ยางยืดเพื่อชุมชน   Rubber bands Volunteer, (May 25, 2024)  

 วันเสาร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ.2567

09:00 – 09:40 บรรยายที่มากิจกรรม แรงบันดาลใจ และเป้าหมายกิจกรรม

09:41 – 11:20 ร่วมกันทำสิ่งประดิษฐ์ยางยืด

11:21 – 11:35 ออกกำลังกายด้วยยางยืดพร้อมกัน อย่างมีความสุข

11:36 – 12:00 ตรวจสอบคุณภาพยางยืด ปิดกิจกรรม ช่วยกันเก็บเสื่อ และอุปกรณ์ต่างๆ

ยางยืดผู้จัดจะนำไปตรวจสอบความถูกต้อง และนำไปมอบให้  อสม. ในจังหวัดชลบุรี

 

On Sat. May, 25 2024

09:00 – 09:40 Describe the activity origins, inspiration, and activity goals.

09:41 – 11:20 Work together to make an elastic rubber invention.

11:21 – 11:35 Exercise with elastic bands together.

11:36 – 12:00 Check the quality of the elastic and Close the activity

The organizer will take the rubber bands invention to check for accuracy. and give to pepole in rural.

 

 

สถานที่จัด

โถงกิจกรรม ชั้น 1 หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ  (สวนโมกข์ กรุงเทพ) ทางเข้าสวนรถไฟ  ข้างปั้ม PTT สำนักงานใหญ่บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

อยู่ตรงข้ามห้าง Central ลาดพร้าว ฝั่งถนนวิภาวดีรังสิต หน้าถนนทางเข้าสวนรถไฟ

 

Venue

Activity Hall, 1st floor, Buddhadasa Inthapanyo Archives (Suan Mokkh, Bangkok), entrance to Rot Fai Park, next to the PTT gas station, PTT Public Company Limited headquarters.

Located opposite Central Ladprao Department Store, Vibhavadi Rangsit Road. In front of the entrance road to Rot Fai Park

 

 

ความเป็นมากลุ่มยางยืดเปลี่ยนชีวิต

การประดิษฐ์ยางยืดแจกผู้คน เป็นงานอดิเรกส่วนตัว ทำเองแจกเองอยู่ 1 ปี  (ต้นปีพ.ศ.2556) หลังจากนั้น คิดอยู่ว่า ถ้าทำอยู่คนเดียวคงทำได้เพียงจำนวนไม่มาก จึงมีแนวคิดทำเป็นกิจกรรมจิตอาสาสอนผู้ที่สนใจทำสิ่งประดิษฐ์แบบต่างๆ มากมายตามที่คิดได้ และทดลองใช้งานแล้ว โดยได้รับความอนุเคราะห์ให้ใช้สถานที่โดยไม่ได้คิดค่าใช้จ่ายจัดกิจกรรมที่หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ (สวนโมกข์ กทม.) ตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ.2557 ถึงปัจจุบัน

ยางยืดเปลี่ยนชีวิต เป็นกิจกรรมกลุ่มอาสาอิสระที่ไม่ได้รับเงินทุนโครงการวิจัย เงินบริจาค หรือสิ่งของบริจาคใดๆ กลุ่มดำเนินกิจกรรมทุกเดือนที่หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ (สวนโมกข์ กทม.) เดือนละ 1 ครั้ง และแจกยางยืดหรือสิ่งประดิษฐ์เฉลี่ย 100 ชิ้น /เดือน ให้กับบุคคลเป้าหมายต่างๆ ที่หลากหลาย การจัดกิจกรรมแต่ละครั้งใช้เงินทุนขับเคลื่อนจากแหล่งที่มาดังนี้ 1) รายได้จากการสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์จำหน่ายหน้างานกิจกรรม 2) เงินค่าตอบแทนวิทยากรจากการเชิญไปจัดกิจกรรม CSR ในหน่วยงานต่างๆ 3) เงินเดือนของผู้จัดกิจกรรม

Volunteer’s background 

Inventing rubber bands to give to people It’s a personal hobby. I made it myself and distributed it myself for 1 year (early 2013). After that, I thought that if I did it alone, I would probably only be able to make a small amount. Therefore, the idea was to make it a volunteer activity to teach those interested in making various types of inventions. As many as you can imagine and have tried it out By receiving permission to use the location without charge to organize activities at the Buddhadasa Inthapanyo Archives (Suan Mokkh, Bangkok) from May, 3 2014 to the present.

The rubber bands volunteer, It is an independent volunteer group activity that does not receive research project funding, donations, or donated items of any kind. The group conducts monthly activities at the Buddhadasa Inthapanyo Archives (Suan Mokkh, Bangkok) once a month and distributes an average of 100 elastic bands /month to various target groups. Each activity uses Funding comes from the following sources: 1) income from creating inventions for sale at event venues, 2) be invite to organize CSR activities, 3) my salary

 

 

แนวคิดในการจัดกิจกรรม

จากผู้ที่ได้รับความช่วยเหลือจากอาสาสมัครเมื่อคราวประสบอุทกภัยปลายปี 2554 เกิดแรงบันดาลใจที่อยากจะเป็นผู้ให้ด้วยการทำงานอาสา “ยางยืดเปลี่ยนชีวิต” เกิดขึ้นเมื่อต้นปี 2556 จากผู้ร่วมกิจกรรมจิตอาสาที่อยากผันตนเองมาเป็นผู้จัดกิจกรรม เพียงเพราะเห็นความสุขมากมายจากการเป็นผู้จัดกิจกรรมจิตอาสาท่านหนึ่ง จึงพยายามคิดทำกิจกรรมจิตอาสาในแบบอื่นๆ ที่ยังไม่มีใครทำ จึงได้ศึกษา ทดลองทำอุปกรณ์สิ่งประดิษฐ์ยางยืดแบบต่างๆ ที่เหมาะสมกับผู้ป่วยในโรงพยาบาลที่ต้องการการกายภาพบำบัด และทดลองแจกใช้กับผู้ป่วยในโรงพยาบาลรามาธิบดีก่อน ปรากฏว่าได้ผลตอบรับดีมากจากผู้ใช้งาน ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนปัจจุบันมีสิ่งประดิษฐ์ 5 ประเภท  67 รูปแบบ 10 อนุสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์

การทำสิ่งประดิษฐ์ยางยืดนี้ได้มีการคิด ทำ และแจกโดยส่วนตัว ด้วยความสุขที่ได้มอบให้ ไม่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย หรือโครงการใดๆ ที่ให้งบประมาณ สถานที่ที่เคยแจกจ่ายด้วยตนเองมีมากมาย รวมทั้งสิ้นยางยืดที่แจกไป 20,466 ชิ้น ยางยืดนี้มีผู้ต้องการเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ทำง่าย ราคาไม่แพง แต่มีประโยชน์มาก การทำยางยืดไปแจกแต่ละครั้งจึงไม่เคยเพียงพอต่อผู้ที่ต้องการ

กิจกรรมก้าวสู่ปีที่ 11 มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 8,522 คน

วิธีการสมัคร:

จำนวนอาสาสมัครที่รับ:
พื้นที่ปฏิบัติงาน:
ปิดรับสมัครวันที่:
อีเมล:
เบอร์ติดต่อ: