Social Enterprises – วิสาหกิจแห่งสังคมอาริยวัฒิ*
โดย มัชฌิมา กุญชร ณ อยุธยา
12 พ.ย. 2008

Social Enterprises – คือวิสาหกิจหรือธุรกิจ
ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อประกอบการผลิตสินค้าและให้บริการ ในลักษณะที่เกื้อกูล แนะนำ
และ จัดการแก้ไข ให้สังคม (และสิ่งแวดล้อม) ได้รับสิ่งที่จำเป็นที่ฉลาดกว่า-เป็นความต้องการโดยชอบ (Need) เพื่อมุ่งสู่ การอยู่ดีมีสุข
ยั่งยืนอย่างแท้จริง

Social Enterprises – เป็นวิสาหกิจในสังคมที่มีความเจริญอย่างประเสริฐ* จึงอาจเรียกว่า เป็น
“วิสาหกิจแห่งสังคมอาริยวัฒิ” ตามความหมายที่ปรากฏในพจนานุกรม
ท่าน ป.อ. ปยุตฺโต (ในบทความนี้จะขอเรียก Social Enterprises- วิสาหกิจแห่งสังคมอริยวัฒิให้สั้นลงว่า ธุรกิจสังคมอริยะ)

Social Enterprises VS Businesses with CSR – ธุรกิจ และกิจการวิสาหกิจต่างๆ ในขณะนี้อาจพิจารณารับเอาหลัก ความรับผิดชอบต่อสังคม(และสิ่งแวดล้อม)ของธุรกิจ หรือ CSR Corporate Social Responsibility มาเป็นกลยุทธ์และเป้าหมายในทางธุรกิจ ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ดีมาก แต่สำหรับธุรกิจสังคมอริยะ (Social Enterprises) เป็นธุรกิจที่แตกต่างออกไปอีก เพราะความมุ่งหมายเพื่อสร้างประโยชน์ให้กับสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น ถือเป็นหัวใจสำคัญอย่างแท้จริงในการประกอบธุรกิจ และที่สำคัญคือ กำไร-มูลค่าเพิ่ม-ความเจริญเติบโต (ที่จะต้องสร้างให้ได้ เพื่อเพิ่มระดับความสามารถในการแข่งขัน Competitiveness) ที่กิจการหรือเจ้าของกิจการจะได้รับทั้งหมด (หรือเป็นส่วนใหญ่) จะนำกลับไปลงทุนอีกครั้ง (Reinvested) เพื่อเร่งดำเนินกิจการให้เกิดผลสำเร็จต่อความเปลี่ยนแปลงของสังคมและสิ่งแวด ล้อมให้ดีขึ้นอย่างมีความต่อเนื่อง ต่อไปได้อีก

ธุรกิจสังคมอริยะ
(Social Enterprises) สามารถครอบคลุมประเภทธุรกิจ-อุตสาหกรรมได้หลากหลายสาขาไม่จำกัดขอบเขต สำหรับในระยะแรกนั้น ภาคเศรษฐกิจ (economic sectors) ที่มีธุรกิจสังคมอารยะเข้ามาครอบครองตลาดเป็นขนาดที่ใหญ่มาก คือ อุตสาหกรรมเกี่ยวกับสุขภาพ

————————————————————————————————————————————-

*อาริยวัฒิ ความเจริญอย่างประเสริฐ – หลักความเจริญของอารยชน มี ๕ มิติ คือ
๑. ศรัทธา ควมเชื่อมั่นในหลักความจริงความดีงามอันมีเหตุผลและในการที่จะทำความดีงาม
๒. ศีล ความประพฤติดีไม่เบียดเบียนผู้อื่น มีวินัย เลี้ยงชีพสุจริต
๓. สุตะการเล่าเรียนสดับฟัง ศึกษาหาความรู้
๔. จาคะ ความเผื่อแผ่เสียสละมีน้ำใจและใจกว้าง พร้อมที่จะรับฟังและร่วมมือไม่คับแคบเอาแต่ตัว
๕.ปัญญา ความรอบรู้ รู้คิด รู้พิจารณา เข้าใจเหตุผลรู้จักโลกและชีวิตตามความเป็นจริง  จาก
พระธรรมปิฏก (ป. อ. ปยุตฺโต)  พจนานุกรมพุทธศาสน์  ฉบับประมวลศัพท์  พิมพ์ครั้งที่ ๑๐ พ.ศ.๒๕๔๖  ISBN 974-575-029-8

