เครือข่ายจิตอาสาและเพื่อนๆ องค์กรภาคี อาทิ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์  เครือข่ายนิเวศน์ลุ่มน้ำทา และโฮงเฮียนแม่น้ำของ ได้รับโอกาสจากองค์การหน่วยอาสาสมัครอังกฤษ (VSO) ประเทศไทย ให้ไปเยี่ยมชมการทำงานด้านเยาวชนกับสำนักงาน VSO ในประเทศกัมพูชา ระหว่างวันที่ 24 – 30 มีนาคม 62 ที่ผ่านมา

ทางเครือข่ายจิตอาสา จึงอยากนำความประทับใจและสาระสำคัญของการดูได้ไปดูงานในครั้งนั้น มาแบ่งปันให้ทุกท่านได้อ่าน ผ่านบันทึกการเดินทางของคุณวิษณุ ดวงปัน หนึ่งในผู้เข้าร่วมเดินทางจาก เครือข่ายนิเวศน์ลุ่มน้ำทาค่ะ

———————-

เดินทางไปกัมพูชาในช่วงค่ำ วันที่ 24 มี.ค. หลังจากการไปทำหน้าที่พลเมือง และใช้สิทธิเลือกตั้ง ครั้งสำคัญของไทย ทีมประเทศไทยมีทั้งหมด 7 คน (พีใหม่ สเตฟี่ VSO,อ.เกตุ/หมอก วิทยาลัยป๋วย มธ.,เต๋า เครือข่ายจิตอาสา,พี่แม็ค ประชาคมเชียงของ,นุ แม่ทา)

วันที่ 24-27มี.ค. ดูงานการจัดการอาสาสมัครประเทศกัมพูชา

การดูงานอาสาสมัครที่กัมพูชาวันแรก (25 มี.ค.) จัดที่สำนักงานของ VSO ในเมืองพนมเปญ โดย มีอาสาสมัคร VSO ที่ทำงานในกัมพูชา และองค์กรภาคีอาสาสมัครในกัมพูชาร่วมแลกเปลี่ยน นำเสนอการ ทำงานด้านการจัดการ อาสาสมัคร ในประเด็นต่างๆ เช่น มาตรฐานอาสาสมัครสากล กระบวนการจัดการ อาสาสมัคร และ โครงการอาสาสมัคร ICS จากการแลกเปลี่ยนและนำเสนอ ได้เห็นถึงกระบวนการจัดการ และการสร้างอาสาสมัคร ที่มีการออกแบบการ ค่อนข้างเป็นระบบ ทั้งกระบวนการคัดเลือก การดูแล อาสาสมัครและประเมินการเรียนรู้ของอาสาสมัคร ฯลฯ ทำให้มองย้อนกลับไปพื้นที่และฉุกคิดว่า เราจะ ดูแลอาสาสมัครที่มีอยู่อย่างเป็นระบบได้อย่างไร ในแง่ของกระบวนการเรียนรู้ในตัวอาสาสมัคร รวมถึงการ สรุปประเมินการจัดการเรียนรู้ร่วมกัน และการใช้งานอาสาสมัครเพื่อพัฒนาคนและพื้นที่ต้องออกแบบ อย่างไร? เป็นคำถามที่ต้องหาไปคำตอบต่อ

บรรยากาศ ภายในสำนักงานการ VSO เต็มไปด้วยคนหนุ่มสาวกัมพูชาที่มาทำงานและเรียนรู้งาน อาสาสมัครโครงการในต่างๆ ทำให้นึกย้อนถึงเรื่องเล่า ของบรรดาพี่ๆนักพัฒนารุ่นเก่าๆ ที่เล่าความหลัง ย้อนไปประมาณ 30 กว่าปีที่ผ่านมา ยุคที่ประเทศไทยมีความเฟื่องฟู เรื่องการทำงานพัฒนา งาน อาสาสมัครร่วมกับหน่วยงานองค์กรต่างชาติ ผ่านโครงการพัฒนา ในการพัฒนาประเด็นทางสังคมต่างๆ เป็นพื้นที่ให้คนหนุ่มสาว ในยุคนั้นได้บ่มเพาะ เรียนรู้งานพัฒนา และงานอาสาสมัคร ได้ลงไปทำงานร่วมกับ ชุมชน ผลพวงจากในช่วงนั้นได้สร้าง นักพัฒนา NGO นักเคลื่อนไหวทางสังคม คนทำงานที่ฝังตัวอยู่ใน ชุมชนขึ้นอย่างมากมาย และหลายคนยังคงทำงานจนถึงทุกวันนี้ อย่างไม่รู้จักหยุดหย่อน

พื้นที่การเรียนรู้จึงมีความจำเป็น และสำคัญ เป็นโอกาสให้คนได้บ่มเพาะ ความคิด ความเชื่อ อุดม คติของแต่ละคน ทำให้มีคำถามว่าปัจจุบันพื้นที่ดังกล่าวเป็นอย่างไร? และเราจะสร้างพื้นที่เหล่านี้อย่างไร?

