่ายแสดงขอบเขตบริเวณวังสงวน

พระสงฆ์จำนวน  ๕ รูป และญาติโยมต่างทยอยลงเรือ เมื่อถึงที่หมาย พระสงฆ์ก็ทำการสวด  ระหว่างนั้นรองเจ้าเมืองโขงและตัวแทนพระสงฆ์เริ่มทำการปล่อย พันธุ์ปลาเป็นสัญลักษณ์  พระสงฆ์อีกรูปปะพรมน้ำมนต์ลงสู่แม่น้ำโขง  พร้อมทั้งบอกกล่าวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่รักษาแม่น้ำโขงช่วยปก ป้องดูแลพันธุ์ปลาและคุ้มครองลูกหลานให้อยู่ดีมีสุขตลอดไป

เมืองโขง  หรือรู้จักกันในนาม ‘มหานทีสี่พันดอน’ แห่งนี้ ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ตามเกาะดอนต่างๆ ได้เริ่มต้นรวมกลุ่มกันจัดตั้งกลุ่มท้อนเงินหลายหมู่บ้าน ภายใต้การนำของสมาพันธ์แม่หญิงลาว ซึ่งทำหน้าที่ส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่ม ปัจจุบันมีกลุ่มท้อนเงินรวมทั้งสิ้น ๘๑๖ กลุ่ม กระจายอยู่ใน ๒๒ เมือง ๕ แขวง ได้แก่ พงสาลี หลวงพะบาง บ่อแก้ว นครหลวงเวียงจันท์ และจำปาสัก รวมมีสมาชิกทั้งหมด ๑๖๒,๐๐๐ คน

จากการรวมกลุ่มและเชื่อม โยงสมาชิกเป็นเครือข่ายท้อนเงินแม่หญิงลาว พวกเธอได้สรุปบทเรียนร่วมกันว่าลำพังการรวมเงิน  ปล่อยให้มีการกู้ยืมเพียงอย่างเดียวนั้น อาจไม่สามารถทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นได้ ธรรมชาติรอบตัวคือทุนที่อำนวยให้การหาอยู่หากินดำเนินไปได้อย่าง สะดวก ไม่ต้องมีเงินก็มีอาหารการกินที่สมบูรณ์ ดังนั้นจำเป็นที่จะต้องมองให้รอบด้าน โดยเฉพาะทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นปัจจัยหลักค้ำจุนชีวิตความเป็นอ ยู่ที่ดีของประชาชนชาวลาว จากนั้นจึงได้ริเริ่มขยายกิจกรรมไปสู่การอนุรักษ์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการเริ่มต้นในการวางแผนบริหารจัดการทรัพยากร ธรรมชาติโดยชุมชน

หลายหมู่บ้านเริ่มทำกิจกรรมอนุรักษ์ ป่า อนุรักษ์น้ำ รณรงค์ให้ชาวบ้านตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิด ขึ้นในปัจจุบัน  และลงมือปฏิบัติการเพื่อรักษาทรัพยากรธรรมชาติที่ยังอุดมสมบูรณ์ เอาไว้

หากกล่าวว่าแม่น้ำโขงคือชีวิตของ ชาวลุ่มน้ำโขงก็คงไม่เกินจริงนัก ไม่ว่าจะอยู่ในขอบเขตประเทศใดก็ตาม พลเมืองหลายสิบล้านคนได้อาศัยทำมาหากิน แม่น้ำโขงไม่เพียงเป็นแหล่งรายได้หลัก แต่ยังทำหน้าที่เป็นตู้กับข้าวขนาดใหญ่ที่อุดมสมบูรณ์ทั้งพืช ผัก ปู ปลา หอย กุ้ง อาหารหลากชนิดให้ลูกแม่น้ำโขงทุกคนสามารถเลือกสรร หาอยู่หากินตามอัตถภาพ รวมพลังสร้างบ้านแปงเมืองพัฒนาชุมชน สั่งสมวัฒนธรรม ประเพณี และความเชื่อที่อิงอยู่กับธรรมชาติให้อยู่รอด มาได้จนถึงทุกวันนี้