และการดูแลแก้ไขปัญหาสังคม  นอกจากนี้ ก็เป็นภาคเศรษฐกิจ-ธุรกิจด้านการศึกษาด้านพลังงาน ด้านการขนส่ง และตลาดในภาคธุรกิจเกี่ยวกับการนำผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้วกลับมาผลิต ใหม่(Recycle) และการนำผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่(Reuse) ซึ่งธุรกิจสังคมอารยะทุกสาขา ก็สามารถประกอบการให้ประสบผลสำเร็จได้ในทุกตลาดจากธุรกิจที่มีลูกจ้างเป็น เจ้าของกิจการ ไปจนถึงกิจการที่ปรึกษาทางการเงิน/เทคโนโลยี่ในทุกสาขารวมทั้งในสาขาที่ สามารถจ้างผู้พิการต่างๆได้
ประวัติย่อและขนาดของSocial Enterprises- ธุรกิจสังคมอาริยะ

ผู้ริเริ่มธุรกิจสังคมอาริยะในกลุ่มประเทศอังกฤษ (Great Britain)ได้รับการสืบทราบว่า เกิดขึ้นมาตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1840 แล้ว โดยกลุ่มผู้รับจ้างทำงานได้จัดตั้งขึ้นในรูปของสหกรณ์เพื่อจัดหาอาหารที่มี คุณภาพแต่มีราคาในระดับที่สามารถซื้อหาได้ เพื่อเป็นการตอบโต้ต่อสภาพการปฏิบัติงานในโรงงานที่แสวงหาผลประโยชน์โดยเอา เปรียบอย่างไม่เหมาะสมในกลุ่มประเทศอังกฤษ และ สหราชอาณาจักร ธุรกิจนี้ได้ถูกค้นพบให้กลับฟื้นขึ้นมาได้ใหม่อีกครั้งในปลายปี ค.ศ. 1990 โดยอยู่ในรูปแบบการจัดตั้งที่หลากหลาย เช่น ในรูปสหกรณ์ (Co-operatives) ในรูปวิสาหกิจชุมชน (Community enterprises) ในรูปวิสาหกิจองค์กรอาสาสมัคร (Enterprising voluntary organizations) ฯลฯ และขณะนี้ก็ยังมีรูปแบบของการรวมกลุ่มระหว่างรูปแบบต่างๆที่กล่าวมาเป็นรูป แบบคล้ายกับเป็น Net Working มาร่วมประกอบธุรกิจสังคมอาริยะนี้ด้วยกันอีกด้วย

(ตัวอย่างเช่น The For All Healthy Living Company ศึกษาได้ใน www.forallhlc.org )

สำหรับในประเทศไทยถือได้ว่ามีธุรกิจประเภทนี้อยู่บ้าง และนานมาแล้วแต่อาจจะยังมิได้มุ่งประกอบการในเชิงธุรกิจเพื่อสร้างกำไรที่ แท้จริงให้สูงสุด (real-profit maximization) เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม (value added)-ผลิตภาพเพิ่ม (productivity increased) และขีดความสามารถในการแข่งขัน (level of competitiveness) ให้มากยิ่งขึ้น เช่นสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน (PDA) บริษัท เลมมอนฟาร์ม จำกัด บริษัท วตท.เพื่อสังคม จำกัด เป็นต้น ทั้งยังมีผู้เข้าใจผิดคิดผิดๆไปว่า การทำกำไรสูงสุด**เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค สวนทางกับการช่วยเหลือสังคมแต่ลืมไปว่า