วันที่สอง (26 มี.ค.) ลงพื้นที่ไปดูการทำงานของอาสาสมัครโครงการ ICS ที่ทำงานร่วมกับชุมชนใน จังหวัดกัมปงชนัง ICS เป็นโครงการร่วมที่ให้เยาวชนอายุระหว่าง 18-25 ปีจากสหราชอาณาจักร มาทำงาน อาสาสมัครร่วมกับ ชุมชนในหลายๆประเทศ ร่วมถึงกัมพูชา ภายใต้การสนับสนุนของรัฐบาลสหราช อาณาจักร ร่วมกับ VSO การ แลกเปลี่ยนจัดขึ้นที่ศูนย์เยาวชน ซึ่งตั้งอยู่ในชุมชน เป็นจุดประสานงานกลาง ในการทำงานของอาสาสมัคร ปัจจุบันมี การทำงานอยู่ประมาณ 7ชุมชน อาสาสมัครโครงการ ICS ใน1 ชุมชนจะมีอาสาสมัครจากสหราชฯ 1 คนและอาสามัครจากกัมพูชา 1 คน ลงไปทำงานด้วยกัน ระยะเวลา การทำงานแต่ละรุ่นประมาณ 10-12 สัปดาห์ และมีกลไกของ Team leader1 ทีม ในการดูแล ซึ่งก็มาจาก สหราชฯ1คน และกัมพูชา1คน เช่นกัน

การแลกเปลี่ยนเป็นการนำเสนอการทำงาน ของอาสาสมัคร และมีการแบ่งกลุ่มย่อยในการ แลกเปลี่ยนในแต่ละประเด็น อาสาสมัคร ICS ทำงานใน 3 ประเด็น ประกอบด้วย 1.การพัฒนาขีด ความสามารถในการเข้าถึงงาน 2.การพัฒนาทักษะการประกอบการ 3.การพัฒนาทักษะความสามารถใน การกล้าตัดสินใจ โดยทั้ง 3 ประเด็น เป็นการทำงาน ที่มีการเชื่อมกับนโยบายการพัฒนาของประเทศ กัมพูชา ในประเด็นที่3 เป็นการทำงานร่วมกับสภาเด็กในโรงเรียน การทำงานของอาสาสมัครเริ่มจากการ สำรวจชุมชน พุดคุยผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง การวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกัน การออกแบบ กิจกรรม แล้วสรุปการเรียนรู้ ของอาสาสมัคร และสรุปข้อมูลเพื่อส่งต่องานให้อาสาสมัครรุ่นต่อไป ซึ่งจะมาทำงานในพื้นที่เดิม

ความน่าสนใจของโครงการ ICS คือการออกแบบการจัดการอาสาสมัคร ที่ให้มีบัดดี้ในการเรียนรู้ ระหว่าง อาสาสมัครต่างชาติกับอาสาสมัครภายในประเทศ ที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้มาด้วยกัน ลงไป เรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งทำให้ลด ช่องว่างการเรียนรู้ ทั้งในด้านภาษา และการสื่อสารกับชุมชน ซึ่งภาษาและการ สื่อสารเป็นข้อจำกัดหนึ่งของอาสาสมัคร ต่างชาติในเรียนรู้กับชุมชน นอกจากนั้นยังมีกลไกลของ TEAM LEADER ที่อยู่ในพื้นที่ดูและเรื่องกระบวนการเรียนรู้ใน ภาพรวม ซึ่งทั้งหมดเป็นเยาวชน เป็นตัวเชื่อมการ เรียนรู้ ระหว่างอาสาสมัครแต่ละชุมชน อีกประการเป็นเรื่องของการ ออกแบบความต่อเนื่องของงานใน ชุมชน เนื่องจากการเป็นอาสาสมัครและ TEAM LEADER แต่ละรุ่นมีระยะเวลาการ ทำงานในพื้นที่ ประมาณ 10-12 สัปดาห์ ความท้าทาย คือ การออกแบบการเรียนรู้อย่างไร ระหว่างรุ่นต่อรุ่น ที่จะทำให้เกิด ความต่อเนื่องในการเรียนรู้ของอาสาสมัครและการทำงานในชุมชน เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงร่วมกันกับ ชุมชน

