การเกี่ยวข้าวลงแขกเป็นวัฒนธรรมหนึ่งของชาวนาภาคอีสานสะท้อนถึงการ ดำรงวิถี ชีวิตที่แฝงนัยการเอื้ออาทรและแบ่งปันกันในสังคมชนบทที่นับวันยิ่งหาได้ยาก ยิ่ง การเอาแรงงานที่ถูกที่ค่าเป็นทรัพย์สินแลกกับมิตรภาพและความกลมเกลียวใน ชุมชนกลายเป็นเรื่องยากยิ่งที่จะเกิดขึ้นในสังคมทุกวันนี้

ภาพของสังคมชนบทในปัจจุบันเสมือนถูกซ้อนทับกันอยู่ นับเป็นเรื่องยากที่จะแยกแยะว่าอะไร คือชนบท หรืออะไรคือ สังคมเมือง หากลองมองในแง่ดีมันอาจเป็นการสะท้อนถึงการพัฒนาที่เข้าทั่วถึงพื้นที่ที่ ห่างไกล แต่อีกทางหนึ่งคือ การเข้าถึงของระบบสังคมใหม่ที่พร้อมที่ถอนรากถอนโคน ตีความให้คุณค่าทางวัฒนธรรมพื้นบ้านในแง่ของความล้าหลังและไร้แก่นสาร

“สิบกว่าปีที่แล้วคนอีสานใช้เวลานานสองสามเดือนในการเก็บเกี่ยวผลผลิต ไม่ใช้ว่าข้าวในนาจะมากมายอะไรแต่ชีวิตมันไม่ได้เร่งรีบตามกระแส ในแต่ละขั้นตอนของการทำมันคือวิถีที่ผูกพันกันระหว่าง คน ครอบครัว เพื่อนบ้าน และชุมชนด้วยความถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน มันมีเวลาเพียงพอที่จะที่จะคิดไตร่ตรองอะไรต่อมิอะไรมากมาย ดังนั้นการทำอะไรด้วยความเอาใจใส่ในสิ่งที่ทำ มันจึงทำให้สังคมชนบทอยู่ได้ แต่ทุกวันนี้ไม่ใช่

กระแสสังคมใหม่มันเร็วมากทำให้บางที่มีความสับสนวุ่นวาย บริโภคนิยมเข้ามาทำให้สายใยทางสังคมมันขาดหายไป นี่อาจจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ว่า ทำไมวัฒนธรรมบางอย่างมันสิ้นสุดลงอย่างถาวร ลองคิดเอาง่ายๆ เลย ในบางพื้นที่ชาวนายังไม่รู้เลยว่าข้าวที่ตัวเองปลูกนั้นพันธุ์อะไร นับประสาอะไรกับเรื่องที่ไกลตัว” นายเรืองเดช โพธิ์ศรี แรงงานอาสาลงแขกจากมหาสารคามกล่าว

นอกจากการเกี่ยวข้าวอันเป็นประเพณีของท้องถิ่นแล้ว เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ชาวบ้านได้เพาะปลูกเอาไว้ยังเป็นข้าวพันธุ์พื้นบ้านที่หา ยากและปราศจากสารเคมีที่ใช้ในการเพาะปลูกอันเป็นกระแสการสร้างความคิดแบบ ท้องถิ่นนิยม เพื่อต่อสู้กับกระแสทุนนิยมที่ครอบงำผูกขาดการตลาดพืชผลทางการเกษตร ซึ่งในปัจจุบันได้ส่งผลให้ปุ๋ยที่ราคาแพงและผลผลิตปนเปื้อนสารเคมี ซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค

” พันธุ์ข้าวที่ปลูกในหมู่บ้านนี้ส่วนมากจะเป็นการร่วมตัวกันปลูกพืชตามแบบ เกษตรอินทรีย์ที่ไม่ใช้สารเคมี เป็นการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดำรงชีวิต ในสมัยโบราณคนอีสานการปลูกข้าวจะปลูกตามสภาพภูมิประเทศของแต่ละท้องถิ่น เช่น ในอีสานจะแบ่งออกเป็น นาโนน นาทุ่ง นาทาม ซึ่งพันธุ์ข้าวก็จะแตกต่างกันไปที่สำคัญระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวก็จะต่อ เนื่องกันและไม่ได้เร่งรีบทำให้ชาวนามีเวลาเพียงพอที่จะสร้างสรรค์ก่อเกิด วัฒนธรรมอันสำคัญมากมาย ซึ่งต่างกับปัจจุบันที่มีแต่การเร่งรีบตามกระแสวัตถุนิยมอันเป็นการทำลายขนบ ทำเนียมประเพณีของแต่ละท้องถิ่น ที่พ่อทำไม่ได้ต้องการที่จะทำลายหรือรื้อฟื้นความเก่าความหลังแต่อยากจะให้ เยาวชนได้ตระหนักและนึกถึงคุณค่าของความภาคภูมิใจในการเป็นคนอีสานและ วัฒนธรรมที่คนเก่าโบราณสร้างไว้ให้สืบทอดต่อไป” พ่อบุญส่ง มาตรขาว แกนนำกลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านโนนยางกล่าวด้วยความคาดหวัง

