สิ่ง ที่มหาวิทยาลัยหวัง ไม่ได้หวังแค่นักเรียนเป็นช่าง แต่ในคำว่าช่างจะต้องเป็นช่างที่สมบูรณ์แบบ นอกจากจะมีความรู้ความชำนาญในเรื่องการช่างแล้ว

จะต้องมีจิตใจที่ดี  รู้จักช่วยเหลือผู้อื่น  ไม่หวังผลอะไรตอบ แทน  การที่ได้ออกมาปฏิบัติงานจริงก็เหมือนเป็นการเรียนรู้นอกห้อง เรียน  ได้พบปะกับชาวบ้าน  โดยชาวบ้านทุกคนก็เหมือนเป็นครูคนหนึ่งของนัก ศึกษา”  คำบอกกล่าวของ  อาจารย์ศศิวิมล มาแสง  หัวหน้าศูนย์ฝึกอบรม และถ่ายทอดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก  วิทยาเขตอุเท นถวาย   ที่พาน้องๆจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก  วิทยาเขนอุเท นถวาย  สร้างบ้านกับชาวบ้านที่เดือดร้อน ร่วมกับมูลนิธิที่อยู่อาศัยเพื่อ มนุษย์ชาติ โดยมีฑูตมินิธิ   ฟิล์ม- รัฐภูมิ  โตคงทรัพย์ ศิลปินอาร์เอ ช ร่วมลงแรงช่วยกันคนละไม้คนละมือ  เมื่อเร็วๆนี้

อาจารย์ศศิวิมล เล่าว่า โครงการนี้เกิดมา เกือบ  1  ปี  โดยมูลนิธิที่อยู่อาศัยเพื่อมนุษยชาติประเทศไทย ได้ร่วมมือ กับมหาวิทยาลัย  นำนักศึกษาที่ลงวิชาฝึกงานชื่อว่า”เบสิก เอ็นจีเนียร์  เท รนนิ่ง”  คณะวิศวกรรมศาสตร์  สาขาวิศวกรรมโยธา มาเป็นอาสาสมัครสร้างบ้านให้ กับชาวบ้าน ถือเป็นการเรียนการสอนในหลักสูตรโดยการปฏิบัติงานจริงเป้ นเวลา 1  เดือน  จะออกปฏิบัตินอกสถานที่  2  ครั้ง  หรือแล้วแต่มูลนิธิจะขอ ความช่วยเหลือไป  

”  เมื่อได้เห็นนักศึกษาทุกคนได้หยิบจับเครื่องมือก่อสร้างอย่างคล่อง แคล่ว รู้สึกดีใจมาก  วิชาที่ได้สอนไปไม่เสียเปล่า  นักศึกษาทุกคนสามารถ ปฏิบัติได้จริง   เพราะว่า  “การศึกษาสมัยนี้มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด เวลา ถ้าจะอยู่ในกรอบอย่างเดียวไม่ได้  การศึกษาต้องมีคิดนอกกรอบ  คิดที่ ลองทำ  และกล้าที่จะตัดสินใจ” อาจารย์ศศิวิมล กล่าว

นายเอกลักษณ์ อินทรคำแหง (ติ๊ก)  นักศึกษาชั้นปีที่1 คณะวิศวกรรมศาสตร์ และสถาปัตยกรรมศาสตร์  สาขาวิศวโยธา หลักสูตร 4 ปี  บอกว่า  รู้สึกภูมิใจ ที่ได้มาสร้างบ้านให้กับชุมชน  การที่ได้ออกมาปฏิบัติงานจริงจะช่วยให้รู้ วิธีแก้ปัญหาได้ดีกว่า เรียนในห้องจะรู้สึกเครียด เมื่อได้ออกมานอกห้อง เรียนจะรู้สึกดีกว่าไม่ว่าจะเป็นเรื่องของบรรยากาศ  สังคมรอบๆตัว  หนังสือ ตำราเป็น  100 เล่ม ก็ยังไม่เท่ากับการที่ได้ลงมือปฏิบัติจริง

   “มือที่จับปากกาเปลี่ยนมาจับ จอบผสมปูนเป็นประสบการณ์ที่ดีมากถึงแม้ว่ามันจะหนักกว่าดินสอ ก็ดีกว่าจะไป ถือมีดไล่ฟันกันสร้างความเดือดให้ผู้อื่น  ทำแล้วเกิดความสุข  สุขที่เราได้ ทำอะไรเพื่อคนอื่น  เป็นสิ่งตอบแทนปลิ้มเกินที่จะบรรยาย”  ติ๊ก อธิบาย