———————————————————————————————————————-

** บนกำไร(ที่แท้จิง)สูงสุดนั้นกลับเป็นราคาที่ถูกกว่าสินค้าและบริการอื่นที่ มิได้มุ่งมั่นแก้ไขปัญหาของประชาชนผู้บริโภค-สังคม-และสิ่งแวดล้อม
บนกำไรสูงสุดที่แท้จริงก็ย่อมต้องมีCSR ที่แท้จริงครบถ้วนหรือมี CG+ นั่นเอง: CG+ คือ
๑. หลักการและการปฏิบัติอันเป็นเลิศเพื่อการกำกับดูแลกิจการที่ดีบวกกับ หลักการประกอบธุรกิจมีความรับผิดชอบต่อสังคม อีก ๗ ด้านรวมเป็น ๘ ด้าน
๒. การประกอบธุรกิจด้วยความเป็นธรรม
๓. การเคารพสิทธิมนุษยชน และการปฏิบัติต่อแรงงานด้วยความเป็นธรรม
๔.ความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค
๕. การพัฒนาชุมชนและสังคม
๖.การดูแลรักษาฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม
๗. นวัตกรรมและการเผยแพร่
๘.การจัดทำรายงานความยั่งยืน (CSR Sustainability Report)-เข็มทิศธุรกิจเพื่อสังคม– จัดพิมพ์โดยสถาบัน CSRI
กำไรสูงสุดที่แท้จริงที่ธุรกิจสังคมอาริยะทำได้นั้นทำมาจากการผลิตสินค้า และการให้บริการที่คุ้มค่า เป็นประโยชน์ที่ดีและสร้างการอยู่ดีมีสุขอย่างแท้จริง ภายใต้ระดับราคา
หรือการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสุทธิจากการสร้างความเสียหายต่อตนเอง-ต่อสังคม-และต่อสิ่งแวดล้อม ที่ถูกที่สุด

ขนาดของธุรกิจสังคมอาริยะ- Social Enterprises
จากการสำรวจ ในปี 2006 ขนาดของธุรกิจสังคมอาริยะ ในประเทศสหราชอาณาจักรมีถึง 1.890 ล้านล้านบาท (GBP 27 billion) และจากการสำรวจเดียวกัน
พบว่าความต้องการของประชาชนในเรื่องบริการทางสาธารณะ ต้องการให้ดำเนินกิจการโดย Social Enterprises แทนที่จะเป็นรัฐบาลหรือองค์กรเอกชนที่แสวงหาผลกำไร (Private profit businesses) หรือแม้แต่ในลักษณะเป็นแบบการกุศลใดๆก็ตาม (Traditional Charity)

 

บริษัท วตท เพื่อสังคม จำกัด (มหาชน) จัดตั้งเป็นธุรกิจสังคมอาริยะ- Social Enterprise โดยที่ บริษัท วตท. เพื่อสังคม จำกัด กำหนดว่า จะดำเนินธุรกิจเพื่อนำกำไรไปพัฒนาสังคมและผู้ถือหุ้นไม่ปรารถนาที่จะรับส่วน แบ่งใดๆจากผลกำไรของบริษัทแต่จะใช้ประโยชน์จากกำไรใน สามเรื่อง คือ
1.สำรองตามกฏหมาย
2. ขยายธุรกิจของบริษัท และ
3. ดำเนินกิจกรรมสาธารณะ-ประโยชน์

ทั้งยังจะประกาศความโปร่งใสในการดำเนินธุรกิจตามหลัก การกำกับดูแลกิจการที่ดี   จึงเข้าหลักการประกอบธุรกิจโดยมีความรับผิดชอบต่อสังคมตามหลัก CSR ซึ่งมีหลัก Good Governance รวมอยู่ด้วย และยังสามารถจัดอยู่ในประเภทของ ธุรกิจสังคมอาริยะ หรือ Social Enterprises ซึ่งจะก้าวขึ้นไปอยู่ในระดับของธุรกิจที่เจริญจิตตปัญญาได้สูงขึ้นด้วย

เมื่อได้กำหนด การก่อกำเนิดและการดำรงอยู่ของธุรกิจ ให้เป็นประเภทธุรกิจที่มีความมุ่งมั่นและมีเป้าหมายในการประกอบธุรกิจ ผลิตหรือจัดจำหน่ายสินค้า และ/หรือให้บริการ ที่เป็นคำตอบในการแก้ไขปัญหาของลูกค้าประชาชนผู้บริโภคสังคมชุมชน (และสิ่งแวดล้อม) เป็นสินค้าและบริการ เพื่อการบริโภคที่ฉลาดไม่เป็นพิษภัย หรือสร้างความเสียหาย ให้กับตนเอง สังคมชุมชน และสิ่งแวดล้อม (ซึ่งโดยทั่วไปมักไม่รู้?)แต่จะสร้างความอยู่ดีและมีความสุขที่แท้จริง ยั่งยืน.

 

___________________________________________________

 

หมายเหตุ แนวคิดความหมายของ Social Enterprises อ้างอิงจาก The Social Enterprise
Coalition, UK’s National Body for Social
Enterprise, http:// www.socialenterprise.org.uk