จากนั้นระหว่างวันที่ 28 -30 มี.ค. เป็นการดูงานการจัดการอาสาสมัครในประเทศไทย ร่วมกับ เครือข่ายต่างๆได้แก่

“เครือข่ายจิตอาสา” จาก “เหตุการณ์สึนามิ เป็นจุดเริ่มต้นของขบวนการอาสาสมัครยุคใหม่ใน สังคมไทย” เป็นเหตุการณ์ที่คนไทยหลั่งไหลเข้าไปช่วยเหลือเพื่อร่วมชาติอย่างเสียสละ หลังจากเหตุการณ์ สึนามิ จึงก่อเกิดเครือข่ายจิตอาสา เพื่อเป็นตัวกลางเชื่อมประสานงานอาสาสมัคร มุ่งการจัดการข้อมูลและ ระบบเชื่อมต่อระหว่างผู้ให้ระผู้รับที่มี ประสิทธิภาพ ผ่านการสื่อสารบนเว็บไซต์ www.volunteerspirit.org นอกจากนั้นยังมีการเผยแพร่ รณรงค์จิตอาสาใน สื่อแบบต่างๆ การสร้างเครือข่ายและพื้นที่ของการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่ม องค์กรอาสาสมัครต่างๆ รวมถึงการ ดำเนินงานจัดการอาสาสมัครผ่าน กิจกรรมอาสา

“วิทยาลัยป๋วยฯ ม.ธรรมศาสตร์” การจัดการอาสาสมัครหลักสูตรบัณฑิตอาสาสมัคร จากแนวคิด อาจารย์ป๋วย เริ่ม ในปี2512 ปัจจุบันครบรอบ 50 ปี ที่ส่งบัณฑิตไปเรียนรู้ร่วมกับชุมชน “ไปอยู่กับเขา เพื่อให้เข้าใจเขา” หลังจากจบจาก หลักสูตรคาดหวังว่าไม่ว่าจะไปอยู่ภาคส่วนในของสังคม หรือ หากไปมี อำนาจในสังคม การจะออกนโยบายต่างๆ จะได้มีความเข้าใจและคำนึงถึงผู้เสียเปรียบทางสังคม ผ่านไป 50 ปี หลักสูตรถูกตั้งคำถามมาโดยตลอดเรื่องความคุ้มทุน เนื่องจากเป็นหลักสูตรที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายและยัง ต้องจ่ายเบี้ยยังชีพให้อาสาสมัครตลอดหลักสูตร ระยะเวลา 1 ปี การ จัดการอาสาสมัครภายได้สถานการณ์ ที่เปลี่ยนแปลงไปจึงเป็นความท้าทายของการจัดการอาสาสมัครในหลักสูตรนี้ นอกจากนั้นวิทยาลัยยังมี การจัดหลักสูตร การพัฒนาเชิงสร้างสรรค์ ป.ตรี รวมถึงการทำงานร่วมกับเครือข่ายอาสาสมัคร ทั้งภายใน และต่างประเทศ

ต่อด้วยการแลกเปลี่ยนกับ “กลุ่ม HAND UP” ซึ่งเปิดรับอาสาสมัคร เพื่อใช้ทักษะพื้นฐานทาง วิชาชีพที่มี มาช่วยเหลือสังคม โดย HAND UP เป็นตัวกลางที่ เชื่อมโยงระหว่างอาสาสมัครจากภาคธุรกิจ กับองค์กรภาคสังคมต่างๆ อาทิเช่น ในด้าน การวางกลยุทธ์ การวางรากฐาน องค์กร การพัฒนาทักษะ ที่ใช้ ทำงานโดยเฉพาะ เช่นการทำงานเป็นทีม การสื่อสาร ความคิดสร้างสรรค์ ซึ่ง HAND UP จะมีกระบวนการ คัดเลือกอาสาสมัคร โดยระยะเวลาที่ใช้ขึ้นอยู่กับแต่ละโครงการ ระยะเวลาตั้งแต่ 1 วัน ถึง 3 เดือน ใน ส่วน เรื่องค่าใช้จ่าย เนื่องจาก HAND UP ได้วางตัวเองเป็นกิจการเพื่อสังคม ที่สามารถดูแลองค์กรได้ องค์กรที่ สนใจ สามารถร่วมจ่ายได้ หากมีกำลัง แต่หากไม่มีงบประมาณสามารถแจ้งความต้องการมาได้ เพื่อ ออกแบบแนวทางการ สนับสนุนต่อไป ช่องทางการติดต่อ www.handupvolunteer.org