การลงแขกเกี่ยวข้าวที่บ้านโนนยาง อำเภอกุดชุม ยโสธรไม่เพียงชาวบ้านเท่านั้นแต่ยังมีคนหนุ่มสาวจากกรุงเทพฯที่ต้องการเรียน รู้วิถีแบบชาวนาร่วมด้วยเปรียบเสมือนการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ทัศนคติและเปิดมุมมองใหม่ๆในการที่จะสร้างสวรรค์สังคมที่ดีในอนาคตพร้อมทั้ง การสานต่อของคุณค่าการเป็นกระดูกสันหลังของชาติว่าต้องยากลำบากเพียงใดในการ ได้มาซึ่งข้าวแต่ละเม็ด “ความผูกพันระหว่างคน ชุมชน ธรรมชาติ เป็นสิ่งที่แยกกันได้ยากมันจึงไม่น่าแปลกอะไรที่ชาวบ้านต้องการที่จะรักษา ธรรมชาติเอาไว้รวมทั้งวัฒนธรรมด้วย ซึ่งคนเมืองไม่เข้าใจ ไม่เห็นความสำคัญเพราะเขาไม่เคยสัมผัสพบเจอ หรือบางคนเคยแต่ต้องการที่จะลืมความเป็นตัวตนของตัวเองซึ่งเป็นเรื่องที่น่า อับอาย ภาครัฐไม่เคยที่จะเอาใจใส่ในสิ่งเหล่านี้เลยเท่านี้ยังไม่พอยังพยายามลบล้าง ความคิดแบบนี้ตามแนวทางของสมัยใหม่ โดยไม่คำนึงถึงผลที่จะตามมา แต่การได้มาเกี่ยวข้าวแลกเปลี่ยนกับชาวบ้านทำให้เราได้สัมผัสอีกวิถีหนึ่ง ที่อยู่รอดได้มานับหลายชั่วอายุคน โดยการพึ่งตนเองและความกลมเกลียวของชุมชน ผมว่าสิ่งเหล่านี้เองคือทางรอดจริงของประเทศในการเคารพและยอมรับความรู้ถูมิ ปัญญาของท้องถิ่น” นายชัชรินทร์ ชัยดี เจ้าหน้ามูลนิธิแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ กล่าวเสริมอย่างน่าสนใจ

ในสภาวการณ์ที่เต็มไปด้วยความวุ่นวายของบ้านเมืองที่คุกรุ่นไปด้วยความ ขัด แย้งของคนหลายกลุ่ม การสาดโคลน สลับขั้ว ขนขวายหาผลประโยชน์ของนักการเมืองผู้ทรงเกียรติที่อ้างฉันทามติของมหาชน ฝ่ายธรรมมะ อธรรม ดูไม่มีผลอะไรต่อชาวบ้านรากหญ้าที่มีแต่ความสามัคคีปรองดองเป็นที่น่าอิจฉา และน่าเอาแบบอย่างเป็นยิ่งนัก “ชาวบ้านเราอยู่ด้วยการเอาใจ ใส่กันและกันด้วยความเอื้ออาทร รักกันฉันญาติมิตรไม่มีผลประโยชน์อะไรต่อกันนอกจากการเอาใจแลกใจกัน นักการเมืองบ้านเรามันรักแต่ตัวเองพวกพ้องเอาผลประโยชน์เข้ามา มันก็มีบ้างที่จะขัดใจกันนิดๆหน่อยๆเพราะบางที่ชาวบ้านอย่างเราก็ได้รับฟัง เพียงฝ่ายเดียวทำให้รู้เพียงที่เห็นที่ฟังจากโทรทัศน์วิทยุเท่านั้น ทางออกมันมีเยอะนะถ้าเราหันหน้าเข้าหากันพูดคุยกันจริงๆ” พ่อบุญส่ง มาตรขาว กล่าวอย่างอารมณ์ดี

ในบางสถานการณ์ที่ภาพในหน้าสื่อหลักเป็นเรื่องของความขัดแย้งและการ ต่อสู้ กันทางการเมือง น่าจะมีมุมมองทัศนะของชาวบ้านๆ ในการนำเสนอทางแก้วิกฤติบ้างมากกว่าที่จะเป็นนักวิชาการที่พูดถึงอุดมคติ ประชาธิปไตยและทางออกที่ชาวบ้านฟังออกแต่แปลไม่ได้ซักที

ที่มา http://www.thaingo.org/story/rice.htm