พ่อคำฟอง  บอกว่า “แต่ละปีน้ำโขงก็แห้ง แต่ปีนี้น้ำน้อยหลายกว่าทุกปี ปลาก็มีน้อยหาลำบากขึ้นทุกวัน จำเป็นที่เฮาต้องกำหนดที่ทางไว้ให้ปลาพักไข่ให้มันขยายพันธุ์ ถ้าเฮาบ่เฮ็ดวังสงวนโดยการเว้นที่ทางไว้ให้ปลาอยู่อาศัย เพาะพันธุ์ ก็จะบ่มีปลากิน ประชาชนก็จะอดอยาก เฮาพึ่งพาแม่น้ำโขงก็ต้องช่วยกันรักษาแม่น้ำโขงไว้”

หลายปีที่ผ่านมา พี่น้องประชาชนลาวและประเทศลุ่มน้ำโขงตอนล่าง  ต่างรับรู้ว่าแม่น้ำโขงเปลี่ยนแปลง  น้ำขึ้นลงผิดเพี้ยนไปจากธรรมชาติ  สองปีก่อนเกิดภาวะน้ำหลากท่วมกะทันหัน ปีนี้น้ำแห้งขอดจนเรือประมงพื้นบ้านและเรือสินค้าไม่สามารถสัญจร ไปมาได้เช่นที่เคยเป็น พันธุ์ปลาลดน้อยลง บางชนิดหายไป และทุกคนรู้แก่ใจดีว่าสาเหตุหลักที่ทำให้น้ำโขงเปลี่ยนไปนั้นมา จากเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงในประเทศจีน

การวางแผนบริหารจัดการทรัพยา กรธรรมชาติเพื่อความยั่งยืนในแม่น้ำโขงในวันนี้  หน่วยสังคมเล็กๆ ระดับหมู่บ้านสานต่อเป็นเครือข่ายภาคประชาชนได้ เริ่มต้นลงมือทำ ไม่เฉพาะในประเทศลาวและไทยเท่านั้น หากว่าพลเมืองตัวเล็กตัวน้อยในประเทศลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ต่างมีพิธีกรรม ความเชื่อใช้เป็นกุศโลบายรณรงค์ให้คนในท้องถิ่นตนร่วม กันปกป้องแม่น้ำสายนี้เพื่อรักษาชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีของ พวกเขาในวันข้างหน้า

ความหมายของการพัฒนาแม่น้ำโข งอย่างยั่งยืน  สุดยอดผู้นำในประเทศลุ่มน้ำโขงต่างหยิบยกมาอ้างการพัฒนาสร้าง เขื่อนกั้นแม่น้ำโขงเพื่อเป็นการแก้ปัญหาภัยแล้ง ภัยน้ำท่วม สร้างแหล่งพลังงานเป็นหม้อไฟแห่งเอเซีย  และเป็นเส้นทางการเดินเรือขนถ่ายสินค้าระหว่างประเทศ รวมถึงอ้างการสร้างเขื่อนเป็นวิธีการหนึ่งในการแก้ปัญหาสภาวะโลก ร้อน ฯลฯ … ที่สำคัญมักสรุปสุดท้ายว่าการพัฒนาทั้งหมดจะนำมาสู่คุณภาพชีวิตที่ ดีขึ้นของประชาชน

วันนี้ชะตาชีวิตและความอยู่รอด ของผู้คนตลอดลุ่มน้ำโขง อาจไม่ได้ขึ้นตรงต่อระบบธรรมชาติอีกต่อไป  เมื่อระหว่างประชาชนกับผู้นำประเทศของตนมีสายตาที่เฝ้ามองแม่น้ำ โขงแตกต่างกัน

ความล้มเหลวในการพัฒนาประเทศ การรวบรัดรวมศูนย์อำนาจการตัดสินใจไม่ยอมรับฟังเสียงและขาดการมี ส่วนร่วมของประชาชนนั้น  มีบทเรียนเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์และใช้เป็นกรณีศึกษาเรียนรู้ได้ ในทุกมิติแล้ว ทั้งในประเทศที่พัฒนาและประเทศกำลังพัฒนารวมถึงประเทศไทย

ดังนั้นในการพัฒนาแม่น้ำโขงให้ยั่งยืน  จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้มีตัวแทนภาคประชาชนของแต่ละประเทศ  เข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางการพัฒนาอย่างแท้จริง ซึ่งนั่นถือว่าเป็นการเริ่มต้นยกระดับการจัดการแม่น้ำนานาชาติสาย นี้ร่วมกันอย่างสอดคล้อง เหมาะสมและเป็นธรรม

เขียนโดย กาหลง เก้าลวง
วันเสาร์ ที่ 12 เดือนมิถุนายน พ.ศ.2553

ที่มา http://www.thaivolunteer.or.th/thaivo/index.php?option=com_content&task=…