เช่นเดียวกันกับ”คอง” นายธีรภัทร  บุญรอด  เพื่อนรวมชั้นของ ติ๊ก บอกว่า  การที่เข้ามาร่วมโครงการกับมูลนิธิฯเป็นสิ่งที่ดีมาก  ซึ่ง ปกติเขาอาสาสมัครค่ายอาสามหาวิทยาลัย  สร้างโรงเรียนให้กับน้องๆตามต่าง จังหวัดอยู่แล้ว  แต่ก็ไม่เคยได้สร้างบ้านให้กับชาวบ้าน  ครั้งนี้เป็นครั้ง แรก แต่ทำให้ได้ประสบการณ์ในการทำงานปูรากฐานของความเป็นช่างที่ดีในอนาคต ” เมื่อได้เห็นรอยยิ้มของคนที่ได้รับความสุข  ความสุขของพวกเขาเหล่านั้นก็ จะสะท้อนกับมาหาตัวเรา  แค่นี้ก็เป็นสิ่งตอบแทนที่มีค่าสำหรับเด็ก ม.ราช มงคลอุเทนถวายแล้ว ถึงแม้ว่าสิ่งที่ทำจะไม่ยิ่งใหญ่  แต่มันมีคุณค่าทางจิต ใจที่จะหาสิ่งใดมาเทียบได้ ” 

คองกล่าว

“งานขนอิฐ ขนปูน  ขนหิน  ถึงแม้ว่ามันจะเป็นงานเล็กๆน้อย  แต่ก็ภูมิใจที่ได้ทำ”  เสียงบอกเล่าของ “ปู”  นักศึกษาหญิง1 ในอาสาสมัคร

ของม.ราชมงคลอุเทนถวาย โดย “ปู” บอกว่า การนั่งเรียนในห้องเรียนส่วนมาก จะมีหนังสือเป็นแหล่งอ้างอิง  แต่เมื่อได้ทำงานร่วมกับเพื่อนมีการพูดคุยกัน แก้ปัญหานำความรู้ที่เรียนมาปรับปรุงใช้ในการทำงาน  จุดเล็กๆที่ได้ทำ ไป  เพื่อช่วยเหลือชาวบ้านที่เดือดร้อนให้ได้มีบ้านอยู่  อยากให้สังคมภาย นอกได้รับรู้ว่านักศึกษาม.ราชมงคลอุเทนถวาย ไม่ได้มีแต่เรื่องตีรันฟันแทง กัน  แต่ยังมีนักศึกษาที่ได้ทำอะไรเพื่อสังคม  ถึงแม้จะไม่ได้เงินเป็นค่า ตอบแทน  แต่พวกเขายังเปี่ยมไปด้วย “น้ำใจ”  และพร้อมที่จะทำอะไรเพื่อสังคม

นางกุสุมา รัตติมาสกล  (ป้าโป้ง)  เจ้าของบ้านที่ได้บ้านหลังใหม่  บอก ว่า  ดีใจมากที่ได้เห็นนักศึกษามาช่วยกันสร้างบ้าน  ไม่ต้องไปเสียค่าจ้าง แรงงาน  เพราะค่าแรงวันหนึ่งตกวันละ  300-400  บาทต่อวัน  ทำให้ลดค่าใช้ จ่ายไปได้  นักศึกษาทุกคนน่ารักมาก  ยิ้มแย้มแจ่มใส  ระหว่างที่ทำงานก็ช่วย กันคนละไม้ละมือ  ถือเป็นภาพที่หาดูได้อย่าง  เหมือนกับการลงแขกในสมัย ก่อน

เสียงของจอบที่เสียดสีกันระหว่างที่ผสมปูน เสียงพูดคุย กันขณะที่สองมือก็ช่วยกันขนทรายขนหิน  ช่วยกันคนละไม้ละมือ  ในที่สุดก็ได้ บ้านหนึ่งหลัง  มาพร้อมกับรอยยิ้มที่มีความสุขของชาวบ้าน  สิ่งเหล่านี้ได้ แสดงผลสำเร็จของน้ำพักน้ำแรงของนักศึกษาที่มีจิตอาสา  โดยทำไปเพื่อไม่ได้ หวังผลตอบแทนใดๆ  แค่เพียงมอบความสุขให้กับคนที่เดือดร้อนตามกำลังที่ทำได้ นั่นเอง

0 ชลธิชา ศรีอุบล  มทร.ธัญบุรี 0

 

จาก คมชัดลึก วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551