ดูงาน ศูนย์ไฟฟ้า ประดิพัทธ์มูลนิธิธนาคารทหารไทย(TMB) “ไฟ” คือพลังที่มีอยู่ในตัวเด็กทุกคน “ฟ้า”พลังของการให้ จาก TMB ศูนย์ฯจัดกิจกรรมสำหรับเยาวชนอายุระหว่าง 12-17 ปี โดยมีกิจกรรม สร้างสรรค์ทั้ง กีฬา ศิลปะ ดนตรี การ ขนมและเบเกอรี่ เรียนฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนได้ เรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะชีวิต ภายในศูนย์ฯมีการ ออกแบบอาคารที่สะท้อนวิถีชีวิตชุมชนแบบไทย พื้นปูน เปลือย ผนังอิฐสีน้ำตาลแดง โดยสถาปนิกอาสา BILL BENSLEY สถาปนิกที่มีชื่อติดอันดับ 1ใน 100 ของ สถาปนิกระดับโลก ได้อย่างลงตัวภายในตึก 5 ชั้น เยาวชนส่วนมากจะมาจาก ชุมชนรอบศูนย์และมาจาก ครอบครัวที่มีรายได้น้อย ซึ่งการรับสมัครเยาวชนจะพิจารณาจากหลักเกณฑ์ดังกล่าวด้วย ปัจจุบันภายใน กรุงเทพมีทั้งหมด 4 ศูนย์ นอกจากกิจกรรมของเยาวชน ทางมูลนิธิได้มีการจัดกิจกรรมอาสาสมัครให้กับ เจ้าหน้าที่ธนาคารทหารไทยได้มีประสบการณ์การทำงานอาสาสมัครด้วย มีการรับอาสาสมัครมาช่วยใน การจัดการ เรียนรู้ภายในศูนย์ฯ

ต่อด้วย มูลนิธิกระจกเงา แลกเปลี่ยน กิจกรรมอาสาสมัครสร้างสุขเพื่อผู้ป่วยเด็กในโรงพยาบาล เป็นกิจกรรม เพื่อเพิ่มความสุข ลดความทุกข์ ลดความตรึงเครียดในสภาพแวดล้อมของโรงพยาบาล โดย มูลนิธิฯ จัดให้มีอาสาสมัครสร้างสุขโดยการเปิดรับอาสาสมัคร และร่วมออกแบบในการทำกิจกรรมเพื่อ ผู้ ป่วยเด็กในโรงพยาบาล เช่น นันทนาการ ศิลปะ งานประดิษฐ์ เล่านิทาน เพื่อเล่นเพื่อคุย ปัจจุบัน ทำกับ 8 โรงพยาบาลในกรุงเทพมหานคร

จากการเดินทางดูงานด้านการจัดการอาสาสมัครทั้งในกัมพูชาและไทย พบว่า

HEART สิ่งที่ประทับใจ คือ ได้เห็นรูปแบบในการจัดการอาสาสมัครที่หลากหลายมาก ทั้งที่เป็น สากล และการจัดการอาสาสมัครภายในประเทศ ได้เห็นถึงการใช้ช่องทางสื่อต่างๆในการเชื่อม คน พื้นที่ ประเด็น เข้าด้วยกันอย่างมีพลัง ผ่านกิจกรรม การจัดการอาสาสมัครในรูปแบบต่างๆ ทำให้กรอบการมอง ทิศการในการทำงานขยายขึ้น เห็นถึงความเชื่อมโยงกัน ว่าการเปลี่ยนแปลงหรืองานพัฒนาในโลกยุกต์ใหม่ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ทุกคนเป็นหุ้นส่วนกัน ไม่มีใครทำให้ใคร ร่วมกันสร้างสรรค์ บนฐานของทรัพยากรที่ แต่ละคนมี

HEAD เรื่องที่ฉุกคิด หรือแนวคิดใหม่ๆ การดูงานครั้งนี้ได้มุมมองใหม่ คือ “ข้อจำกัดในที่หนึ่ง แต่ เป็นโอกาสสำหรับอีกที่หนึ่ง ในทิศทางเดียวกัน ผ่านงานอาสาสมัคร การทำงานในหลายองค์หรือชุมชน มีช่องว่าง เรื่องคนทำงาน โดยเฉพาะคนหนุ่มสาวที่มีทักษะในการทำงานกับชุมชน คนหนุ่มสาวในชุมชนเอง มีเงื่อนไขชีวิต และการทำงานที่ไม่เอื้ออำนวย ไม่มีเวลา แต่ในทางกลับกันพบว่ามีคนอีกจำนวนหนึ่ง อาจจะ อยู่ต่างพื้นที่กัน สนใจอยากเป็นอาสาสมัคร อยากใช้เวลามาเรียนรู้และใช้ทักษะที่ตนเองมีมาทำงาน สร้าง

ประโยชน์ร่วมกับชุมชน โดยมีคน/องค์กรกลาง ช่วยในการเชื่อมประสาน ทำให้เกิดพื้นที่ของการเรียนรู้ พื้นที่ของสร้างการเปลี่ยนแปลงร่วมกัน เหมือนกับ HAND UP เครือข่ายจิตอาสา และ มูลนิธิTMB ทำ

“เห็นโอกาสในสิ่งที่คนอื่นทำ จะเชื่อมกันไง ให้เกิดพลังทวีคูณ ” การทำงานสร้างสรรค์สังคมที่ดี เคลื่อนไหวอยู่ทุกที่ การดูงานจัดการอาสาสมัครครั้งทำให้ได้เห็นโอกาสจากสิ่งที่คนอื่นทำ แต่จะเชื่อมโยง ในสิ่งที่คนอื่นกับงานที่เราทำในพื้นที่ได้อย่างไร ทำให้เกิดพลังในการเปลี่ยนแปลงในระดับต่างๆ ร่วมกัน

HAND สิ่งที่นำไปใช้ในการทำงาน คือ นำสิ่งที่ได้เรียนรู้มาปรับในการพัฒนาระบบการจัดการ อาสาสมัครของ เครือข่าย เพิ่มการออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นระบบมากขึ้น เพิ่มกระบวนการสรุปบทเรียนใน การเรียนรู้ของตัวอาสาสมัครเอง รวมถึงมิติงานอาสาสมัครกับการสร้างการเปลี่ยนแปลงในชุมชนหรือพื้นที่ การสรุปบทเรียนและข้อมูลอย่างเป็นระบบ และการใช้ประโยชน์จากช่องทางที่มีอยู่ผ่านเครือข่ายต่างๆที่มี ใน การทำงานร่วมกัน รวมถึงการวางบทบาทงานที่ทำ ในการไปเชื่อมกับภาคส่วนต่างๆมากขึ้น

สุดท้ายนี้ขอขอบคุณ VSO ที่ให้โอกาสในเปิดประสบการณ์ใหม่ สำหรับการเรียนรู้ในการจัดการ อาสาสมัครทั้งที่กัมพูชาและไทย ขอบคุณพี่ใหม่, พี่อุ๋น ที่ช่วยในการแปลภาษา ทำให้ลดช่องว่างช่องว่างใน การเรียนรู้ในครั้งนี้ ขอบคุณ สเตฟี่ อ.เกตุ หมอก, เต๋าและพี่แม็ค สำหรับการแลกเปลี่ยน ที่เกิดขึ้น ณ ขณะ การเรียนรู้ ชวนคิด ชวนตั้งคำถาม รวมถึงการแลกเปลี่ยนเรื่อง ความห่วงใยต่อการบ้านการเมือง ตลอดการ เดินทาง

ภาพประทับใจ ….โลกทุนนิยมเชื่อมต่อกันด้วย ทุนเงิน เศรษฐกิจ เทคโนโลยี ไม่…….SDG

งานอาสาสมัครเชื่อมโลก เชื่อมคนเข้าด้วยกัน ด้วยความรัก….SDG

วิษณุ ดวงปัน

เครือข่ายนิเวศน์ลุ่มน้ำทา เมษายน 2562